รายงานสรุปการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ตามกองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า ประจำปี พ.ศ. 2567

รายงานสรุปการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ตามกองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า ประจำปี พ.ศ. 2567

ตามแผนงานผู้พิทักษ์ป่า ปี 2567 มูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้วางแผนการดำเนินงานด้านการให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ผ่านกองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่าเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและครอบครัว โดยมีผลดำเนินงานดังนี้

[ 1 ]
ให้การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า กรณีบาดเจ็บ-เสียชีวิต

ให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บจำนวน 51 ราย ให้ความช่วยเหลือครอบครัวเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่จำนวน 17 ราย และทุนการศึกษาบุตร รวมทั้งหมด 22 ราย ให้การช่วยเหลือตามกองทุนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 975,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ากรณีได้รับบาดเจ็บ

นายทนงศักดิ์ ภูมิวิวัฒน์ บุคคลภายนอกปฎิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติบางลาง ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุช้างป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายต้นฝน กมลศรี พนักงานค่าตอบแทน ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติปางสีดา มีอาการเจ็บป่วยระหว่างการลาดตระเวน (ดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน) ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายสมนึก แสงสี พนักงานจ้างเหมา ช่วยปฎิบัติงานแก้ไขปัญหาช้างป่าฯ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการผลักดันช้างป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายสิทธิเดช กมลเดช พนักงานจ้างเหมา ช่วยปฎิบัติงานแก้ไขปัญหาช้างป่าฯ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการผลักดันช้างป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท

นายไพรวัลย์ สุทธิบุตร พนักงานจ้างเหมา พนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการผลักดันช้างป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท

นายจรัล เขียวรัมย์ บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเหตุกระทิงขวิดระหว่างลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายวัชรกร วิชาคำ บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเหตุกระทิงขวิดระหว่างลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายสิทธิศักดิ์ ฉิมจารย์ บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากเหตุกระทิงขวิดระหว่างลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายวัฒนา สายทอง พนักงานค่าตอบเเทน ปฎิบัติงานประจำอุทยานห่งชาติปางสีดา ล้มป่วยจากการพักผ่อนไม่เพียงพอประกอบกับอากาสที่ร้อนจัดขณะช่วยค้นหาเจ้าหน้าที่ที่ถูกกระทิงทำร้าย ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายธีรภัทร ปิจดี บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาตินันทบุรี ประสบอุบัติเหตุกิ่งไม้หักหล่นทับแขน ทำให้กระดูกแขนท่อนล่างแตกหัก ระหว่างการลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 8,000 บาท

นายคฑาวุฒิ หมวกคำ พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้ม ระหว่างออกลาดตระเวนหาข่าว ส่งผลให้กระดูกสะโพกข้างซ้ายหัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 8,000 บาท

นายจำเนียน พุดฉิม พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงและภูทอง ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุกิ่งไม้ตกใส่ศีรษะ ขณะลาดตระเวนได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท

นายสงวน เชื้อกูล บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ได้รับบาดเจ็บถูกงูจงอางฉก ระหว่างลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท

นายปริญญา ตะจันทร์ดา บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ได้รับบาดเจ็บถูกงูจงอางฉก ระหว่างลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท

