สถานการณ์ป่าไม้

สถานการณ์ป่าไม้โลกTHE WORLD'S FOREST

ป่าไม้....

นับได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อมนุษย์โลกทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยิ่ง เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติสำคัญที่ถือเป็นตัวช่วยในการรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ เพราะมีคุณสมบัติสำคัญคือสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากบรรยากาศ เพิ่มความชื้นจากการปล่อยไอน้ำสู่บรรยากาศ ปกป้องพื้นดินจากแสงแดด ช่วยรักษาสมดุลและความหลากหลายทางธรรมชาติ เป็นพื้นที่ต้นน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ และยังเป็นแหล่งที่อยู่ให้กับสัตว์ป่านานาชนิด

ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ของโลก

31%
ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ 4.26 พันล้านเฮคตาร์ หรือ 26,650 ล้านไร่
ของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของโลก
อ้างอิง : องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO)

จากรายงานของสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) และ Global Forest Watch ระบุว่า ปี 2021
โลกสูญเสียพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 12% จากที่เคยสำรวจเมื่อปี 2019 ถึง 4.2 ล้านเฮกตาร์
หรือประมาณ 262.50 ล้านไร่

โลกสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปแล้ว 420 ล้านเฮกตาร์
หรือประมาณ 10.34%
ของพื้นที่ป่าทั้งหมดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

"The State of the World's Forests" (SOFO) ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาโลกสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ 420 ล้านเฮกตาร์หรือ 2,625 ล้านไร่ สาเหตุจากการตัดไม้ทำลายป่า ถึงแม้ว่าอัตราการตัดไม้ทำลายป่าจะลดลง แต่ในทุกๆปี โลกยังสูญเสียป่าไม้ปีละ 10 ล้านเฮกตาร์หรือ 62.50 ล้านไร่ โดยความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ยังคงอยู่ภายใต้การคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่า และความเสื่อมโทรมของป่า

ความเสี่ยงร้ายแรงจากการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ต่อสัตว์ป่า

อ้างอิง : The State of the World's Forests (SOFO)

ในปี 2021 โลกได้สูญเสียต้นไม้ที่ปกคลุมอยู่ทางตอนบนของโลกสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

จากรายงาน Global Forest Watch ที่เผยข้อมูลบันทึกการสูญเสียพื้นที่ป่า โดยเฉพาะในรัสเซียและแคนาดาจากไฟป่าครั้งใหญ่ โดยตัวเลขของป่าทางเหนือเหล่านี้เพิ่มขี้น 30% ในปี 2021 ผลจากการเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ในรัสเซีย และพี้นที่ป่าดิบแล้งเขตร้อนได้หายไปประมาณ 10 สนามฟุตบอลต่อนาที

รัสเซียสูญเสียพื้นที่ป่ามากที่สุดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือไฟป่า ตั้งแต่ต้นปี 2022 เกิดไฟป่าแล้วประมาณ 4,000 ครั้ง และครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,700 ตารางกิโลเมตรหรือ 1.69 ล้านไร่ ขณะที่ในปี 2021 กรีนพีชของรัสเซียระบุว่าเคยเกิดไฟป่ากินพื้นที่กว้างถึง 188,000 ตารางกิโลเมตรหรือ 117.50 ล้านไร่

"ป่าแอมะซอน" ป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกทำลายสูงสุดในรอบ 15 ปี

ผืนป่าแอมะซอนของบราซิล ยังคงถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง จากรายงานของสถาบันเพื่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแห่งแอมะซอน (Imazon) สถาบันวิจัยอิสระของบราซิล ร่วมกับระบบแจ้งเตือนการตัดไม้ทำลายป่า (DAS) ได้มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการตัดไม้ทำลายป่าตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค 2021 ที่ผ่านมา และเปรียบเทียบกับข้อมูลจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2020 พบว่า เมื่อเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 การตัดไม้ทำลายป่าในแอมะซอนเพิ่มขี้น 33% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2021 นี้

การวิเคราะห์ยังพบว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. แอมะซอนสูญเสียพื้นที่ป่ามากกว่า 9.71 แสนเฮกตาร์หรือมากกว่า 6.07 ล้านไร่ หรือขนาดประมาณ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมา เฉพาะในเดือน ต.ค. เดือนเดียวมีพื้นที่เกือบราว 5.06 แสนไร่ ถูกทำลายไป ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2006 หรือในรอบ 15 ปี

