การสำรวจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ปลาซิวสมพงษ์ในประเทศไทย

การสำรวจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ปลาซิวสมพงษ์ในประเทศไทย

โครงการ “การสำรวจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ปลาซิวสมพงษ์ในประเทศไทย” โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ อนุกรรมการวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในการสำรวจปลาซิวสมพงษ์ฝูงสุดท้ายของโลก ร่วมกับชาวตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก, สมาคมเซฟไวล์ดไลฟ์ ไทยแลนด์, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี, และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การสำรวจในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การป้องกันชนิดพันธุ์ใกล้การสูญพันธุ์อย่างยิ่งในบัญชีแดงของ IUCN อย่างปลาซิวสมพงษ์ (Trigonostigma somphongsi) ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิต 100 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดของโลกจากการระบุของ Zoological Society of London (Baillie & Butcher, 2012)

ปลาซิวสมพงษ์ เป็นปลาน้ำจืด มีถิ่นอาศัยที่เฉพาะตัว อาศัยอยู่ในหนองน้ําตามที่ราบต่ำที่มีพรรณไม้น้ำหนาแน่น เมื่อ 20-30 ปีก่อน เคยพบปะปนกับปลาซิวชนิดต่าง ๆ ที่มาจากภาคกลางในตลาดปลาสวยงาม แล้วไม่พบอีกเลยจนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 สำรวจพบประชากรขนาดใหญ่ที่ลุ่มน้ำบางปะกง และ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมานี้ พบอยู่ในพื้นที่บางส่วนของคลองชลประทานในฤดูแล้ง

ความสําคัญของการอนุรักษ์ปลาซิวสมพงษ์

ปลาซิวสมพงษ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน 136 สายพันธุ์หลักใน CEPF Indo-Burma Biodiversity Hotspot Update 2020 โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 สายพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์นี้ถือว่าจําเป็นเนื่องจากเป็นประชากรหลักกลุ่มสุดท้าย ซึ่งต้องการการอนุรักษ์และดูแลอย่างมีประสิทธิภาพภายในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

ด้วยการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุน Critical Ecosystem Partnership Fund (CEPF) และ International Union for Conservation of Nature (IUCN) มูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้ดําเนินโครงการ “การสํารวจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ปลาซิวสมพงษ์ในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ปลาในทุ่งปากพลี จังหวัดนครนายก 

ขั้นแรก: เริ่มจากสํารวจเพื่อระบุพื้นที่ที่อยู่อาศัยที่สําคัญของปลาซิวสมพงษ์ เนื่องจากมีข้อมูลจํากัดเกี่ยวกับประชากรกลุ่มนี้ในปัจจุบัน ร่วมกับผู้นําชุมชน ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิทยาศาสตร์ให้ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคสําหรับการสํารวจ การระบุ และการวิเคราะห์

ผลจากการสํารวจจะเป็นเครื่องมือในการออกแบบกิจกรรมการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การกําหนดกรอบนโยบาย การพัฒนาแผนการอนุรักษ์ระดับท้องถิ่น และการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับความประชาสังคม

ขั้นที่สอง: เน้นการบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากนักวิจัยและความรู้ในท้องถิ่นจากรัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลดช่องว่างในการทําความเข้าใจและการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์

การอยู่รอดของปลาซิวสมพงษ์ต้องอาศัยการเกษตรแบบดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก (เกษตรดั้งเดิมปลูกข้าวที่ปลูกข้าวปีละครั้ง) ชุมชนที่อาศัยอยู่รอบปากพลีปลูกข้าวปีละ 2-3 ครั้ง การปลูกข้าวปีละหลายครั้งส่งผลให้เกิดการสะสมของสารเคมีในดินมากจนเกินไป และกระทบต่อปลาซิวสมพงษ์รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

ขั้นที่สาม: การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการมีส่วนร่วมกับกรมชลประทาน โดยมุ่งเน้นที่การจัดการน้ําในภูมิภาคนี้ เพราะในตอนนี้แม่น้ํากำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและเขื่อนในลุ่มน้ํา การทํางานร่วมกันและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐและพันธมิตรมีความสําคัญต่อการบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ เช่น ความร่วมมือระหว่างกรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ําสามารถช่วยจัดการทรัพยากรน้ําและเพิ่มมูลค่าทางนิเวศวิทยาของที่ราบน้ําท่วมถึงในทุ่งปากพลี และการปรับสมดุลระดับน้ําก็มีความสําคัญต่อการอยู่รอดของปลาซิวสมพงษ์ เนื่องจากมาตรการป้องกันน้ําท่วมที่มากเกินไปอาจขัดขวางความสามารถในการเจริญเติบโตของปลาซิว

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของโครงการอยู่ที่การเผยแพร่และมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชนทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะประสบความสําเร็จนั้นต้องการการมีส่วนร่วมและความตระหนักรู้ของผู้นําชุมชนไม่เพียงแต่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเจ้าของที่ดินและผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย ในอนาคตตั้งเป้าที่จะทําการสํารวจพื้นที่ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อระบุประชากรของปลาซิวสมพงษ์ การพิจารณาเทคนิค DNA เข้ามาช่วย แม้ว่าต้นทุนจะเป็นความท้าทายสูงก็ตาม สิ่งสําคัญคือต้องอนุรักษ์พื้นที่นี้ด้วยวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมาตรการอนุรักษ์ตามพื้นที่อื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพ (OECM) และอาจกําหนดให้เป็นพื้นที่แรมซาร์ ความร่วมมือกับรัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานนโยบายแห่งชาติเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับกระบวนการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากพื้นที่นี้เป็นของเอกชน