นายมาหะมะรอสตี ปาเน๊าะ พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรอบวางระเบิด ขณะเดินทางปฎิบัติหน้าที่ ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายอาซีซี อาแว พนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรอบวางระเบิด ขณะเดินทางปฎิบัติหน้าที่ ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายอัมรี มะแซ พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรอบวางระเบิด ขณะเดินทางปฎิบัติหน้าที่ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายวีระพันธ์ ขันยศ ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก ปฏิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ได้รับบาดเจ็บจากของมีคมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ควบคุมไฟป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายเอกณรินทร์ เนตรวงค์ บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว มีอาการป่วยจากการติดเชื้อระหว่างการลาดตระเวน (ติดเชื้อเมลิออยด์ และเลือดออกทางเดินอาหาร) ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายพิทยา สกุลบุญญาธิการ จ้างเหมาเอกชนดำเนินงานฯเฝ้าระวังและควบคุมไฟป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ได้รับบาดเจ็บระหว่างปฎิบัติงานควบคุมไฟป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายยุรนันท์ พรมแก้วงาม บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต(เตรียมการ) ได้รับบาดเจ็บขาหัก ระหว่างเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัย ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายสุรพล คู่มณี พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ได้รับบาดเจ็บบริเวณไหล่และสะโพก ในอุบัติเหตุรถบรรทุกกล้าไม้เสียหลัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายสุริยะ จันทมุณี พนักงานจ้างเหมาเอกชนดำเนินงาน (TOR) ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ได้รับบาดเจ็บมีอาการปวดสะโพก ยกขาไม่ขึ้น ในอุบัติเหตุรถบรรทุกกล้าไม้เสียหลัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นางสาวอัยนา ระยาภักดิ์ พนักงานราชการ ตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ได้รับบาดเจ็บบริเวณกราม ข้อมือ และแขนในอุบัติเหตุรถบรรทุกกล้าไม้เสียหลัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท

นางสาวอาทิตยา ศรีสวัสดิ์ พนักงานจ้างเหมาเอกชนดำเนินงาน (TOR) ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ได้รับบาดเจ็บมีแผลถลอกเล็กน้อย ในอุบัติเหตุรถบรรทุกกล้าไม้เสียหลัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท

นายอาวุธ มณีพันธ์ พนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ได้รับบาดเจ็บมีอาการปวดเมื่อยและมึนศีรษะ ในอุบัติเหตุรถบรรทุกกล้าไม้เสียหลัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท

นายพรศักดิ์ สิงห์โพธิ์ทองกูล พนักงานราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง ได้รับบาดเจ็บถูกงูกะปะกัดเท้าระหว่างลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายวราวุฒิ ดู่อุ๊ด บุคคลภายนอกปฎิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ได้รับบาดเจ็บจากเหตุไฟลุกลามข้ามแนวกันไฟ เป็นเหตุให้เปลวไฟกระเด็นติดบริเวณสะโพก จนเป็นแผลพุพอง ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายพงษ์ธเนศ รัตนอุบล บุคคลภายนอกปฎิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีอาการออ่นเพลีย หน้ามืด หมดสติ จากการปฎิบัติงานดับไฟป่าอย่างต่อเนื่องหลายวัน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท

นายผัด แสนยาวิชัย พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติดอยหลวง รถจักรยานยนต์ล้มระหว่างเดินทางปฎิงานดับไฟป่า มีแผลบริเวณเข่าและใบหน้า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท

นายชนะพล อ้นกา บุคคลภายนอกช่วยปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำวนอุทยานน้ำตกแม่เฉย ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกร่องน้ำตกเก่าระหว่างปฏิบัติหน้าที่ดับไฟป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายปรีชา ใสกระจ่าง พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ประสบอุบัติเหตุเหยียบกับระเบิด ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาซ้ายขาด แขนและนิ้วมือได้รับบาดเจ็บ ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายยนต์ เบ้าชนะ พนักงานจ้างเหมาบริการฯ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำพอง ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ดับไฟป่า เป็นเหตุให้ศรีษะแตก ม้ามฉีก และต้องตัดลิ้น ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นางสาวอังสนา มองทรัพย์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ปฎิบัติงานประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับบาดเจ็บจากเหตุชะนีกัด ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายอภิชัย พรมดาษ พนักงานจ้างเหมาบริการ ปฎิบัติงานประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับบาดเจ็บถูกเสือดาวกัด ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

