การศึกษาและวิจัยเสือขนาดเล็กทั้งในธรรมชาติและการฟื้นฟูประชากรในสภาพการเพาะเลี้ยง 

การศึกษาและวิจัยเสือขนาดเล็กทั้งในธรรมชาติและการฟื้นฟูประชากรในสภาพการเพาะเลี้ยง 

โดย สพ.ญ.ดร.อัมพิกา ทองภักดี สถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

“สวนสัตว์ไม่ใช่เป็นแค่แหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีเป้าหมายคือเพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมสำรองของสัตว์ป่าในประเทศและของโลก เพื่อฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ” 

อย่างในกรณีของสัตว์ป่าที่หมดไปแล้วจากป่าบ้านเรา เช่น นกกระเรียนพันธุ์ไทย ละอง/ละมั่ง องค์การสวนสัตว์ฯ ได้ทำโครงการการปล่อยสัตว์คืนสู่ธรรมชาติ หรือ Reintroduction และการสับเปลี่ยนโครโมโซม (Translocation) ในนกกระสาคอขาว ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง หลังจากมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ นกกระสาคอขาวได้ออกไข่ในธรรมชาติ จำนวน 4 ฟอง นับเป็นข่าวการทำรังวางไข่ในธรรมชาติของประเทศไทยและในรอบมากกว่า 40 ปี ซึ่งทางองค์การสวนสัตว์ฯ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการอนุรักษ์ประชากรสัตว์ป่า นอกจากเครื่องการจัดการสัตว์ป่าแล้ว การขยายพันธุ์นอกถิ่นอาศัย จะช่วยเติมเต็มประชาสัตว์ป่าให้มีความยั่งยืนและดำรงอยู่ได้ แต่ต้องมีกลไกมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน NGO ต่าง ๆ จับมือร่วมกัน

การจัดการประชากรและการดูแลสัตว์ในพื้นที่นอกถิ่นอาศัย

การทำงานการขยายพันธุ์สัตว์ป่านอกถิ่นอาศัยเป็นเรื่องท้าทายเพราะมีข้อจำกัดหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการที่สัตว์ป่าไม่สามารถที่ขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติหรือจำนวนประชากรที่น้อย ซึ่งมีผลกระทบต่อความยั่งยืนของประชากรในอนาคตอย่างแน่นอน เช่น ภาวะเลือดชิด (Inbreeding) ถ้าพันธุกรรมมีการถ่ายทอดโรค หรืออะไรต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดผลเสียในอนาคต

และสิ่งที่ต้องคำนึงว่าจะต้องขยายพันธุ์สัตว์ป่ามากน้อยขนาดไหนคือ (1) วัตถุประสงค์เพื่ออะไร เช่น เพื่อให้ความรู้ เพื่องานวิจัย หรือเพื่อจะนำคืนสู่ธรรมชาติ (2) พันธุกรรม และ (3) การดูแลสวัสดิภาพสัตว์ป่า ซึ่งต้องมีองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม โภชนาการ และสุขภาพ จะต้องส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี ทำให้สัตว์ป่ามีจิตใจและมีชีวิตที่ดี รวมถึงการขยายพันธุ์ได้ในอนาคต จากงานศึกษาวิจัยในสวนสัตว์ก็เจอเรื่องที่น่าเป็นกังวลคือ น้ำเชื้อ ของเสือไฟ และเสือลายเมฆ 

ในกลุ่มของสัตว์ตระกูลแมวป่า เช่น Black-footed cat แมวเล็กที่มีขนาดเล็กที่สุด ก็เจอปัญหาในเรื่องของ inbreeding ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อโรคที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างโรคอะไมลอยด์โดสิส (Amyloidosis) ถือว่าเป็นฆาตกรตัวร้ายที่มองไม่เห็น พบได้ประมาณ 1 ในแสนคนเท่านั้น ซึ่งโรคนี้ทำให้ Black-footed cat ในสวนสัตว์กว่า 70% ตาย อะไมลอยด์โดสิสเป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมแย่ ๆ โดยโปรตีนที่มันสร้างขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นจากตับหรือสมอง จะสร้างโปรตีนไปยึดเกาะกับอวัยวะต่าง ๆ ทำให้ฟังก์ชันของ หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ มันผิดปกติไป แล้วก็ตายลงในที่สุด

นอกจากนี้ สวัสดิภาพสัตว์ป่าก็ควรจะต้องมีการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ในธรรมชาติสัตว์ป่าอยู่อย่างไร ในสวนสัตว์ก็ต้องจำลองให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด อย่างเสือปลาเป็นสัตว์ผู้ล่าในพื้นที่ชุ่มน้ำ ต้องจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เสือลายเมฆใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ (Arboreal) ก็ต้องมีการจัดคอนให้เหมาะสม ทำให้สัตว์ป่ามีความสุข ให้สัตว์ป่าแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ อีกทั้งการให้อาหารก็ต้องดูว่าเป็นไปตามหลักหรือไม่ หรือควรต้องเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุอะไร และการให้วัคซีนหรือตรวจสุขภาพก็จะต้องคำนึงให้สัตว์ป่าไม่เครียดและไม่ต้องวางยาสลบ

