หลักการและเหตุผล
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่อยู่ในเขตป่าประดาง ป่าวังเจ้า จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ประมาณ 466,875 ไร่ มีอาณาเขตครอบคลุมท้องที่ 3 อำเภอ 2 จังหวัด ประกอบด้วยอำเภอคลองลาน อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ 381,875 ไร่ และอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก มีพื้นที่ 85,000 พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่มีความสำคัญพื้นที่หนึ่ง สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนและปกคลุมไปด้วยสังคมพืชหลายชนิด ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และทุ่งหญ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญและลุ่มน้ำปิง
นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้ายังประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งป่าไม้ภูเขาน้ำตกเช่นน้ำตกเต่าดำ น้ำตกคลองวังเจ้า น้ำตกกระแตไต่ไม้น้ำ ตกสมอกล้วย น้ำตกนาฬิกาทราย และเขาเย็น เป็นต้น
นอกจากจะมีทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญแล้ว อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้ายังเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายทรัพยากรที่สูงมาก เนื่องจากมีชุมชนไทยภูเขาอาศัยและมีที่ทำกินอยู่ในบ้านพื้นที่อุทยานฯ ทั้งชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และกระเหรี่ยง ทำให้มีการลักลอบเข้ากระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้จำนวนมาก ทั้งลักลอบทำไม้ ล่าสัตว์ เก็บหาของป่า และการบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่นั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรงมากในอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ที่เป็นสภาพภูเขาหัวโล้นมากกว่าสองหมื่นไร่ ซึ่งการแก้ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้านั้น ต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ในการออกป้องกันปรามปราบกระทำผิด กำลังสำคัญมาจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทั้ง 7 หน่วย และจุดสกัดการกระทำผิดกฎหมายป่าไม้อีก 1 จุดสกัด
สภาพปัญหาในปัจจุบัน เนื่องจากอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้ามีแนวเขตด้านทิศตะวันตกที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีหน่วยพิทักษ์หรือจุดสกัดฯ เข้าไปดูแลรับผิดชอบพื้นที่อย่างทั่วถึง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความห่างไกลและยากแก่การเข้าถึง หากเดินเท้าจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯที่ วจ.7 (น้ำตกเต่าดำ) ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน การออกตรวจลาดตะเวนของหน่วยที่มีพื้นที่รับผิดชอบไม่สามารถทำได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงได้เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ที่ผ่านมาพบว่ามีการลักลอบแผ้วถางพื้นที่เพื่อปลูกพืชเสพติด (ฝิ่น) กระจายทั่วบริเวณที่เป็นอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางและอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าพิจารณาแล้ว เห็นควรให้มีการจัดการสร้างอาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่ประจำจุดสกัดขึ้นมาใหม่ เนื่องจากของเก่านั้นชำรุดทรุดโทรมมาก อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ และเพื่อเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทาผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ให้ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ล่อแหลมต่อการบุกรุก ของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
2. เพื่อป้องกันการลักลอบแผ้วถางพื้นที่ เพื่อปลูกพืชเสพติด (ฝิ่น)
3. เพื่อลดการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
4. เพิ่มประสิทธิภาพการลาดตระเวนบริเวณด้านตะวันตกและด้านใต้ที่ติดกับอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง
5. เพื่อป้องกันการลักลอบเข้ามาใช้แรงงานของแรงงานต่างด้าว
6. เพื่อสร้างที่พักอาศัยที่มั่นคงและปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำจุดสกัด
เป้าหมาย
สร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 หลัง (หลังละ 2 ห้องนอน)
ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ
เชิงปริมาณ : การกระทาผิดเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าลดลง
เชิงคุณภาพ : พื้นที่ป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้ามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามการกระทาผิดกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เพิ่มมากขึ้น
ระยะเวลาในการดำเนินการ
หางบประมาณและดำเนินการ ช่วงเดือน สิงหาคม – ธันวาคม 2566
สถานที่ดำเนินการ
จุดสกัดเขาเย็น อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ในพื้นที่บ้านอุ้มเปี้ยม ม.1 ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก
งบประมาณ
งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) แบ่งเป็น
1. บ้านพักเจ้าหน้าที่ฯ เฉลี่ย 2 หลัง (4 ห้อง) งบประมาณ 350,000 บาท
2. ค่าดำเนินการขนส่ง 50,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. งานป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ล่อแหลมต่อการบุกรุก ของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
2. ลดปัญหาการลักลอบแผ้วถางพื้นที่ เพื่อปลูกพืชเสพติด (ฝิ่น)
3. ลดปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ของราษฎร บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า
4. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการลาดตระเวนบริเวณด้านตะวันตกและด้านใต้ที่ติดกับอุทยานแห่งชาติ แม่วงก์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง
5. สามารถป้องกันการลักลอบเข้ามาใช้แรงงานของแรงงานต่างด้าว
6. มีจุดตรวจป้องกันบริเวณแนวด้านฝั่งตะวันตก ซึ่งยังไม่มีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแต่ยังคงมีคนอยู่ติดแนวเขต มีการทำปศุสัตว์ทั้งใน และตามแนวเขต
7. มีเจ้าหน้าที่ดูแลป้องกันในพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
หน่วยงานรับผิดชอบ
1. อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
2. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ผู้ประสานงานโครงการ
น.ส.เกศรินทร์ เจริญรักษ์ หัวหน้าฝ่ายงานผู้พิทักษ์ป่า มูลนิธิสืบนาคะเสถียร โทรศัพท์ : 097-248-9717 E-mail : [email protected]
แผนที่ตั้งจุดสกัดเขาเย็น อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ภาพบ้านพักเจ้าหน้าที่จุดสกัดเขาเย็น
แบบบ้านพักเจ้าหน้าที่ฯ ที่จะดำเนินการตามโครงการ
สนับสนุนกิจกรรม บัญชีธนาคารไทยพาณิย์ เลขที่บัญชี 057-244388-1 ชื่อบัญชี กองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า โดย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ผู้เขียน
ถ่ายภาพเพื่อบันทึกเรื่องราว และบางคราวก็เอาภาพมาเล่าเรื่อง มีความสุขกับการดริปกาแฟ และชื่นชมแคตตัส