งานรำลึก 34 ปี สืบ นาคะเสถียร ในปีนี้มีกำหนดจัดกิจกรรม 2 วัน คือ วันเสาร์ที่ 14 และอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 ที่ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
แม้ปรับลดจากเดิมที่จัดกัน 3 วัน แต่เนื้อหาสาระในงานยังคงอัดแน่นด้วยงานด้านสิ่งแวดล้อมเหมือนเช่นเคย
ในปีนี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เตรียมหัวข้ออะไรไว้บ้าง ติดตามรายละเอียดได้ ณ ที่นี้
เริ่มต้นในวันที่ 14 กันยายน 2567 มีเวทีเสวนาหลัก 2 ข้อ ประกอบด้วยเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่วิจัยไทบ้าน และเสวนา EIA ตรายาง ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ?
ทั้งสองเรื่องนี้ มีจุดเริ่มต้นจากสถานการณ์ที่พบว่า การจัดทำรายงานและกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐในโครงการพัฒนาต่างๆ นำมาซึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกับชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งรายงานหลายๆ ฉบับมีความไม่ตรงไปตรงมา บิดเบือนข้อเท็จจริงในพื้นที่ หรือเมื่อสืบหาข้อเท็จจริง กลับพบชุดข้อมูลที่แตกต่างไปจากรายงานที่ออกมาอยู่บ่อยครั้ง
เวทีเสวนาทั้งสองหัวข้อนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ของการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ความผิดพลาดของรายงานหลายๆ ฉบับอยู่ตรงไหน แนวทางแก้ไขเป็นอย่างไร และวิธีการใช้เครื่องมือชุมชนอย่าง ‘วิจัยไทบ้าน’ ที่พัฒนาขึ้นเป็นหลักฐานทางวิชาการเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในพื้นที่ว่ามีความแตกต่างจากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของภาครัฐเป็นอย่างไร
กำหนดการเสวนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่วิจัยไทบ้าน เครื่องมือต่อสู้โครงการพัฒนาของรัฐ วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 14.40 – 15.40 น. ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย
- ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะทำงานวิจัยไทบ้าน โครงการอ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ
- คุณกมลลักษณ์ สุขพลี กลุ่มรักษ์เขาใหญ่ ผู้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน กรณี 7 เขื่อนดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และเป็นหนึ่งในนักวิจัยไทบ้าน
- คุณศุภวรรณ ชนะสงคราม ผู้จัดการอาหารปันรัก ผู้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน กรณีชาวบ้านประมงในพื้นที่อำเภอจะนะ
- คุณมัยมูเนาะ ชัยบุตรดี ประธานเครือข่ายนักรบผ้าถุงจะนะ กลุ่มชาวบ้าน หมู่บ้านปากบางและบ้านบ่อโชน ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ที่รวมกลุ่มกันเพื่อคัดค้านการสร้างโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ และเป็นหนึ่งในนักวิจัยไทบ้าน
กำหนดการ เสวนา EIA ตรายางทำลายทรัพยากรธรรมชาติ? วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 16.00 – 17.30 น. ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย
- คุณสุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธิสิ่งแวดล้อม Enlaw
- ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Siamensis
- ผศ.ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
- ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผอ.สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม
สำหรับวันที่ 15 กันยายน 2567 เนื้อหาว่าด้วยเรื่องสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่น่ากังวล ประกอบด้วย ปัญหาการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ที่คราวนี้ได้ยกตัวอย่างเรื่องการสูญพันธุ์ของ ‘พญาแร้ง’ มาใช้เป็นบทเรียนนำเสนอ เพราะถึงแม้ปัจจุบันจะมีโครงการฟื้นฟูจำนวนประชากรอยู่ แต่ขั้นตอนการทำงานนั้นไม่ง่าย อีกทั้งยังมีต้นทุนสูง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่ต้องก้าวผ่าน แล้วเราจะก้าวไปถึงวันที่พญาแร้งได้โผบินเหนือผืนป่าประเทศไทยอีกครั้งได้อย่างไร
ประเด็นต่อมา เป็นหัวข้อ วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ตอนนี้เราได้ก้าวเข้าสู่ ‘ยุคโลกเดือด’ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเมื่อมาถึงจุดดังกล่าว เราควรทำอย่างไรต่อไป อะไรคือแนวทางในการปรับตัวและรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประเทศไทยกำลังดำเนินการด้านใดเพื่อแก้ไขปัญหานี้บ้าง และสุดท้ายขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกเราอยู่ที่ตรงไหน
ในประเด็นเรื่องโลกร้อน ยังมีหัวข้อย่อยที่เล่าถึงผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศหญ้าทะเลของไทย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่หลายเดือนติดต่อกัน จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนถึงตัวเราอย่างไรบ้าง
ถัดมาเป็นเรื่องการค้าสัตว์ป่า หนึ่งในภัยคุกคามสำคัญและมีผลกระทบโดยตรงต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งจะชวนคุยในเรื่อง แผนการควบคุมการค้าสัตว์ป่า มาตรการควบคุมนำเข้าสัตว์ป่า ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
และปิดท้ายด้วยเรื่องราวเชิงบวกกับเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าและสัตว์ป่าในห้วยขาแข้ง จากเรื่องเล่าของช่างภาพสัตว์ป่า
กำหนดการ เสวนา Top Secret เรื่องเล่าพญาแร้ง วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 13.00 – 14.10 น. ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย
- คุณชัยอนันต์ โภคสวัสดิ์ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการพญาแร้ง
- คุณชฎาภรณ์ ศรีใส เจ้าหน้าที่สื่อสารโครงการพญาแร้งคืนถิ่น
กำหนดการ เสวนา No Return อุณหภูมิโลกไม่ลด วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 14.30 – 15.30 น. ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย
- ดร.เพชร มโนปวิตร เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว และผู้ร่วมก่อตั้ง ReReef
- คุณศิวัช แก้วเจริญ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก
กำหนดการ ทอล์ค ทะเลือด หญ้าทะเลตาย ระบบนิเวศพัง วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 15.50 – 16.30 น.
- อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง นักวิจัยด้านทะเลและอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กำหนดการ ทอล์ค วายร้าย Wildlife (จตุจักร Hub) วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 16.45 – 17.15 น.
- คุณพลวีร์ บูชาเกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวกรองอาชญากรรมสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กำหนดการ ทอล์ค ภาพถ่ายสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 17.15 – 17.45 น.
- คุณณรงค์ สุวรรณรงค์ ช่างภาพสัตว์ป่า
นอกจากหัวข้อหลักที่กล่าวไป ในงานยังมีเนื้อหาอื่นๆ นำเสนอ อาทิ การจัดฉายภาพยนตร์ การแนะนำยุทธศาสตร์ใหม่ขององค์กร การแสดงดนตรี รวมถึงรายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทยและสิ่งแวดล้อมที่กล่าวไปในตอนก่อนหน้า และนิทรรศการว่าด้วยเรื่องราวการเดินทางผ่านพิกัด
พบกัน 14 – 15 กันยายน ที่ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เข้าชมพรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย