หลักการหินก้าว (Stepping Stones) การเชื่อมทางเดินของสัตว์ป่าที่ขาดจากกันให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

หลักการหินก้าว (Stepping Stones) การเชื่อมทางเดินของสัตว์ป่าที่ขาดจากกันให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่มาในรูปแบบของการพัฒนา การเกษตร ตลอดจนการกระจายตัวของที่อยู่อาศัย ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 

ในขณะที่กิจกรรมของมนุษย์รุกล้ำภูมิทัศน์ทางธรรมชาติมากขึ้น แหล่งที่อยู่อาศัยที่ครั้งหนึ่งเคยต่อเนื่องกันก็ถูกแบ่งออกเป็นหย่อมๆเป็นเกาะแก่ง ซึ่งจำกัดความสามารถของสายพันธุ์ในการหาอาหาร ผสมพันธุ์ และการอพยพย้ายถิ่น 

เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายนี้ นักอนุรักษ์ได้พัฒนากลยุทธ์ต่างๆ เพื่อลดผลกระทบของการกระจายตัวของแหล่งที่อยู่อาศัย ‘กลยุทธ์หินก้าว’ ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่คุ้มค่าในเรื่องของประสิทธิภาพและการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าวิธีการอื่น สำหรับนำมาใช้เชื่อมโยงแหล่งที่อยู่อาศัยที่กระจัดกระจายให้กลับมาต่อเนื่องอีกครั้ง และสนับสนุนการอยู่รอดและการเคลื่อนย้ายของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 

หลักการหินก้าว (Stepping Stones) คือการสร้างหย่อมป่าพื้นที่อาศัยเล็กๆ ที่จัดวางอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือจุดเชื่อมโยงระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่ขาดการเชื่อมต่อในลักษณะเกาะแก่ง วัตถุประสงค์หลักของวิธีการนี้ คือเพื่อให้เป็นทางที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์ป่า ช่วยให้พวกมันสามารถเคลื่อนที่ข้ามภูมิประเทศที่กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

การฟื้นฟูป่าแบบหินก้าวนั้นจะมีการปลูกพืชจำนวนมากในบริเวณหนึ่ง เปรียบเสมือนการวางก้อนหินบนทางเดินในสวนโดยเป็นจุดๆ ต่อเนื่องกันไปซึ่งความหนาแน่นของพืชต่อตารางเมตรนั้นจะอยู่ที่ 1-5 ต้น เอื้ออำนวยให้สัตว์ต่างๆ สามารถเดินไปมาหรือใช้ประโยชน์ระหว่างพื้นที่ที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยไม่ต้องข้ามผ่านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสัตว์สายพันธุ์ขนาดเล็กหรือสัตว์ที่ความสามารถในการเดินทางระยะไกลได้น้อยโดยไม่มีพื้นที่พักผ่อนหรือที่หลบภัยที่เหมาะสม 

อีกทั้งวิธีการนี้ยังช่วยให้การแลกเปลี่ยนทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันการเกิดเลือดชิด ส่งเสริมความหลากหลายทางพันธุกรรมมีส่วนช่วยในการฟื้นตัวและความสามารถในการปรับตัวของสายพันธุ์ ระหว่างประชากรสัตว์ที่เคยแยกจากกันจากความไม่ต่อเนื่องของกลุ่มป่า 

การนำไปปฏิบัติในการปลูกป่า 

กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการระบุพื้นที่สำคัญภายในภูมิประเทศที่กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่อง การคัดเลือกจะขึ้นอยู่กับความต้องการของชนิดพันธุ์เป้าหมายและประเภทของพืชพรรณที่เป็นประโยชน์มากที่สุด และเป้าหมายทางนิเวศโดยรวมของภูมิภาค เช่น การสร้างพื้นที่หย่อมป่าให้ ลิงจมูกเชิด (Rhinopithecus bieti) ในมณฑลยูนนานของจีน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางพันธุกรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับทางเดินแบบดั้งเดิมอาทิ แนวป่า (strips of forest) , ทางลอด (underpasses) วิธีการหินก้าวมีราคาถูกกว่าและเกิดการใช้งานจริงมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภูเขาที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจจำกัด  

ข้อได้เปรียบที่สำคัญประการหนึ่งของกลยุทธ์หินก้าว คือความคุ้มทุนเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการอนุรักษ์อื่นๆ การสร้างพื้นที่ที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่และต่อเนื่องกันอาจเป็นเรื่องท้าทายทั้งทางการเงินและลอจิสติกส์ โดยมักต้องมีการจัดหาและการจัดการที่ดินอย่างกว้างขวาง ในทางตรงกันข้ามวิธีการนี้สามารถวางอย่างมีกลยุทธ์ในพื้นที่เป้าหมายขนาดเล็ก ซึ่งช่วยลดต้นทุนโดยรวมในขณะที่ยังคงปรับปรุงการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ โครงการเหล่านี้มักจะสามารถใช้ประโยชน์จากลักษณะทางธรรมชาติที่มีอยู่หรือบูรณาการเข้ากับภูมิทัศน์ทางการเกษตรและเมือง เพื่อลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 