 นายวินัย ใจดี พนักงานจ้างเหมาบริการ ปฎิบัติงานประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเหตุถูกวัวแดงชน ขณะขับรถจักรยานยนต์กลับที่พัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายชิงชัย แสนคำ บุคคลภายนอกช่วยปฎิบัติงานราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุช้างป่าทำร้าย บาดเจ็บสาหัส ซี่โครงหัก 8 ซี่ มีเลือดคลั่งในปอด ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายวิโรจน์ อุปละ พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งหลบกระทิง ทำให้นิ้วมือข้างขวาแตก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายดนัย คำแก้ว บุคคลภายนอกปฎิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้รับอุบัติเหตุถูกหมีควายทำร้าย ได้รับบาดเจ็บสาหัส ระหว่างการลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท

นายปัญจะ แจ่มชาวนา บุคคลภายนอกช่วยปฎิบัติงานราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ ลื่นล้มซี่โครงหักระหว่างปฎิบัติหน้าที่ดับไฟป่า ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายนนทชัย พรหมสาขาฯ พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำ อุทยานแห่งชาติภูผายล เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บกระดูกสะโพกหัก ได้ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายวิทยาโยตะสิงห์  พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำ อุทยานแห่งชาติภูผายล เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะ ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายสุประวิทย์ สุทธิมาตย์ บุคคลภายนอกช่วยปฎิบัติงานราชการ ปฎิบัติงานประจำ อุทยานแห่งชาติภูผายล เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บกระดูกไหปลาร้าด้านขวาหัก ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายนพวรรษ ลำดับ หัวหน้าวนอุทยานผาหลักหมื่น ปฎิบัติงานประจำวนอุทยานผาหลักหมื่น ประสบอุบัติเหตุแผลถลอกที่ศีรษะจากอุบัติเหตุจราจร จากเหตุอันเนื่องมาจากความอ่อนเพลียจากการทำแนวกันไฟ ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายปฎิญาณ หมวกคำ  พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด เจ็บป่วยจากการดับไฟป่าต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน มีภาวะหัวใจขาดเลือด ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายวันเพ็ญ เกิดพินธ์ บุคคลภายนอกช่วยปฎิบัติงานราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ เจ็บป่วยจากการดับไฟป่า มีอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว และภาวะไตวาย ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

นายสุริยนต์ คันศรี พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เจ็บป่วยจากการดับไฟป่า มีอาการฮีทสโตรกนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน  ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

นายเฉลิม ดีธรรมมา พนักงานจ้างเหมาบริการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้รับบาดเจ็บจากประทัดระเบิดใส่มือ นิ้วชี้ข้างขวาขาด 2 ข้อ ขณะปฎิบัติหน้าที่ผลักดันช้างป่า ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายเทพพร จันสืบ พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ได้รับบาดเจ็บจากการลื่นล้มระหว่างการลาดตระเวน ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท

นายสุวิทย์ กิจณิชาดา พนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ได้รับบาดเจ็บจากเหตุกระทิงขวิด ได้รับบาดแผลลึกบริเวณลำคอ ระหว่างการลาดตระเวน ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 7,000 บาท

นายบรรจบ แม้นพยัคฆ์ บุคคลภายนอกช่วยปฎิบัติงานราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับบาดเจ็บสาหัส มีเลือดออกในสมอง ช่องท้อง และทางเดินปัสสาวะ จากเหตุช้างป่าทำร้ายขณะปฏิบัติหน้าที่ ให้การช่วยเหลือเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

ให้ความช่วยเหลือครอบครัวเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ากรณีเสียชีวิต