เศรษฐกิจโลกกับพื้นที่ป่าไม้

ตัวชี้วัดที่สำคัญทางเศรฐกิจ คือ GDP (Gross Domestic Product) หรือ รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งประเทศที่มี GDP สูง แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศสูง

อันดับ GDP ในระดับโลก 25 อันดับแรก (จากการจัดอันดับโดย World bank 2020)

พบว่าประเทศที่มี GDP สูงสุด 25 อันดับของโลก มีพื้นที่ป่าอยู่ในระดับสูงจากระดับพื้นที่ป่าทั่วโลก โดยพื้นที่ป่าทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 31.2 ซึ่งทำให้เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ GDP เป็นตัวชี้วัดไม่ได้มีผลกระทบต่อพื้นที่ป่า แต่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่น จากมลพิษที่ถูกปล่อยจากภาคพลังงาน ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคเกษตร ภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน และภาคของเสีย ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี พ.ศ. 2564 พบว่าอยู่ในระดับสูงและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 263.6 ล้านตัน ปัจจุบันค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส การมีพื้นที่ป่าจึงช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยจากภาคอุตสาหกรรม และช่วยลดอุณหภูมิรอบพื้นที่ป่าลงได้

พื้นที่ป่าไม้ประเทศไทย 2021

คลิกหรือแตะที่ไอคอนเพื่อดูพื้นที่ป่าไม้แต่ละภาค
ภาคเหนือ
63.66% / 38,228,700.46 ไร่
ภาคใต้
24.31% / 11,218,546.38 ไร่
ภาคตะวันตก
59.05% / 20,101,055.48 ไร่
ภาคตะวันออก
21.91% / 4,721,201.84 ไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
14.98% / 15,702,387.78 ไร่
ภาคกลาง
21.51% / 12,240,542.44 ไร่
จังหวัดที่ไม่พบพื้นที่ป่าไม้ นนทบุรี ปทุมธานี และอ่างทอง

สถิติพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ปี 1973 - 2022 (พ.ศ. 2516-2564)

ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยกับนโยบายระดับชาติ

นิยาม "ป่าไม้" ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ

อ้างอิง : นโยบายป่าไม้แห่งชาติ

"นวัตกรรม" ที่ปัจจุบันกำลังกลายเป็นปัญหาในการทำลาย
สิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยุโรปและอเมริกากำลังทำการรื้อเขื่อน
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งหมด 93  โครงการ (เท่าที่มีข้อมูล) มี 90 โครงการที่เป็นโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โดยมี 58 โครงการที่มีข้อมูลพื้นที่ป่า เนื้อที่ป่าที่ต้องสูญเสียรวม 83,662 ไร่ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 17,582 ไร่ เขตอุทยานแห่งชาติ 37,083 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ 28,748 ไร่ ป่า 2484 และป่าถาวร 248 ไร่ ทั้งนี้หากมีการสูญเสียป่าดังกล่าวจะเกิดการสูญเสียการเก็บกักคาร์บอน 2,175,315  ตัน และปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 7,961,653   ตัน ซึ่งขัดแย้งกับกลไกการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจากจากการทำลายป่าและทำให้ป่าเสื่อมโทรม (Reducing Emission from Deforestationa and Forest Degradation: REDD+) ที่ประเทศไทยได้เป็นภาคีสมาชิกและลงสัตยาบันภายใต้อนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และการประกาศของประเทศไทยที่ประชุม COP 26 ที่ยุติการทำลายป่าและจะเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 ทั้งนี้ยังไม่รวมการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สำคัญ ความหลากหลายทางชีวภาพ 
เรามีทางเลือกทางเดียวเท่านั้นหรือ ...? ในการพัฒนาแหล่งน้ำ
  • โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาวิจัย
  • โครงการที่อยู่ในกระบวนการพิจารณารายงานด้านสิ่งแวดล้อม
  • โครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่
  • โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่
  • โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • โครงการที่ไม่ได้อยู่ตามแผนงานขอใช้พื้นที่ป่าไม้เพื่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
  • โครงการที่เริ่มดำเนินก่อสร้างแล้ว
Asian Elephant
Endangered species
ข้อมูลจากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า รายงานว่ามีช้างป่าอาศัยอยู่ตามธรรมชาติประมาณ 3,168-3,440 ตัว และมีแนวโน้มว่าประชากรช้างป่าในภาพรวมจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ประมาณร้อยละ 8.2 ต่อปี
การสูญเสียพื้นที่ป่าที่โดยเฉพาะพื้นที่ราบ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการอยู่
อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชีวิต  เมื่อสัตว์และคนต่างต้องการใช้พื้นที่เหมือนกัน
ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาระหว่างคนกับช้างที่ทวีมากรุนแรงมากขึ้น
สามารถคลิกที่หมายเลข เพื่อดูหน้าที่ในระบบนิเวศของช้างได้

