มาตรการแก้ปัญหา หรือเสียป่าอีกครั้ง (part 1)

มาตรการแก้ปัญหา หรือเสียป่าอีกครั้ง (part 1)

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 2 /2561 และได้มีการแถลงผลมติที่ประชุมในประเด็นสำคัญคือ การเห็นชอบพื้นที่เป้าหมาย และร่างกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท) ในส่วนที่ไม่ได้นำมาดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลทั้งในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์

ซึ่งจากมติดังกล่าว มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่าหากปฏิบัติได้จริงในร่างกรอบมาตรการดังกล่าว จะทำให้เกิดกระบวนการในการแก้ไขปัญหาที่ดินในป่าที่ชัดเจนและยั่งยืน เนื่องจากปัญหาที่ดินทำกินที่ทับซ้อนในเขตป่า มีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานอนุรักษ์มาอย่างยาวนานและอาจจะเป็นการเสียพื้นที่ป่าครั้งสุดท้าย แต่ก็มีอีกหลายเสียงที่เห็นต่างและมองว่าหากไม่สามารถปฏิบัติได้จริง กระบวนการแก้ไขปัญหาตามร่างกรอบและมาตรการดังกล่าวไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ขาดความต่อเนื่อง ไม่มีรูปแบบในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและทันท่วงทีต่อสถานการณ์ จะกลับเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าแบบในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาเดิม และอาจทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นปัญหาซ้ำรอยเดิมไม่รู้จบ

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ในเวทีเสวนามาตรการแก้ปัญหาหรือเสียป่าอีกครั้งที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI) ได้อธิบายถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาป่าและความขัดแย้งเรื่องที่ดินในป่าของประเทศไทย โดยมีกติกาที่เป็นธรรมพอจะยอมรับร่วมกันได้ระหว่างภาครัฐและชุมชน คือ ให้คนอยู่ร่วมกับป่า เพื่อตอบทุกโจทย์ของปัญหาป่าไม้ในประเทศไทย โดยมีสถานการณ์ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการบริหารจัดการที่ดินป่าไม้ทั้งระบบ ดังนี้

ปัญหาด้านที่ดิน มีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านการจัดการที่ดิน ซึ่งจัดทำข้อเสนอโดยคณะทำงานภายใต้ คปก.เร่งด่วน, จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติตามพ... คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณาร่างกฎหมายเสร็จแล้ว โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้รับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมตาม ม.77 ก่อนนำเสนอรัฐมนตรี, ปรับร่างกฎหมายตามประเด็นข้อเสนอของกระทรวงการคลังในการจัดตั้งธนาคารที่ดิน,  ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คณะกรรมาธิการได้ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาวาระ 2 เสร็จแล้ว เตรียมนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และแผนบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศผ่านความเห็นชอบแล้วคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม

 

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

 

ปัญหาความขัดแย้งที่ดินในพื้นที่ มีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของ พ...อุทยานแห่งชาติ 2504 ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาวาระที่ 2, ...สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของกรรมการกฤษฎีกาวาระที่ 1, ร่าง พ...ป่าชุมชน และร่าง พ...สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มีการปรับปรุงมติ ครม. 30 มิ..2541 และมติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงมติครม. ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำด้วย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าอนุรักษ์ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติแล้ว เพื่อให้คนสามารถที่จะอยู่ร่วมกับป่าตามกรอบกติกาที่เป็นธรรมและได้ฟื้นฟูป่าไม้

ปัญหาด้านป่าไม้ มีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายโดยจัดทำประมวลกฎหมายป่าไม้ไทย กำลังยกร่างโดย คกป.เร่งด่วน มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ส่งเสริมและเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจโดยการรับฟังความเห็นจากประชาชนแล้วนำไปปรับปรุงพ...ป่าไม้ (. 7 และมาตราอื่นๆ), ปรับปรุง พ...สวนป่า โดยการจัดทำกฎกระทรวง 3 ฉบับ และได้ประกาศใช้แล้ว อีกทั้งยังมีเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ คือพันธบัตรป่าไม้ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้นกว่า 40% หยุดยั้งการบุกรุกป่า ฟื้นฟูป่า และเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ

ต่อข้อคิดเห็นต่อร่างกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท) ในมิติของภาคประชาชน คุณเดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) มีการเสนอแนะถึงมาตรการว่าควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับพื้นที่ เพราะแต่ละพื้นที่มีระบบนิเวศ การดำรงอยู่แตกต่างกันออกไป รวมถึงควรให้ชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งในการออกความคิดเห็นในการจัดทำแผนงานต่างๆ และให้องค์กรอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่เพียงแค่กรมอุทยานฯ เพียงหน่วยงานเดียว

 

คุณเดโช ไชยทัพ

 

เนื่องจากมาตรการเดิมของภาครัฐไม่สามารถรองรับถึงปัญหา จึงทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการใดๆ ได้ รวมทั้งการจัดตั้งทำงบประมาณก็ทำได้ยาก

