โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

.
หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  • มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

.
หลักการและเหตุผล

ผืนป่าตะวันตก เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ทางด้านตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่อนุรักษ์เชื่อมต่อกัน ประกอบด้วยพื้นที่อนุรักษ์ 17 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ

อุทยานแห่งชาติ 9 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติพุเตย อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ อุทยานแห่งชาติไทรโยค อุทยานแห่งชาติเขาแหลม อุทยานแห่งชาติลำคลองงู และอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

พื้นที่ดังกล่าว มีบริเวณที่ได้รับการยอมรับเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติที่อยู่ใจกลางพื้นที่ นั่นก็คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันออก ที่เปรียบเสมือนหัวใจของพื้นที่ ที่ต้องได้รับการปกป้องดูแลเป็นพิเศษ ครอบคลุมในทุกมิติของการดูแลพื้นที่ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน จึงจะสามารถดูแลพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมอย่างยั่งยืน เป็นโครงการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมดูแลรักษาทรัพยากร ผ่านการลาดตระเวนอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน การสร้างความตระหนักรู้ของชุมชนเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาความมั่นคงทางด้านความเป็นอยู่ของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ และแนวขอบพื้นที่มรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง การส่งเสริมอาชีพที่เป็นมิตรกับผืนป่าที่เกื้อกูลกันระหว่างการทำเกษตรอย่างยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และส่งเสริมช่องทางการตลาด โดยแสดงให้เห็นว่าชุมชนสามารถอยู่ในพื้นที่คุ้มครองได้ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืนไปกับการพัฒนาชุมชน
.

วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากร การสร้างความเข้าใจต่อการบังคับใช้ระเบียบ การป้องกัน และกติกาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของชุมชน

2. พัฒนาความมั่นคงด้านความเป็นอยู่ของครอบครัวทั้งที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์และขอบพื้นที่อนุรักษ์

3. สนับสนุนการร่วมดูแลพื้นที่ระหว่างชุมชนกับพื้นที่อนุรักษ์
.

พื้นที่ดำเนินโครงการ

1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก

  • บ้านสะเน่พ่อง ม. 1 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
  • บ้านกองม่องทะ ม. 2 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
  • บ้านเกาะสะเดิ่ง ม. 3 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
  • บ้านไล่โว่ ม. 4 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
  • บ้านสาลาวะ ม. 4 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
  • บ้านทิไล่ป้า ม. 5 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
  • บ้านจะแก ม. 6 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

.
2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก

  • บ้านยูไนท์ ม. 7 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • บ้านกรูโบ ม. 8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • บ้านแม่จันทะเก่า ม. 8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • บ้านแม่จันทะใหม่ ม. 8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • บ้านทิบาเก ม. 8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • บ้านตะละโคร่ง ม. 8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • บ้านช่องแป๊ะ ม. 8 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก

.
3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

  • บ้านเขาเขียว ม.14 ต.ระบ า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
  • บ้านไผ่งาม ม.10 ต.ระบ า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
  • บ้านอ่างห้วยดง ม.11 ต.ระบ า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
  • บ้านบึงเจริญ ม.9 ต.ระบ า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
  • บ้านห้วยเปล้า ม.6 ต.ระบ า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี

.
แผนที่ชุมชนเป้าหมายในการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมอย่างยั่งยืน มีระยะเวลาการดำเนินงาน 4 ปี (พ.ศ. 2562 – 2565)
.

กรอบการดำเนินโครงการ เป้าหมาย และตัวชี้วัดโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์

2. เกิดความมั่นคงทางอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และปลอดภัยจากการทำอาชีพที่เป็นมิตรกับผืนป่า

3. เกิดการดูแลพื้นที่ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ กับชุมชุม

 

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code