นายวุฒิพงศ์ ศรีวิชา พนักงานจ้างเหมาบริการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เสียชีวิตด้วยโรคประจำตัวขณะปฎิบัติหน้าที่ราชการ ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายสังวร นวลทิพย์ บุคคลภายนอกปฎิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา – น้ำตกผาเสื่อ มีอาการวูบล้มลง หมดสติ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ระหว่างปฎิบัติหน้าที่ราชการ ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายราเมธ แสงโยธา พนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก  ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตระหว่างเดินทางประสานงานชุมชน ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายอภินันท์ กองเกตุ บุคคลภายนอกปฎิบัติงานให้ส่วนราชการ ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เสียชีวิตด้วยอาการฮีสโตรก ระหว่างปฎิบัติหน้าที่ดับไฟป่า ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายสมพงษ์ สร้างแก้ว เจ้าหน้าที่ตรวจป่า ปฎิบัติงานประจำสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 เสียชีวิตจากการตกรถระหว่างเดินทางปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายปราชัน จันปุ่ม พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน ปฎิบัติงานประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ เสียชีวิตด้วยอาการเลือดออกในสมองขณะปฏิบัติงานลาดตระเวน ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายคมศิลป์ กาติ้ง ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก ปฏิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติศรีน่าน เสียชีวิตจากเหตุจมน้ำระหว่างปฏิบัติการค้นหาโดรน ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายพันศักดิ์ ใจมงคล ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก ปฏิบัติงานอนุรักษ์และป้องกันรักษาป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมดสติและเสียชีวิตระหว่างลาดตระเวน (เลือดออกในสมอง) ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายวรวุฒิ กันประชุม พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันระหว่างการลาดตระเวน  ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (เเละทุนการศึกษาบุตร 2 คน)

นายสุรศักดิ์ แก้วกาญจน์ พนักงานจ้างเหมาเอกชนดำเนินงาน (TOR) ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เสียชีวิตจากการบาดเจ็บบริเวณช่วงอก ในอุบัติเหตุรถบรรทุกกล้าไม้เสียหลัก ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท 

นายจงรัก จงศรี พนักงานจ้างเหมาเอกชนดำเนินงาน (TOR) ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างปฎิบัตงานผลักดันช้างป่า ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท 

นายสุริยา สุขะพันธ์ บุคคลภายนอกช่วยปฎิบัติงานราชการ ปฎิบัติงานประจำ อุทยานแห่งชาติภูผายล เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ระหว่างทำการขนย้ายไม้ของกลาง เสียชีวิตในเวลาต่อมา ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายสมศักดิ์ นิธินโคธร เจ้าหน้าที่ตรวจป่าฯ(TOR) ปฎิบัติงานประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ มส.6 (สบเมย) เสียชีวิตเนื่องจากเหตุพลัดตกจากหลังคาบ้านของราษฎรในขณะให้การช่วยเหลือเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาที่ได้รับผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนอง ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายวัลลภ บุระพา บุคคลภายนอกช่วยปฎิบัติงานราชการ ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุช้างป่าทำร้ายระหว่างการทำหน้าที่ผลักดันช้างป่า  ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายวรวรรณ อันชื่น พนักงานพิทักษ์ป่า ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติทับลาน ล้มหมดสติระหว่างการลาดตระเวน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายมงคล รักธัญการ พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า  ปฎิบัติงานประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เสียชีวิตจากไม้ล้มทับขณะตรวจตราบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าบริเวณใกล้แนวเขต ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

นายชัชวาล สารจุม พนักงานจ้างเหมาบริการ ปฎิบัติงานประจำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กรมป่าไม้) เสียชีวิตจากการพลัดตกจากที่สูง ขณะปฏิบัติงานซ่อมแซมอาคาร ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท

เมื่อสรุปการการช่วยเหลือเเล้วมูลนิธิฯสนใจประเด็นเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากสัตว์ป่า ซึ่งในปีนี้มีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บเเละเสียชีวิตจากสัตว์ป่า ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวน จำนวน 20  ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงสองสามปีที่ผ่านมา จึงได้มีการจำแนกข้อมูลเฉพาะกรณีสัตว์ป่าไว้ดังนี้

1. จำแนกเคสตามกลุ่มป่าได้ข้อมูลดังนี้

  • กลุ่มป่าตะวันตก จำนวน 10 ราย
  • กลุ่มป่าตะวันออก จำนวน 5 ราย
  • กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว จำนวน 1 ราย
  • กลุ่มป่าภูพาน-ภูสระดอกบัว จำนวน 2 ราย
  • กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ จำนวน 1 ราย
  • กลุ่มป่าฮาลา-บาลา จำนวน 1 ราย

