4 – 5 ปีมานี้ ผมทยอยทิ้งของสะสมต่างๆ ในชีวิตออกไปมากกว่าที่จะเก็บสะสมอะไรเพิ่ม แต่พอย่างเข้าเดือนมีนาคมปีนี้ ผมนึกถึงสิ่งของอย่างหนึ่งที่ยังเก็บไว้แม้จะไม่ได้ใช้งานตามวัตถุประสงค์ของมันเลย
ผมค่อยๆ ปีนเก้าอี้ทำงานขึ้นไปสำรวจชั้นบนของชั้นหนังสือ แล้วก็ดีใจที่พบว่าผมยังเก็บกะลามะพร้าวลูกเล็กขัดมันวับไว้ถึง 4 ลูก
นาทีนั้นผมนึกถึงที่มาของกะลาประหลาดของผม นี่เป็นของที่ระลึกในงานสวดพระอภิธรรมศพของพ่อผมเมื่อ 13 ปีที่แล้ว
ผมเริ่มเข้าใจสัญลักษณ์ของการทำกะลากรวดน้ำของพ่อว่าเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึง ‘มรณสติ’ หรือเป็นพุทธวิธีต้อนรับความตายของปัญญาชนที่ได้เพียรศึกษาอภิธรรมมาตลอดชีวิต
ผมพลันคิดได้ว่ากระบวนการผลิตกะลาของพ่อมีความสมบูรณ์ที่สุดในองค์ประกอบแห่งวิถีทางปัญญา ทั้งการปอกเปลือก ขัดเกลาให้เหลือแค่แก่นแกนใน การชำระให้สะอาด
การขุดขูดเนื้อที่พอกพูนจากด้านใน มีการป้องกันการเน่าเสีย เจาะช่องหมุนเวียน เคลือบให้งดงามแข็งแรง และเช็ดฝุ่นฝ้าออกง่าย
และเป้าหมายที่ใช้ในการกรวดน้ำระลึกและตั้งสติในการหลุดพ้นจากการนึกถึงแต่ตัวถึงแต่ตัวตน อันเป็นเป้าหมายอุบายของการเข้าถึงหัวใจของปรัชญาพุทธ
หรือรับฟังผ่าน soundcloud
ผู้เขียน
ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร (18 กันยายน 2558 - 2566)