หลังจากครบระยะเวลา 1 ปี ของการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมเข้ากับตัวกวางผา เพื่อการติดตามข้อมูลพฤติกรรมในรอบวันของม้าเทวาบนผาสูง เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ปลอกคอก็จะหลุดออกจากกวางผาเอง
ภารกิจการตามหาปลอกคอ จึงเริ่มต้นขึ้น…..
ทางทีมวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาวจะตรวจสอบจากพิกัดสุดท้ายที่รับข้อมูลได้จากสัญญาณดาวเทียม และกำหนดจุดค้นหาคร่าวๆ พร้อมกับส่งทีมเข้าพื้นที่เพื่อใช้ RECEIVER ตรวจจับสัญญาณคลื่นวิทยุ VHF ซึ่งปลอกคอกวางผาแต่ละตัวก็มีค่าคลื่นความถี่แตกต่างกัน
ก่อนเริ่มการค้นหา จึงต้องตั้งค่าความถี่ในเครื่อง RECEIVER ให้ตรงกับค่าความถี่ของปลอกคอที่เราจะตามเข้าไปเก็บ โดยหันเสารับสัญญาณไปในทิศต่างๆ
หากทิศไหนที่เครื่องรับสัญญาณดังถี่ นั่นหมายถึงปลอกคอที่เรากำลังค้นหาอยู่ในทิศทางนั้น (ด้วยสภาพพื้นที่ของเชียงดาวเป็นภูเขาสูงรายล้อม จึงต้องมีการตรวจสอบสัญญาณจากหลายๆ จุด เพื่อความถูกต้องแม่นยำ)
หลังจากประมาณทิศทางได้แน่นอนแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการเทียบพิกัดในแผนที่เพื่อกำหนดพิกัดการค้นหาและระยะทางโดยประมาณ แล้วจึงออกย่ำเท้าไปในตำแหน่งเป้าหมาย
ด้วยที่อยู่อาศัยของกวางผานั้นมีลักษณะเป็นเขาสูงชัน การตามเก็บปลอกคอจึงต้องเดินไปตามเส้นทางที่กวางผาใช้ประโยชน์ ซึ่งการค้นหาปลอกคอทั้งสามอันกลางบ้านของกวางผาไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ต้องปีนป่ายตามหน้าผาและค้นหาในพื้นที่สูงชัน ตลอดจนลงหุบ ห้วย แล้วแต่สัญญาณจะพาไป
ซึ่งวันนี้เราได้นำภาพการทำงาน ในภารกิจ ตามหาปลอกคอ หลังการ drop off ของทีมสถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาวมาให้ได้ชมกัน
…
เรื่องที่นำมาเล่าในหนนี้ เป็นเพียงภารกิจหนึ่งงานวิจัยและฟื้นฟูประชากรกวางผา ยังมีเรื่องราวอีกหลายภาคเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่ ที่จะนำมาเสนอให้ทราบในอนาคต
แต่หากอดใจรอไม่ไหว อ่านสปอยเนื้อเรื่องทั้งหมดได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
ผู้เขียน
ถ่ายภาพเพื่อบันทึกเรื่องราว และบางคราวก็เอาภาพมาเล่าเรื่อง มีความสุขกับการดริปกาแฟ และชื่นชมแคตตัส