2. สัตว์ป่าที่เจ้าหน้าที่ประสบเหตุ 3 อันดับ คือ

  • อันดับที่ 1 จากช้างป่า จำนวน 8 ราย
  • อันดับที่ 2 จากกระทิง จำนวน 5 ราย
  • อันดับที่ 3 จากงู จำนวน 3 เคส

3. ฤดูกาลที่เกิดเหตุ *หมายเหตุ : ฤดูแล้ง พ.ย. – เม.ย. / ฤดูฝน พ.ค. – ต.ต.

  • ฤดูฝน จำนวน 16 ราย  
  • ฤดูแล้ง จำนวน 4 ราย

[ 2 ]
สมทบทุนการศึกษาแก่บุตร-ธิดา

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่เสียชีวิตระหว่างปฎิบัติหน้าที่

จากโครงการ “Circle of Compassion” ของ Niran นิรันดร์ พวงหรีดรักษ์โลก (บริษัท  บุญเจริญการทอ จำกัด) ที่สมทบทุนจำนวน 50 บาท จากทุกการสั่งซื้อพวงหรีดรักษ์โลกให้แก่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรนั้น 

หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมมูลนิธิฯได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 79,450 บาท ซึ่งได้จัดสรรให้กับน้องๆที่อยู่ในความดูเเลของมูลนิธิฯจำนวน 21 คน คนละ 3,783 บาท 

เมื่อรวมกับทุนการศึกษาที่มูลนิธิฯสมทบปกติเดือนละ 1,000 บาท ทำให้ในเดือนมีนาคมจะเป็นยอดทุนการศึกษาที่น้องๆจะได้รับ คือ 4,783 บาท/คน

มูลนิธิสืบนาคะเสถียรขอขอบคุณโครงการดีๆ จากบริษัท บุญเจริญการทอ จำกัด เเละผู้สนับสนุนพวงหรีดนิรันดร์ทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานผู้พิทักษ์ป่าในครั้งนี้

[ 3 ]
หน่วยเเพทย์เคลื่อนที่เพื่อผู้พิทักษ์ป่า เเละชุมชนรอบป่า

สภากาชาดไทย X มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมกับ สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์เพื่อผู้พิทักษ์ป่าและชุมชนรอบป่า สภากาชาดไทย ณ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 19-22 กุมภาพันธ์ 2567 

โดยมีพื้นที่ตั้งหน่วยแพทย์ฯ แต่ละวันดังนี้

  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนบ้านแม่ละมุ้ง ต.แม่ละมุ้ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก 
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนบ้านกล้อทอ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนบ้านหนองหลวง ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนบ้านแม่กลองใหม่ ต.แม่กลอง อ.อุ้มผาง จ.ตาก

กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสุขภาพให้แก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ได้รับบริการทางการแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วยการรักษาโรคทั่วไป พร้อมจ่ายยา หน่วยทันตกรรม ให้การบริการด้านการอุดฟัน ถอนฟัน เเละขูดหินปูน หน่วยการให้บริการด้วยวิธีฝังเข็มประยุกต์ เเละการให้ความรู้ด้านสุขศึกษา 

รวมทั้งมีการมอบชุดของขวัญสภากาดไทยวันละ 120 ชุด ตู้ยาสามัญประจำบ้าน รถเข็นผู้พิการให้กับผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ละ 2 – 3 คัน ต่อวัน

หลังจบกิจกรรมออกหน่วยแพทย์ ได้มีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยพร้อมมอบชุดของขวัญสภากาชาด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยในพื้นที่

สำหรับกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฯ ในปีหน้า 2568 จะยังคงออกหน่วยในอำเภออุ้มผาง แต่มีการหมุนเวียนเปลึ่นหมู่บ้านให้กระจายการช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุมทั้งพื้นที่ โดยช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมามูลนิธิสืบนาคะเสถียร และสภากาชาดไทย ลงพื้นที่สำรวจการตั้งจุดบริการในกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์เพื่อผู้พิทักษ์ป่าและชุมชนรอบผืนป่า สภากาชาดไทย ณ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2568

โดยมีการกำหนดพื้นที่ตั้งหน่วยแพทย์ฯ แต่ละวันดังนี้

  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนแม่ละมุ้งวิทยา บ้านปะหละทะ ต.แม่ละมุ้ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนท่านผู้หญิงวิไลอมาตยกุล(บ้านเปิงเคลิ่ง) ห้องเรียนสาขาบ้านกุยเลอตอ บ้านกุยเลอตอ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนขุนห้วยบ้านรุ่ง บ้านเดลอคี ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนสามัคคีวิทยา บ้านกิ่วห้าง ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ : โรงเรียนบ้านแม่กลองน้อย ต.โมโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก

การสำรวจพื้นที่ในครั้งนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากนายมาโนช โพธิ์เนียม นายอำเภออุ้มผาง ส่วนปกครองท้องถิ่นอำเภออุ้มผาง สาธารณสุขอำเภออุ้มผาง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก เเละหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

[ 4 ]
โครงการบ้านพักเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า จุดสกัดเขาเย็น
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

เสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับ “โครงการบ้านพักเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า จุดสกัดเขาเย็น อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า”

จุดสกัดเขาเย็นจัดตั้งขึ้นในปี 2561 บริเวณที่ทำการประกอบไปด้วยอาคารสำนักงาน ห้องครัว ห้องน้ำส่วนกลาง เเละบ้านพักของเจ้าหน้าที่ฯ ซึ่งทำจากไม้ไผ่เป็นหลัก เเต่ด้วยบริเวณนี้มีความชื้นค่อนข้างสูงทำให้บ้านพักของเจ้าหน้าที่ฯ ที่ทำไว้นั้นเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นเเละอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้

ในปี 2567 กองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิใจกระทิง เพื่อใช้ในการดำเนินการสร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ฯ ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต

ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มูลนิธิสืบฯ ได้ดำเนินการส่งมอบบ้านพักให้กับ อุทยานคลองวังเจ้า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นที่เรียบร้อย และในโอกาสดังกล่าว นายนพดล ปราบหงษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ได้จัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เพื่อเสริมสร้างสิริมงคลให้แก่คณะเจ้าหน้าที่ฯ ผู้อยู่อาศัยให้อยู่ดีมีสุขภายใต้บ้านที่มั่นคงเเละปลอดภัยนี้ต่อไป

[ 5 ]
โครงการปรับปรุงแพทางน้ำ หน่วยพิทักษ์ป่า (ชั่วคราว) ถ้ำเจียร์
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง

ที่ผ่านมาเเพทางน้ำหน่วยพิทักษ์ป่า (ชั่วคราว) ถ้ำเจียร์ ได้มีการใช้งานมาแล้วมากกว่า 30 ปี นับตั้งแต่ครั้งที่หัวหน้าสืบ นาคะเสถียร ได้เป็นหัวหน้าโครงการช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการเขื่อนเชี่ยวหลานนั้น ณ ปัจจุบันยังคงมีการใช้งานอยู่เเต่มีสภาพที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จึงจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่เกือบทั้งหลัง เพื่อให้กลับมาใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ฯ ผู้ใช้งาน โดยแพทางน้ำนี้ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันภัยคุกคามที่แอบแฝงมาทางสายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำในการปฏิบัติหน้าที่ตรงจุดนี้

โดยการดำเนินงานปรับปรุงแพทางน้ำได้เริ่มขึ้นตั้งเเต่ช่วงเดือนมีนาคม 2567 โดยเป็นการเชื่อมต่อโครงเหล็กเพื่อใช้เป็นโครงทุ่นลอยน้ำ เเละดำเนินการติตตั้งเเทนตัวทุ่นเดิมที่เสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้ ส่วนต่อมาเป็นการรื้อและปรับปรุงโครงสร้างหลังคา พร้อมมุงหลังคาใหม่ทั้งหมด ในระยะที่สอง ได้มีการรื้อเปลี่ยนผนังรอบตัวอาคาร ปูพื้นใหม่ สร้างห้องน้ำเเละติดตั้งสุขภัณฑ์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเก็บรายละเอียดงาน จะเเล้วเสร็จช่ในเดือนธันวาคมนี้

