ภาคต่อจาก SEUB TALK EP.34 หลังทำความเข้าใจถึงสถานะของปลาจืดไทยกันไปแล้ว ในตอนที่ 2 ของประเด็น ‘วิกฤตระบบนิเวศน้ำจืดไทย ปลาน้ำจืดไทยกำลังใกล้จะสูญพันธุ์’ เราชวน ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ มาพูดกันต่อถึงภาพรวมระบบนิเวศน้ำจืดไทยปัจจุบันเป็นอย่างไร การสร้างเขื่อนและฝายทำให้ระบบนิเวศตกอยู่ในภาวะวิกฤตได้อย่างไร ติดตามได้ใน SEUB TALK EP.35 วิกฤตระบบนิเวศน้ำจืดไทย ปลาน้ำจืดไทยกำลังใกล้จะสูญพันธุ์ (ตอนที่ 2)
ส่วนใหญ่ปลาน้ำจืดในประเทศไทยวิวัฒนาการมาเพื่อผสมพันธุ์ วางไข่ เลี้ยงดูตัวอ่อน ในช่วงน้ำท่วม บนพื้นที่ทุ่งน้ำท่วม ซึ่งพอมีเขื่อนมากั้น มันทำให้ปลาไม่อพยพขึ้นไปวางไข่ นอกจากนั้นพื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมมันก็ไม่ท่วม
ซึ่งจริงๆ แล้วพื้นที่บางพื้นที่มันควรถูกน้ำท่วมเพื่อให้ปลาเหล่านี้ขยายพันธุ์ต่อไปได้ เขื่อนมันไม่ได้ทำลายแค่พื้นที่บริเวณนั้นแต่มันทำลายทั้งลำน้ำยาวลงไป 40 -50 กิโล
อย่างเขื่อนเชี่ยวหลานสุดท้ายก็จะเหลือปลาไม่กี่ชนิด
น้ำที่เราเห็นว่าเป็นสีฟ้าสวยงาม มันคือน้ำที่ไหลลงมาจากเขาหินปูนมีแคลเซียมคาร์บอเนตเยอะ ซึ่งแร่ธาตุมันตกตะกอนเร็วมาก น้ำมันจึงใส
แต่น้ำที่ใสเกินไปแบบนั้นปลาอยู่ไม่ได้ และพื้นที่รอบๆ เราจะสังเกตเห็นว่ามันเป็นภูเขาชันๆ ไม่มีขอบตลิ่ง ซึ่งนั้นก็ทำให้ปลาไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย