สถานการณ์ป่าไม้

พื้นที่ป่าไม้โลก

โลกของเรามีพื้นที่ป่าทั้งหมด 25,375 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 31 ของพื้นที่ทั่วโลก โดยมีป่าไม้เขตร้อน (Tropical zone) 45% รองลงมาคือ พื้นที่ป่าไม้เขตหนาว (Boreal zone) 27% ป่าไม้เขตอบอุ่น (Temperate zone) 16% และป่าไม้เขตกึ่งร้อน (Subtropical) 11%

พื้นที่ป่าไม้ปกคลุม 1 ใน 3 ของพื้นที่โลก

ป่าไม้เขตร้อน

46%

ป่าไม้เขตหนาว

27%

ป่าไม้เขตอบอุ่น

16%

ป่าไม้เขตกึ่งร้อน

11%

10 อันดับ

ประเทศที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในปี 2563

อื่นๆ1375
รัสเซีย815
บราซิล497
แคนาดา347
อเมริกัน310
จีน220
ออสเตรเลีย134
คองโก126
อินโดนีเซีย92
เปรู72
อินเดีย72

ล้านเฮกตาร์

10 อันดับ

ประเทศที่สูญเสียพื้นที่ป่ามากที่สุดในปี 2563

บราซิล1.70
คองโก0.50
โบลิเวีย0.28
อินโดนีเซีย0.27
เปรู0.20
โคลอมเบีย0.17
แคเมอรูน0.10
ลาว0.08
มาเลเซีย0.07
เม็กซิโก0.06

ล้านเฮกตาร์

พื้นที่ป่าไม้ประเทศไทย 2563

102,353,484.76 ไร่
คลิกหรือแตะที่ไอคอนเพื่อดูพื้นที่ป่าไม้แต่ละภาค
ภาคเหนือ
38,332,114.91 ไร่ / 63.84%
ภาคตะวันตก
20,122,979.15 ไร่ / 59.12%
ภาคใต้
11,221,974.88 ไร่ / 24.31%
ภาคตะวันออก
4,724,547.80 ไร่ / 21.92%
ภาคกลาง
12,333,818.36 ไร่ / 21.50%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
15,718,049.67 ไร่ / 14.99%%
จังหวัดที่ไม่พบพื้นที่ป่าไม้ นนทบุรี ปทุมธานี และอ่างทอง

ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ 102,353,484.76 ไร่ หรือร้อยละ 31.64 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด แต่เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าไม้ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2562 และ 2563 โดยแบ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่

  1. พื้นที่ป่าไม้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  2. พื้นที่ป่าไม้เปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าไม้
  3. พื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าไม้ไม่ มีการเปลี่ยนแปลง
  4. พื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าไม้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพื้นที่ป่าไม้

พบว่า 102,163,875.18 ไร่ หรือร้อยละ 31.58 ของพื้นที่ประเทศ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในรอบปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ 320,197.52 ไร่ ที่ถูกเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่น ๆ และในขณะเดียวกัน มีพื้นที่ 189,609.58 ไร่ เปลี่ยนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่น ๆ กลับมาเป็นพื้นที่ป่าไม้รวมถึงพื้นที่ป่าไม้ที่มีการฟื้นคืนสภาพตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ตามประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศไทย ยังไม่ครบตามเป้าหมาย ต้องเพิ่มพื้นที่ป่าไม้อีก 27,057,995.10 ไร่ โดยการเร่งผนวกพื้นที่อนุรักษ์จากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจัดตั้งป่าชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนและภาคเอกชนปลูกป่าเพื่อเศรษฐกิจ

สถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย

นิยามพื้นที่ป่าไม้ คือ “พื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นไม้ยืนต้น ปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่องขนาดไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ และรวมถึงทุ่งหญ้า และลานหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ปรากฏล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่จำแนกได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยไม่รวมสวนยูคาลิปตัส พื้นที่วนเกษตร สวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์ม”

ป่าอนุรักษ์กับภัยคุกคาม

ในนามของการพัฒนา

ป่าหายไปไหน?