[ 6 ]
บ้านพักเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าศรีสวัสดิ์ 

เป็นอีกหนึ่งโครงการฯในพื้นที่ป่าตะวันตกที่อยู่ในเเผนการดำเนินงานตามกองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่าในปี 2567 เพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในการดูแลผืนป่าอันมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ของอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่า อีกทั้งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อ ผืนป่าระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ และอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งสัตว์ป่าสามารถอพยพเคลื่อนย้ายดำรงเผ่าพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ ทั้งยังเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในพื้นที่

ช่วงต้นปีที่ผ่านมาทางทูลนิธิสืบฯ ได้มีการลงพื้นที่เตรียมดำเนินงานตามเเผนโครงการฯ พร้อมทั้งได้มีการพูดคุยกับทางทีมเจ้าหน้าที่ฯเพื่อปรับแบบแปลนที่จะใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้สอดคล้องเเละเหมาะสมต่อการใช้งานจริงของเจ้าหน้าที่ฯ ซึ่งตั้งเเต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาทางพื้นที่ได้เริ่มดำเนินการงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งบัดนี้งานก่อสร้างในส่วนของห้องครัว เเละห้องน้ำได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเเล้ว ส่วนอาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่ฯ ได้มีความคืบหน้าไปกว่า 80% คาดการณ์ว่าจะเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้

[ 7 ]
กิจกรรมอาสาฯ กับนักเรียนกลุ่มจิตอาสา Forest Rangers
โรงเรียนนานาชาตินิสท์ 

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เเละเขตห้ามล่าสัตว์ป่าศรีสวัสดิ์ ต้อนรับคณะครูเเละเด็กนักเรียนกลุ่มจิตอาสา Forest Rangers โรงเรียนนานาชาตินิสท์ ในการลงพื้นที่ทำกิจกรรมอาสาทาสีรองน้ำ ปลูกต้นไม้ เเละเรียนรู้เรื่องราวความสำคัญเเละความเป็นมาของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าศรีสวัสดิ์

ทั้งนี้เด็กนักเรียนกลุ่มจิตอาสาฯ ได้มีความสนใจเเละติดตามภารกิจงานผู้พิทักษ์ป่าเป็นทุนเดิมอยู่เเล้วเเละได้มีโอกาสในการทำกิจกรรมภายในโรงเรียนเพื่อเป็นการสื่อสารเรื่องราวการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าออกไปในวงกว้าง

ครั้งนี้เป็นกิจกรรมแรกที่เด็กๆ ได้มีโอกาสลงพื้นที่พบปะผู้พิทักษ์ป่าและทำกิจกรรมร่วมกัน ในขณะเดียวกันก็เป็นการต้อนรับคณะผู้มาเยือนเป็นครั้งเเรกของทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าศรีสวัสดิ์ด้วย เนื่องจากทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการประกาศให้พื้นที่ตรงส่วนนี้มีสถานะเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อปี 2566 เเละเริ่มดำเนินการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้เป็นที่ทำการ ในช่วงกลางปี 2567 จนถึงปัจจุบันยังคงดำเนินการในส่วนของงานก่อสร้างอยู่

โดยในอนาคตพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าศรีสวัสดิ์นี้จะทำหน้าที่ในการเป็นห้องเรียนสื่อความหมายธรรมชาติควบคู่ไปกับการดูแลรักษาผืนป่าอันเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญเเละเป็นเเนวเชื่อมต่อป่า (corridor) ที่สำคัญสำหรับ เสือโคร่ง กระทิง เสือลายเมฆ เเละสัตว์อื่นๆ อีกด้วย

