รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย 2558-2559

รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย 2558-2559

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจจึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมทางด้านเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก ประกอบกับการขยายตัวของชุมชน และจำนวนของประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น ประชาชนไม่มีพื้นที่ทำกินจึงเกิดการบุกรุกที่ดินของรัฐ เพื่อการทำการเกษตร และปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลดลงของพื้นที่ป่าในประเทศไทย

ดังนั้น การจัดทำข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย จึงมีความสำคัญต่อการสะท้อนปัญหาเป็นแนวทางจัดการของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่อไป

ลำดับเหตุการณ์การจัดทำข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ประเทศไทย

พ.ศ. 2509 งานสำรวจทรัพบากป่าไม้ ถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ โยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วนเล็ก 1:60,000 ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายระหว่างปี พ.ศ.2504-2505

พ.ศ. 2516 ได้เริ่มนำภาพถ่ายดาวเทียมมาประยุกต์เพื่อจัดทำแผนที่ป่าไม้ ภายหลังจากที่อเมริกาได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากร Landsat 1 สู่วงโคจร โดยผลการแปลตีความภาพดาวเทียมดังกล่าวประกอบกับการตรวจสอบภาคพื้นดินระหว่างปี พ.ศ. 2516-2517 ทำให้กรมป่าไม้ได้แผนที่แสดงพื้นที่ป่าไม้ใช้ในราชการ ปี พ.ศ. 2518

พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็ชอบนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ที่กำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ อย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 แบ่งเป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์ร้อยละ 15 และป่าเพื่อเศรษฐกิจร้อยละ 25

พ.ศ. 2533 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2533 ได้มีมติแก้ไขข้อมูลพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์จากที่กำหนดให้มีร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ แก้เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ โดยต้องมีพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์และป่าเศรษฐกิจรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ

พ.ศ. 2535 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-3539) กำหนดเป้าหมายให้มีพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ให้ได้ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ

พ.ศ. 2537 มีการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลยรวมเข้าไปในการแปลตีความพื้นที่ป่าไม้ด้วย

พ.ศ. 2547 นิยามศัพท์ “เนื้อที่ป่า” หมายถึง เนื้อที่ป่าชนิดต่างๆ ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าสน ป่าชายเลน ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังแคระแกร็น ป่าพรุ ป่าชายเลน และป่าชายหาด เป็นต้น ไม่ว่าจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าโครงการ และพื้นที่ที่ใหญ่กว่า 5 แฮกแตร์ (3.125 ไร่) โดยมีเรือนยอดต้นไม้สูงอย่างน้อย 5 เมตร ปกคลุมมากกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่

พ.ศ. 2558 ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตเป็นหลักในการแปลตีควาพื้นที่ป่า ร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 (บางระวางภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตไม่มีข้อมูลในคลังภาพ และบางระวางมีเมฆมากกว่าร้อยละ 20) โดยใช้เทคนิคการแปลตีความข้อมูลพื้นที่ป่าด้วยสายตา