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26)

ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ว่าไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในหรือก่อนปี ค.ศ. 2065 และหากได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงิน และเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่เหมาะสม ประเทศไทยจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 แต่ในปัจจุบัน ปี ค.ศ. 2022 ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 8 ปีเท่านั้น ที่เราจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 40 และอีก 43 ปีเท่านั้นที่เราจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ซึ่งรัฐบาลจะสามารถทำตามที่แสดงเจตนารมณ์ไว้ได้หรือไม่
แม้ประเทศไทยจะเข้าร่วมการประชุม COP26 แต่ไม่ได้ลงนามในปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นําด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่อย่างใด และอีกไม่กี่เดือนที่เราจะต้องเข้าร่วมประชุม COP27 ซึ่งต้องจับตาดูว่ารัฐบาลจะลงนามหรือไม่ และจะพาประเทศไทยไปสู่จุดหมายที่วาดฝันไว้ได้อย่างไร

การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

การปลดปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานรายสาขาเศรษฐกิจตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2549-2564

การปล่อยก๊าซ CO2 ลดลง 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งในภาคการผลิตไฟฟ้า ขนส่ง และภาคเศรษฐกิจอื่น ส่วนภาคอุตสาหกรรมยังมีการปล่อย CO2 ที่เพิ่มขึ้น หมายเหตุ : สาขาเศรษฐกิจอื่นๆ หมายถึง ภาคครัวเรือน เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และกิจกรรมอื่นๆ

อ้างอิง : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

การปลดปล่อยก๊าซ CO2 ต่อหัวประชากรในประเทศไทย

ถึงแม้จะมีการล็อคดาวน์ในหลายพื้นที่ทั่วโลก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 แต่ไม่สามารถลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ และในอนาคตเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลายตัว คาดว่าการปล่อยก๊าซ CO2 ในด้านอื่น ๆ จะกลับมาสูงขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะพุ่งสูงขึ้นกว่าปี 2562 ก่อนที่โควิด-19 จะระบาดอีกด้วย

อ้างอิง : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

ประเทศไทยปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้ว
263.6 ล้านตัน CO2 ในปี 2565 ที่ผ่านมา
แต่ป่าธรรมชาติดูดซับกลับได้เพียง 97 ล้านตัน CO2

ฝันให้ไกล ไปอย่างไร...ให้ถึง?

เราเหลือเวลาอีกเพียง 15 ปี ที่จะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าขนาด 30 ล้านไร่เพื่อให้ได้ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ในขณะที่พื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลงสวนทางกลับเป้าหมายที่ตั้งไว้
SDGs ย่อมาจากคำว่า “Sutainable Development Goal” หรือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อทำให้โลกดีขึ้นภายในปี 2030 ซึ่งแบ่งเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) เศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) และ มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) 
ไทยอยู่ตรงไหนในเวทีโลก?
ดัชนี SDG จัดอันดับประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 44 ของโลกจากทั้งหมด 163 ประเทศ ได้คะแนนรวมดัชนี 74.1 คะแนน อย่างไรก็ดี อันดับและคะแนนของไทยลดลงเมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ได้อันดับ 43 และคะแนนรวม 74.2 คะแนน

ประเทศไทยได้ดำเนินงานสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 14 เป้าหมาย โดยมีเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 เป้าหมายได้ 6 12 13 14 และ 15 ซึ่งเป้าหมาย 6 12 13 อยู่ในระดับเสี่ยง และ เป้าหมาย 14 15 อยู่ในระดับวิกฤต