‘มูลนิธิสืบฯ’ ประมงพื้นบ้าน และเครือข่ายอนุรักษ์ทางทะเล จัดงานเสวนา ‘สภาปลาเล็ก’ สะท้อนผลกระทบทางนิเวศ หากมีการแก้ไข ‘มาตรา 69’ 

‘มูลนิธิสืบฯ’ ประมงพื้นบ้าน และเครือข่ายอนุรักษ์ทางทะเล จัดงานเสวนา ‘สภาปลาเล็ก’ สะท้อนผลกระทบทางนิเวศ หากมีการแก้ไข ‘มาตรา 69’ 

22 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มูลนืธิสืบนาคะเสถียร ภาคนักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ได้จัดงานเสวนา ‘สภาปลาเล็ก’ ถ้าไม่มา…ก็ไม่มีปลากินแล้ว สะท้อนมุมคิดจากกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ และผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรทางทะเล 

ที่มีต่อการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 69 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. …. ที่หลายฝ่ายได้แสดงความกังวล ในส่วนที่มีการเพิ่มข้อยกเว้นให้สามารถใช้ ‘เครื่องมืออวนล้อมจับ’ ที่มี ‘ช่องตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร’ ทำการประมงในเวลากลางคืน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และพื้นที่ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มีการบอกเล่าที่มา ความสำคัญ และความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย เพื่อแสดงความงดงามและความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลไทย และผลกระทบที่เกิดขึ้น หากกฎหมายอนุญาตให้ใช้ ‘อวนมุ้ง’ ต่อการดักจับสัตว์ทะเล ซึ่งจะทำให้ ‘สัตว์น้ำวัยอ่อน’ หรือ ‘กลุ่มสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป้าหมาย’ ถูกจับไปด้วย โดยการจับสัตว์น้ำด้วยวิธีการดังกล่าวถูกวิจารณ์ ว่าเป็นการทำการประมงที่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ ตัดตอนการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน และทำลายห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศด้วย

มีการแบ่งหัวข้องานเสวนาออกเป็น 3 เวที เริ่มจาก ‘ณ 12 ไมค์ทะเล’ ที่เล่าประสบการผ่านสายตาข่างภาพใต้น้ำ เพื่อพิสูจน์ให้สังคมได้รับรู้ว่าท้องทะเลไทยไม่ได้มีแค่ ‘ปลากระตัก’ และมีสัตว์น้ำวัยอ่อนและสัตว์น้ำหายากหลายชนิด ที่จะได้รับผลกระทบจากการแก้ไขมาตรา 69

เวที ‘ของฝากจากทะเล’ ที่อธิบายภาพความอุดมสมบูรณ์ของทะเลไทย ผ่านมุมมองของบุคคลจากหลายหลายอาชีพ อาทิ เชฟ นักดำน้ำ และนักตกปลา เพื่อยืนยันความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล รวมถึงการแสดงเชิงสัญลักษณ์ จากเยาวชนกลุ่มประมงพื้นบ้านในชุด ‘เสียงร่ำร้องจากท้องทะเล ปลาหนูหายไปไหน’ ที่สะท้อนมุมมองผ่านเรื่องราวของ ‘เด็ก’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘สัตว์น้ำวัยอ่อน’ ถูก ‘อวนมุ้ง’ ดักจับ

และ ‘ทางรอด หรือ ทางร่วง ทะเลไทย ? ‘ เวทีเสวนาวิชาการ ที่นำเรื่องราวข้อเท็จจริง จากการปลายปากกาของ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์  และเครือข่ายชาวประมง ต่อมุมมองที่มีต่อกรณีการแก้ไข มาตรา 69 และกฎหมายประมงใหม่ ที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเล และความมั่นคงทางด้านอาชีพชาวประมงของชาวบ้านด้วย

สิ่งที่ต้องจับตามอง ต่อจากนี้ คือการพิจารณารายงานการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ที่คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมวุฒิสภาในวาระ 2 และ 3 ในวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ต่อไป