รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย 2556

รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย 2556

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตชีวภูมิศาสตร์โอเรียนทัล หรืออินโด-มาลายัน (Oriental Region or Indo-Malayan Region) ซึ่งนับเป็นเขตชีวภูมิศาสตร์ที่มีความหลากหลายเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยจะประกอบด้วยเขตพฤกษภูมิศาสตร์ 3 เขต คือ กลุ่มอินโด-เบอร์มิส (Indo-Burmese Elements) กลุ่มอินโด-ไชนิส (Indo-Shinese Elements) และกลุ่มมาเลเซีย (Malaysia Elements) และยังเป็นเขตซ้อนทับกันของเขตสัตวภูมิศาสตร์ 3 เขต คือ เขตชิโน-หิมาลัย (Shino-Himalayan) เขตอินโด-ไชนิส (Indo-Chinese) และเขตซุนดา (Sundiac)

จากการสำรวจป่าไม้ประเทศไทยล่าสุดปี พ.ศ. 2552 พบว่าเนื้อที่ป่าไม้มีอยู่ราว 171,585.65 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 33.44% โดยได้มีการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทั้งสิ้น 411 แห่ง คิดเป็นเนื้อที่ราว 103,809.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 20.19% ของเนื้อที่ประเทศไทย

ด้วยลักษณะที่หลากหลายทางภูมิประเทศและภูมิอากาศ ป่าในประเทศไทยจึงมีหลายชนิด ตั้งแต่ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าเขาหินปูน ป่าชายหาด ไปจนถึงป่าชายเลน ระบบนิเวศที่หลากหลายจึงเอื้อต่อการเป็นบ้านของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์

ด้วยลักษณะของป่าที่มีความหลากหลายในไทย จึงเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าหายากและอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์หลากชนิด เช่น เสือโคร่ง สมเสร็จ กระทิง วัวแดง ควายป่า

อีกทั้งยังเป็นบ้านของนกใกล้สูญพันธุ์เช่น นกเงือกหัวหวอก นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกยูงไทย นกแต้วแล้วยักษ์ และยังเป็นสถานที่รวบรวมความหลากหลายของพันธุ์พืชกว่า 10,000 ชนิด

 

เนื้อหารายงานสถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทย 2556 ประกอบไปด้วย

  • แผนที่แสดงพื้นที่อนรักษ์และภัยคุกคาม
  • ข้อมูลพื้นฐานทรัพยากรป่าไม้ประเทศไทย
  • ข้อมูลพื้นฐานภัยคุกคามทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
  • สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย
  • สถานการณ์ทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทย
  • มูลค่าความเสียหายจากคดีป่าไม้
  • ภาพรวมพื้นที่อนุรักษ์ประเทศไทย

ดาวน์โหลดรายงานสถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทย 2556 ได้ที่นี่ 


จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร