ป่าห้วยขาแข้ง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ในสายตาของ สืบ นาคะเสถียร

ป่าห้วยขาแข้ง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ในสายตาของ สืบ นาคะเสถียร

ป่าห้วยขาแข้ง เมื่อ 30 กว่าปีก่อน เป็นป่าที่มีพื้นที่ขนาด 1 ล้าน 6 แสนกว่าไร่เศษ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่าหายากจำนวนมาก เช่น กระทิง วัวแดง ควายป่า นกยูงไทย สมเสร็จ เสือโคร่ง เสือดาว ช้างป่า ฯลฯ

ความสมบูรณ์อันไพศาลนี้ คือมรดกสำคัญของชาติที่ควรได้รับการปกป้อง ดังที่ สืบ นาคะเสถียร เคยบอกว่า

ถ้าเรามีพื้นที่ป่าที่ดีที่สุดคือห้วยขาแข้ง แล้วเรายังไม่รักษา ก็อย่าหวังว่าจะรักษาที่อื่นให้รอดได้

และปลายปี 2532 สืบ นาคะเสถียร จึงตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แทนการเลือกรับทุนไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ – เป็นการอยู่ เพื่อรักษาผืนป่าที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศเอาไว้

“ตอนนี้ผมสามารถให้ทุกสิ่งกับห้วยขาแข้งได้”

ผืนป่าที่ดีที่สุด ในสายตาของ สืบ นาคะเสถียร เป็นอย่างไร

นี่คือภาพความสมบูรณ์ของผืนป่าห้วยขาแข้งในอดีตจากการบันทึกของ สืบ นาคะเสถียร ในขณะเก็บข้อมูลผืนป่าเพื่อทำรายงานเสนอให้ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก

จนสามารถคงคุณค่าความสำคัญนั้นมาจนถึงวันนี้

ผืนป่าห้วยขาแข้งทางตอนใต้ / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
ถิ่นที่หากินของควายป่า / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
ป่าเต็งรัง / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
กระทิง / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
กระทิง / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
พญากระรอกดำ / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
เก้งในป่าเต็งรัง / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
โป่งหญ้า / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
ป่าเต็งรังผลิใบ / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
รอยตีนสัตว์ป่า / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
นกกางเขนดง / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
ปลักควาย / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
นกอีเสือสีน้ำตาล สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
โป่งดิน / PHOTO สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ
นกตบยุงทางยาว / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
นกยูง สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
ลำห้วยขาแข้ง ในเดือนกันยายน / PHOTO สืบ นาคะเสถียร
สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ / PHOTO สืบ นาคะเสถียร