ช่วงที่ผ่านมาโครงการฟื้นฟูประชากรกวางผาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวได้ทำการติดตามกวางผาจากปลอกคอสัญญาณดาวเทียมต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม
จากข้อมูลที่ได้ ทำให้เราทราบว่า “กวางผา”จากการกรงเพาะเลี้ยงที่ถูกปล่อยสู่ป่า สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ในธรรมชาติได้เป็นอย่างดีและยังสามารถแข่งขันยึดครองพื้นที่หากินกับเจ้าถิ่นเดิมได้อย่างชัดเจน
ซึ่งหมายความถึงความแข็งแกร่ง และสัญญาณบวกของการดำรงชีวิต
และแม้จะเกิดการแย่งชิงพื้นที่กันกับกวางผาที่มีอยู่เดิม แต่กวางผาตัวที่แพ้ก็ไม่ได้เป็นอะไรมากนัก เพราะตามปกติ เมื่อกวางผาสองตัวมาชนกันเพื่อแย่งชิงพื้นที่ ตัวที่แพ้จะหนีไปหาพื้นที่เพื่อสร้างอาณาเขตและกลุ่มประชากรขึ้นมาใหม่
นอกจากนี้ จากการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมในทุกๆ 1 ชั่วโมง ทำให้เราทราบด้วยว่า ในหนึ่งวันกวางผาตัวนี้มีพฤติกรรมอย่างไรในถิ่นที่อยู่ ข้อมูลในส่วนนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยมีการเก็บและบันทึกอย่างละเอียดเหมือนคราวนี้มาก่อน (เดิมที มีแต่ข้อมูลพฤติกรรมในกรงเลี้ยง)
อย่างไรก็ตาม เพื่อเติมเต็มเรื่องราวงานศึกษาวิจัยกวางผาให้มีข้อมูลครบถ้วน ตอนนี้ทางทีมวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว ได้ขยายขอบเขตการศึกษาไปสู่กวางผาในธรรมชาติจริงๆ (ที่ไม่ได้เกิดจากกรงเลี้ยง)
โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคมที่ผ่านมา ทางทีมวิจัยจึงได้ดักจับกวางผามาใส่ปลอกคอสัญญาณดาวเทียมเรียบร้อยไปแล้ว 2 ตัว และเตรียมดำเนินการใส่ปลอกคอเพิ่มอีก 2 ตัว และมีเป้าหมายจับกวางผาที่อยู่ลึกเข้าไปใกล้บริเวณยอดดอยหลวงเชียงดาว
หลายคนอาจสงสัยว่า นักวิจัยมีวิธีการอย่างไรในการดักจับเจ้ากวางผาผู้ปราดเปรียว มาติดปลอกคอ วันนี้เราจึงนำภาพการทำงานของทีมสถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาวมาให้ได้ชมกัน
.











.
เรื่องที่นำมาเล่าในหนนี้ เป็นเพียงภารกิจหนึ่งงานวิจัยและฟื้นฟูประชากรกวางผา ยังมีเรื่องราวอีกหลายภาคเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่ ที่จะนำมาเสนอให้ทราบในอนาคต
แต่หากอดใจรอไม่ไหว อ่านสปอยเนื้อเรื่องทั้งหมดได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
ผู้เขียน
ถ่ายภาพเพื่อบันทึกเรื่องราว และบางคราวก็เอาภาพมาเล่าเรื่อง มีความสุขกับการดริปกาแฟ และชื่นชมแคตตัส