SEUB TALK EP.31 ชวนวิเคราะห์เรื่องแหล่งน้ำในประเทศไทย ถ้าใครได้ติดตามมาตลอดคงคุ้นชินกับประเด็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำหรือการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ป่า ซึ่งปัจจุบันมีโครงการประเภทนี้เกิดขึ้นเกือบ 100 แห่ง ทั่วประเทศ
แน่นอนว่า การสร้างพื้นที่เก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์มีความสำหรับต่อชีวิตเราในหลายมิติ ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่จะเป็นไปได้ไหม ที่เราจะมีน้ำได้โดยไม่เสียป่า
เรามีทางเลือกการได้น้ำจากการสร้างเขื่อนเพียงทางเดียวอย่างนั้นหรือ
SEUB TALK EP.31 อยากมีน้ำใช้ต้องสร้ำงเขื่อนทางเดียวเท่านั้นจริงหรือ? อัครวิชญ์ จันทร์พูล เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ชวน ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาหาคำตอบ
เรายึดติดกับกรอบคิดเดิมๆ ยึดติด Mind Set เดิมๆ เพราะฉะนั้นมันก็สะท้อนมาที่เราจะใช้วิธีเดิมๆ มาตลอด เราไม่มองไปข้างหน้า เราไม่มองรอบบ้าน รอบโลกเลยว่า อะไรต่างๆ มันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว แต่เราก็ยังคิดว่ามีเขื่อน มันถึงจะเก็บน้ำได้มาก เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มีฝนตกน้ำท่วมก็จะบอกว่า น้ำมันเยอะ ก็ต้องสร้างเขื่อนสิจะได้เก็บน้ำได้เยอะๆ
เรามีชุดความคิดที่โบราณ เราไม่คิดอะไรที่ใหม่ เราเอาแต่สิ่งที่ปู่ย่าตายายบรรพบุรุษคิดให้ กรมชลประทานตั้งมา 120 ปี เราก็ยังเอาชุดความคิดนั้นมาใช้อยู่เลย ทั้งๆ ที่โลกเปลี่ยน น้ำทะเลก็เพิ่มขึ้นมาทุกปี องค์การอากาศของโลกก็มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2030 กรุงเทพฯ อาจจะจม ถ้าเราไม่ทำอะไรกันเลย แล้วเราล่ะทำอะไร ก็ยังไม่ได้ขยับทำอะไรเลย เรายังอยากสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในป่า