และยังมีเรื่องการจำกัดสิทธิ์ต่อชาวบ้าน เช่น ต่อน้ำไม่ได้ ทำการอนามัยไม่ได้ สร้างโรงเรียนก็ไม่ได้ หน่วยงานอื่นจะเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนก็ไม่สามารถทำได้ นี่จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเสี่ยงที่จะบุกรุกพื้นที่ป่าเข้าไปปลูกพืชที่อายุสั้น

ดังนั้น มาตรการที่ออกมามันจึงท้าทาย ว่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้หรือไม่ สามารถลดความเหลื่อมล้ำ แก้ไขปัญหาความยากจน และสามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวบ้านมีอาชีพที่มั่นคงและยุติการบุกรุกพื้นที่ป่า

เช่นเดียว คุณประทีป มีคติธรรม เลขานุการกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (นางเตือนใจ ดีเทศน์) ได้เสนอแนะถึงมาตรการนี้ว่าจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยกันทั้งหมด อยู่ 3 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ สถานการณ์และความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ เพราะในปัจจุบันมีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของรัฐ จำนวนกว่า 750,000 ราย (ครอบครัว)

ปัญหาสำคัญของความไม่มั่นคงในเรื่องของการจัดการที่ดินนี่ก็ยังคงเป็นปัญหาหลักอยู่โดยหากมองให้ลึกลงไปอีกเราจะพบว่าความไม่มั่นคงของที่ดินนั้นส่งผลกระทบต่างๆ เช่นการไม่กล้าลงทุนหรือใช้ประโยชน์จากที่ดินเนื่องจากกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีและถ้าหากว่าทำการปลูกต้นไม้ไปก็กลัวว่าต้นไม้เหล่านั้นจะกลายเป็นของรัฐเนื่องจากมีตัวกฎหมายที่ควบรวมระหว่างต้นไม้กับป่าคือเป็นส่วนเดียวกัน

 

คุณประทีป มีคติธรรม

 

ในส่วนของประเด็นที่สอง ร่างมาตรการฯ ของ คทช. จะแก้ไขปัญหาได้ยั่งยืนหรือไม่ เป็นการกล่าวถึง ทฤษฏีแนวคิดของ Hardin (1968/2511) มีอิทธิพลต่อระบบกรรมสิทธิ์ในการจัดการจัดการทรัพยากรซึ่งมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการผลิตและความยั่งยืนของทรัพยากร

Hardin เสนอทางออกของปัญหานี้ 2 ทาง ได้แก่ (1) ให้ทรัพยากรนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ เพื่อให้รัฐมีบทบาทเป็นแรงบังคับจากภายนอกให้ปัจเจกชนเลือกทางเลือกที่ถูกต้องและลงโทษหากทำผิดกติกา (2) ให้ทรัพยากรนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน โดยการมอบสิทธิให้แก่เอกชนหนึ่ง (บุคคลหรือบริษัทเอกชน) ให้ทำการใช้ประโยชน์และดูแลรักษา โดยเชื่อว่าเมื่อทรัพยากรกลายเป็นสินค้าของเอกชนแล้ว เอกชนจะมีแรงจูงใจในการดูแลรักษาระบบทรัพยากรนั้นให้อยู่ในสภาพดี

โดยมองว่าถ้านำทฤษฏีนี้มาใช้ในการจัดการก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและแบ่งแยกพื้นที่ต่างๆได้อย่างชัดเจนทั้งรัฐและชาวบ้านก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่นั้นได้อย่างถูกต้องและลดการเหลื่อมล้ำลงได้

ประเด็นที่สามเป็นการบอกว่าการมีที่ดินเพียงอย่างเดียวไม่ได้หมายความความจะรักษาที่ดินไว้ได้

ซึ่งหมายถึงว่า มาตรการฯ ของ คทช. เน้นหนักไปที่การจัดที่ดินให้แก่ผู้ถือครองที่ดินรายเดิม (คนที่ไม่มีที่ดินก็ไม่มีต่อไป) และการให้น้ำหนักความสำคัญกับการสร้างมูลค่าจากที่ดินน้อยเกินไป จะเป็นการทำให้ที่ดินถูกเก็บภาษีที่แพง (ผู้มีโฉนดถือครอง แต่ที่ดินผิดกฎหมาย) และการจะนำที่ดินผืนนั้นมาใช้ก็ยากลำบากเพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม

ดังนั้น หากรัฐให้ความสำคัญกับมูลค่าที่ดิน มอบสวัสดิการส่งเสริมการร่วมกลุ่มหรือความเป็นสถาบันชุมชนให้เข้มแข็ง เช่น ในรูปแบบของสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน สถาบันการชุมชน สถาบันเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้ชุมชนในพื้นที่ดูแลรักษาผืนป่ามากขึ้น เนื่องจากมันมีมูลค่าที่สมควรจะรักษา

 

คลิ๊กที่ภาพเพื่ออ่านแถลงการณ์ โดย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

 

 


บทความ เรียบเรียง ปทิตตา สรสิทธิ์ ณัฐสุมญชุ์ โภชะ นักศึกษาฝึกงาน
เรียบเรียงจาก เสวนา  มาตรการแก้ปัญหา หรือเสียป่าอีกครั้ง