โดยทั่วไปแล้วพันธุ์พื้นเมืองจะถูกเลือกสำหรับการปลูกในพื้นที่เหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเข้ากันได้กับระบบนิเวศนั้นอีกทั้งสามารถเลือกพันธุ์พืชได้ตามความต้องการเพื่อรองรับสัตว์ป่าบางชนิด เช่น แมลงผสมเกสร นก หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสัตว์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและการกระจายพันธุ์ของพืช โดยวิธีการนี้ต้องมีการวางแผนเพื่อให้ตรงกับช่วงเวลาการแพร่กระจายของชนิดพันธุ์เป้าหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์และพืชสามารถเคลื่อนที่ไปมาระหว่างแหล่งอาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

นอกเหนือจากความหลากหลายทางชีวภาพ จุดเชื่อมต่อเหล่านี้มีส่วนช่วยในวัฎจักรของระบบนิเวศที่ป่าไม้มอบให้ เช่น การกักเก็บคาร์บอน การควบคุมน้ำ และการรักษาเสถียรภาพของดิน ความสามารถในการฟื้นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

ตัวอย่างการใช้วิธีการฟื้นฟูป่าแบบหินก้าวนั้นได้เกิดขึ้นในโครงการขนาดใหญ่ระดับภูมิภาคเช่น โครงการ Mesoamerican Biological Corridor (MBC) ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการกระจายตัวของแหล่งที่อยู่อาศัยในอเมริกากลาง ซึ่งคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาค ทางเดินครอบคลุมหลายประเทศ รวมถึงกัวเตมาลา เบลีซ ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา ครอบคลุมระบบนิเวศที่หลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนไปจนถึงพื้นที่ภูเขา ได้ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จในการเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยที่กระจัดกระจาย โดยเห็นได้จากการเคลื่อนที่ของสายพันธุ์หลักข้ามทางเดิน อีกทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์หลายชนิด ซึ่งบางชนิดมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หรือมีแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญภายในจุดเชื่อม 

หรือกรณีตัวอย่างในประเทศไทย กลยุทธ์หินก้าวนี้ได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่ที่ถูกตัดขาดไประหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียงและอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ซึ่งผืนป่าอนุรักษ์ของทั้งสองแห่งถูกตัดขาดจากกันด้วยโครงการพัฒนาและการเข้ามาใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรกรรมของมนุษย์ 

โดยปัจจุบัน ช่องว่างระหว่างป่าในที่ดินทำการเกษตรเหล่านั้น มูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศผ่านการปลูกไผ่แซมตามหลักการหินก้าว ผ่านโครงการจัดการระบบนิเวศในพื้นที่ป่าสงวนเพื่อแนวเชื่อมป่าตะวันตกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 

เหตุที่สนับสนุนการปลูกไผ่ เนื่องจากไผ่เป็นพืชโตไว (เห็นผลเร็ว) เป็นพืชที่สัตว์ป่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งชุมชนยังสามารถตัดนำมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย จากการเก็บหาหน่อไม้ แปรรูป ภายใต้กฎกติกาที่วางไว้ ในกรณีนี้จึงเป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าพร้อมๆ กับพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนไปด้วยกันอย่างยั่งยืนไปในคราวเดียวกัน

กลยุทธ์หินก้าว เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงพลังของความพยายามในการอนุรักษ์ที่ตรงเป้าหมายและคุ้มค่า ด้วยการฝังหลักการเหล่านี้ไว้ในโครงสร้างของการจัดการภูมิทัศน์ เราจึงสามารถรับประกันได้ว่าโลกธรรมชาติที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับคนรุ่นอนาคต แม้แต่แหล่งที่อยู่อาศัยขนาดเล็กก็สามารถส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกได้ ขณะที่เรายังคงนำทางความท้าทายของยุคแอนโทรโปซีน โดยมีความจำเป็นในการรักษามรดกทางธรรมชาติที่ไม่สามารถทดแทนได้บนโลกของเรา 

หมายเหตุ โครงการจัดการระบบนิเวศในพื้นที่ป่าสงวนเพื่อแนวเชื่อมป่าตะวันตกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดเป็นโครงการระยะยาว ในปัจจุบันการดำเนินงานเพิ่งก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ซึ่งในช่วงเวลานี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลร่องรอยการเข้าใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่าในพื้นที่ฟื้นฟูตามหลักหินก้าว รายละเอียดรูปธรรมของโครงการจะนำเสนอในโอกาสต่อไป

อ้างอิง 

ผู้เขียน

+ posts

ชายหนุ่มผู้หลงไหลในกาแฟไม่ใส่น้ำตาล รักการเดินทางไปกับสินค้าของแบรนด์ Patagonia