กลางป่าลึกอุ้มผาง ผมพบกับคนถ่ายรูปสัตว์ป่าอันเป็นตำนาน ‘มล.ปริญญากร วรวรรณ’
ซึ่งหลายคนรู้จักช่างภาพท่านนี้ผ่านหนังสือหลายเล่มที่ ‘หม่อมเชน’ ถ่ายทอดเรื่องราวจากราวไพรผ่านความรู้ และซาบซึมไปกับบรรยากาศของคำบรรยายภาพถ่ายขนาดยาวแบบนั้นที่ลึกลงไปของคนมองสัตว์ป่าด้วยหัวใจคนนั้น
หม่อมเชนพาผมไปยืนกลางทุ่งหญ้าเล่าว่า กระทิง ช้าง กวาง และเก้ง จะออกจากราวป่ามาหากินตรงข้างหน้าเราเกือบร้อยเมตรข้างหน้าที่เห็นกันชัด
เรายืนถ่ายภาพมันแบบนี้ก็ได้ ไม่ต้องหลบหลังแนวหญ้าหรือตอไม้ เพราะสัตว์ป่ามันเชื่อ ‘จมูก’ มากกว่า ‘สายตา’ และมันจะไม่หนีไปถ้าเราอยู่เหนือลม
“แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผมคำนึงถึงเวลาถ่ายรูปสัตว์ป่าก็คือ กลัวมันไม่ได้กิน”
แล้วขยายความให้ฟังว่า “เราอาจจะถ่ายรูปไม่ได้ นั่นเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับสัตว์ป่าตัวหนึ่งที่อาจจะเดินออกมาจากที่หลบภัยในป่ามาหาแหล่งหญ้าระบัดหรือแหล่งน้ำเป็นชั่วโมง และถ้าเราไปกวนมันแล้วมันวิ่งหนีเข้าไปในป่านั่นหมายความว่ามันจะไม่ได้กิน”
นั่นเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนากับช่างภาพสัตว์ป่าคนนั้น
หรือรับฟังผ่าน soundcloud
Light it up
รายการ Podcast ชิ้นแรกของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ว่าด้วยเรื่องราวแรงบันดาลใจของนักอนุรักษ์ ที่ถูกบันทึกไว้ในคอลัมน์ไฟป่า บนหน้านิตยสาร a day และนำกลับมาเล่าใหม่ โดยเจ้าของคอลัมน์ ศศิน เฉลิมลาภ
Light it up
รายการ Podcast ชิ้นแรกของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ว่าด้วยเรื่องราวแรงบันดาลใจของนักอนุรักษ์ ที่ถูกบันทึกไว้ในคอลัมน์ไฟป่า บนหน้านิตยสาร a day และนำกลับมาเล่าใหม่ โดยเจ้าของคอลัมน์ ศศิน เฉลิมลาภผู้เขียน
ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร (18 กันยายน 2558 - 2566)