การฟื้นฟูประชากรในสภาพการเพาะเลี้ยง

ก่อนหน้านี้ องค์การสวนสัตว์ฯ เคยทำงานร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศึกษาเสือปลาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด โดยดูแลสุขภาพและตรวจความสมบูรณ์ของพันธุกรรม นอกจากนี้ยังให้ความรู้กับประชาชนด้วยในพื้นที่รอบ ๆ หลังจากนั้นได้ศึกษาพันธุกรรมของเสือปลาในสวนสัตว์และเสือป่าในธรรมชาติ พบว่ามาแม่เสือปลา 2 สายเท่านั้น ในอนาคตหากไม่มีการจัดการที่ดี เสือปลาอาจจะสูญพันธุ์จากธรรมชาติในเร็ววัน ซึ่งตอนนี้เรามีข้อมูลในการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมของเสือปลาแล้ว ก็ต้องมาวางแผนกันต่อว่าจะทำยังไงให้ชะลอการเลือดชิดมากที่สุด

ส่วน “โรคในสัตว์ป่า” ก็สำคัญมาก ๆ เช่นกัน งานวิจัยทั้งในสวนสัตว์และในธรรมชาติพบว่า มีโรคไวรัสบางตัวเช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โรคจากสัตว์สู่คน เช่น โรคฉี่หนู (Leptospirosis) และโรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) อย่างเสือปลาที่เขาสามร้อยยอดอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชน เพราะฉะนั้นงั้นก็อาจจะเกิดจากการถ่ายทอดโรคระหว่างสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และคนได้เช่นกัน

จุดตั้งกล้องถ่ายภาพสัตว์ป่าพบเสือปลา เหี้ย วัวเลี้ยง หมาบ้าน แมวบ้าน ชะมด/อีเห็น และคน

นอกจากนี้ ยังมีการเก็บน้ำเชื้อของเสือปลาตัวผู้ในธรรมชาติมาแช่แข็ง เพราะเมื่อต้องการที่จะขยายพันธุ์ ก็สามารถที่จะนำเอาเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ได้

“ฮอร์โมน” ศึกษาการเป็นสัตว์ของตัวเมียใช้เวลาเท่าไหร่ ระดับฮอร์โมนเป็นอย่างไร ซึ่งการผสมเทียมในเสือลายเมฆประสบความสำเร็จมาแล้ว และมีการพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ จะถูกเอามาใช้ในการยกระดับพันธุกรรม และจากงานวิจัยฮอร์โมนในเสือลายเมฆ AMH Anti-Müllerian hormoneบ่งบอกถึงความสมบูรณ์พันธุ์ของเพศเมียได้ มีการพัฒนานวัตกรรมนำ Stem cell ไปเลี้ยงเซลล์ให้เจริญอยู่ในห้องปฏิบัติการเพื่อให้เปลี่ยนแปลงเป็น Fibroblast cell เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาหรือการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ 

แมวป่าหัวแบนเป็นอีกหนึ่งชนิดที่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ สามารถเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นมาเป็นหลาย 10 ตัว แต่ปัจจุบันความยั่งยืนก็คือความไม่ยั่งยืน เนื่องจากต้นพันธุ์มีอยู่อย่างจำกัด ตอนนี้เหลือเพียง 4 ตัว พอดูอายุแล้ว เข้าสู่ช่วงแมวป่าหัวแบนวัยชราทั้งนั้น ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการอนุรักษ์สัตว์ป่า เพราะถ้าเราไม่มีต้นพันธุ์ใหม่ ๆ ไม่มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมใหม่ ๆ หรือการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมในการจับคู่ผสมพันธุ์ เราก็จะเหลือทางเลือกในการอยู่รอดของสัตว์ป่าไม่กี่ทาง

“สุดท้าย การเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity building) และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (Collaboration) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ถ้าทุกคน เราร่วมมือกัน วันนี้ประชากรเสือขนาดเล็กของเรามันแย่ เราจะมาวางแผนร่วมกันอย่างไร ทำให้ประชากรของเรามัน available จริง ๆ มันยั่งยืนจริง ๆ ก็คงจะต้องให้ทุกคนร่วมกัน”

สรุปจากเวทีเสวนาวิชาการ Save our home สถานะเสือขนาดเล็กในประเทศไทยและการอนุรักษ์ วันที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 -16.00 น. ณ ห้องประชุม Fortrop ชั้น 3 อาคารวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์