[ 8 ]
ประสานการช่วยเหลือสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อผู้พิทักษ์ป่า

ส่งมอบเสบียงอาหารและของใช้ที่จำเป็น จากกลุ่มพนักงานบริษัทนันยางฯ แก่ 3 พื้นที่อนุรักษ์ฯ ได้แก่ หน่วยพิทักษ์ป่าเดอลู่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้สนตะวันตก จุดสกัดเขาเย็น อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก

สนับสนุนการขนส่งเสาวิทยุเพื่อติดตั้งบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยจันทน์แดง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี

ประสานงานและนำส่งสายดับเพลิงจำนวน 35 สาย และ หน้ากากผ้าปิดจมูกคาร์บอน จำนวน 4,000 ชิ้น จาก บ.ผลธัญญะ ปทุมธานี ไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าศรีสวัสดิ์

บริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอลอุตสาหกรรม จำกัด​ ในการให้การสนับสนุนสิ่งของแก่ผู้พิทักษ์ป่า มีรายการดังนี้

1. เบาะพับ 3 ตอน จำนวน 66 อัน 
2. พัดลม 16 นิ้ว จำนวน 28 ตัว 
3. ลิ้นชักพลาสติก 3 ชั้น จำนวน 74 อัน

และเมื่อในวันที่ 3 เมษายน ชมรมฅนรักษ์สัตว์-ป่า พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฯจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ขญ.13 (นางรอง) ได้เป็นตัวแทนมารับมอบสิ่งของดังกล่าว เพื่อกระจายไปยังพื้นที่อนุรักษ์ใกล้เคียง 

[ 9 ]
โครงการอนุสรณ์เรืออพยพสัตว์ป่า สืบ นาคะเสถียร 
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จ.สุราษฎร์ธานี

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเรืออพยพสัตว์ป่าที่หัวหน้าสืบ และทีมงานเคยใช้ยังคงมีอยู่ เเละถูกเก็บรักษาไว้ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ครั้งนี้มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมด้วย บริษัท แปลน สตูดิโอ จำกัด จึงได้มีแผนการจัดทำตัวอาคาร นิทรรศการ เเละคู่มืออนุสรณ์เรืออพยพสัตว์ป่า สืบ นาคะเสถียร เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงอนุสรณ์เรืออพยพสัตว์ป่า พร้อมทั้งบอกเล่าความเป็นมา ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อพยพสัตว์ป่าครั้งแรกของประเทศไทย 

หลังจากที่ตัวแทนจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ สถาปนิกจากบริษัท แปลน สตูดิโอ จำกัด ได้ลงพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเเสง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อสำรวจพื้นที่และพูดคุยกับหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเเสง ถึงความต้องการและแนวทางการดำเนินงานฯ ซึ่งล่าสุดทีมผู้ออกแบบได้ส่งเเบบอาคารอนุสรณ์พร้อมทั้งมีการประเมินราคาวัสดุก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเเล้ว ในส่วนของการขออนุมัติการก่อสร้างนั้น ได้รับการตอบรับจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นที่รียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดงวดงานและงบประมาณเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป

ร่วมสนับสนุนงานเพื่อผู้พิทักษ์ป่า 
บัญชีธนาคารไทยพาณิย์ เลขที่บัญชี 057-244388-1 
ชื่อบัญชี ‘กองทุนเพื่อผู้พิทักษ์ป่า โดย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร’
(ใบเสร็จจากการบริจาค สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน)

ผู้ที่ต้องการรับใบเสร็จ สามารถส่งหลักฐานการโอนเงิน
พร้อมทั้ง ชื่อ-ที่อยู่ ในการออกใบเสร็จมาที่ : E-mail : [email protected]

ขอบคุณที่ร่วมสนับสนุนงานพิทักษ์ป่ากับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ผู้เขียน

+ posts

ถ่ายภาพเพื่อบันทึกเรื่องราว และบางคราวก็เอาภาพมาเล่าเรื่อง มีความสุขกับการดริปกาแฟ และชื่นชมแคตตัส