หากกล่าวถึง “ป่าอนุรักษ์” หลายๆ คนคงคิดว่าเป็นป่าที่ต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษและคงไม่มีโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ แต่ในความเป็นจริงแล้วผืนป่าที่ถูกประกาศให้เป็นป่าอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือป่าสงวนแห่งชาติ กลับมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เข้ามาขอเพิกถอนพื้นที่เพื่อขอใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง แม้แต่พื้นที่อนุรักษ์ที่ถูกประกาศให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกก็ไม่ถูกละเว้น

จากการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ครั้งที่ 4/2563 เมื่อ 18 ธันวาคม 2563 พบว่ามีโครงการพัฒนาที่ถูกเสนอเข้าสู่กระบวนการขอใช้พื้นที่ป่าไม้เพื่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีมากถึง 76 โครงการ ซึ่งยังไม่รวมโครงการเหมืองแร่ หรือ การขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ในรูปแบบอื่นๆ โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ขอใช้พื้นที่ป่าไม้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

ตำแหน่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบางส่วนที่กำลังสร้างในพื้นที่อนุรักษ์

ทั้งนี้ 76 โครงการตามเอกสารดังกล่าวยังไม่รวม 7 โครงการอ่างเก็บน้ำในผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ที่บางโครงการ เช่น อ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ มีความคืบหน้าจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จและเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการไปแล้ว 1 ครั้ง บางโครงการอยู่ในระหว่างการคัดเลือกพื้นที่หัวงาน และยังมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางโครงการที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ในเอกสาร 76 โครงการนี้ เช่น อ่างเก็บน้ำคลองตาหลิว อ่างเก็บน้ำคลองตารอง ที่มีแผนจะก่อสร้างในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เป็นต้น

“ประเทศเราจะเลือกไปในทิศทางใด คงต้องตั้งคำถามดังๆ ไปยังผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ เพราะหากไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ

ทำไมป่าถึงสำคัญ

ป่าไม้มีองค์ประกอบที่สลับซับซ้อนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยน กักเก็บ และปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งในทุกส่วนของพืชมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ รวมถึงไม้และเศษซากพืชที่ตายแล้วกลายเป็นแหล่งธาตุอาหารสำคัญของสิ่งมีชีวิต เศษซากเหล่านี้ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ซึ่งมีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และถูกจัดเก็บไว้ในดิน นอกจากนี้เนื้อไม้ที่นำมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ตู้ หรือบ้าน ที่ทำมาจากไม้ก็ยังคงกักเก็บคาร์บอนไว้ (Carbon pool) ในระยะยาวได้ต่อไป ดังนั้น "ป่าไม้" จึงเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน (Carbon sink) ที่สำคัญของโลก

แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นแหล่งปลดปล่อยคาร์บอน (Carbon source) ด้วย รายงานจาก IPCC กิจกรรมมนุษย์ในปัจจุบัน ส่งผลต่อกระบวนการธรรมชาติ ไม่ว่าจะจากเกษตรกรรม ความเสื่อมโทรมของที่ดินและพื้นที่ป่าไม้ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงไฟป่าที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ป่าไม้ จึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยการเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวเพื่อสร้างแหล่งกักเก็บคาร์บอน และจัดการป่าไม้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูดซับ และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อป่าไม้

แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์

ป่าไม้

  • พรรณไม้ป่าธรรมชาติ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 0.95 ตัน CO2/ไร่/ปี (เทียบกับพรรณไม้พื้นเมืองโตช้า)
  • ไม้เศรษฐกิจ (กรณีไม้สัก ในพื้นที่เหมาะสมมาก) สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 1.36 ตัน CO2/ไร่/ปี
  • พรรณไม้ป่าชายเลน (โกงกาง) สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 2.75 ตัน CO2/ไร่/ปี

มหาสมุทร

  • มหาสมุทร มีความสามารถในการเป็น carbon sink ที่ดี กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 22 ล้านเมตริกตัน/วัน

ชั้นบรรยากาศ

การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

ภาคพลังงาน

  • การผลิตไฟฟ้า 37.5 ล้านตัน CO2
  • ขนส่ง 27.9 ล้านตัน CO2
  • อุตสาหกรรม 32.7 ล้านตัน CO2
  • ครัวเรือน เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอื่นๆ 6.3 ล้านตัน CO2

ภาคของเสีย

ภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ประเทศไทยปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้ว 104.3 ล้านตัน CO2
ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ป่าธรรมชาติดูดซับกลับได้เพียง 97 ล้านตัน CO2

ข้อมูลอ้างอิง

  • Global Forest Resources Assessment 2020 (FRA 2020)
  • Forest Pulse: The Latest on the World’s Forests https://bit.ly/3gJCUMp
  • โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2563, สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้
  • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, 2562
  • เอกสารการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ครั้งที่ 4/2563 เมื่อ 18 ธันวาคม 2563
  • คู่มือศักยภาพพรรณไม้.องค์การบริการก๊าซเรือนกระจก