ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 320 ล้านไร่ จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ได้กำหนดเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ หรือ 128 ล้านไร่ โดยจำแนกเป็นป่าอนุรักษ์ ร้อยละ 25 และ ป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ 15 ของประเทศ
โดยปัจจุบันพื้นที่ป่าอนุรักษ์ดำเนินงานจนเกือบบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นกลไกต่อไป คือ การดูแลรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์เอาไว้ โดยพื้นที่สำคัญ คือ พื้นที่ Buffer Zone นอกพื้นที่อนุรักษ์ซึ่ง “ป่าเศรษฐกิจ” ซึ่งต้องการพื้นที่ประมาณ 48 ล้านไร่ตามแผนฯ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการพื้นที่โดยรอบ และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายพื้นที่ป่า ร้อยละ 40 ของประเทศไทยต่อไป ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ มูลนิธิสืบนาคะเสถียรร่วมกับคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ จึงได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางป่าเศรษฐกิจ และเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเพื่อดำเนินการผลักดันระดับนโยบาย และสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานตามทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลนิธิสืบนาคะเสถียรร่วมกับคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุมหารือทิศทางป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ 15 ของประเทศไทย ณ ห้องประชุม FORTROP ชั้น 3 ตึกวนศาสตร์ 60 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมการประชุมหารือกว่า 50 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ
ช่วงแรกของการประชุมมูลนิธิสืบนาคะเสถียรนำเสนอข้อมูล “(โอกาส)พื้นที่ป่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน” กล่าวถึง พื้นที่ในประเทศไทยที่มีโอกาสหรือเหมาะสมในการส่งเสริมป่าเศรษฐกิจ โดยจำแนกได้เป็น 7 พื้นที่ ได้แก่
- สวนป่าเอกชนตาม พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ. 2535
- ป่าชุมชน คิดเป็นร้อยละ 2.10 ของประเทศ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 62)
- องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 0.35 ของประเทศ
- ป่าชายเลนนอกพื้นที่อนุรักษ์/พื้นที่เปลี่ยนแปลง คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของประเทศ
- พื้นที่ปลูกยางพาราที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน SFM คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของประเทศ
- พื้นที่ ส.ป.ก. ส่งเสริมปลูกร้อยละ 20 คิดเป็นร้อยละ 2.26 ของประเทศ
- พื้นที่ปลูกไม้โตเร็ว รอบตัดฟันสั้น คิดเป็นร้อยละ 1.09 ของประเทศ
ด้าน ผศ.ดร. นิคม แหลมสัก คณบดีคณะวนศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์ อภิปรายหัวข้อ “เงื่อนไข โอกาส และข้อจำกัดในการขับเคลื่อนพื้นที่ป่าเศรษฐกิจร้อยละ 15” สรุปข้อมูลได้ว่า
- โอกาสของไม้เศรษฐกิจของไทย โดยอุตสาหกรรมไม้ของไทยยังมีความต้องการทางตลาดสูง ประมาณความต้องการการใช้ไม้มากถึง 156 ล้านตันในปี 2580 จากอุสาหกรรมด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไม้พลังงาน และอุตสาหกรรมแผ่นไม้ประกอบ เป็นต้น
- ความท้าทายของพื้นที่ป่าตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ มี 2 ประเด็น คือ 1. การจัดการสวนยางพาราในประเทศไทยให้มีการจัดการตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการจัดการป่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management, SFM) และ 2. การจัดการพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม
- พื้นที่เป้าหมายในการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร ประกอบด้วย 3 พื้นที่ ได้แก่ 1. พื้นที่ในเขตป่า (พื้นที่ป่าสงวนฯ เสื่อมโทรม) พื้นที่นอกเขตป่า และ 3. พื้นที่สีเขียวในเขตเมือง
- พื้นที่ (ที่ดิน) งบประมาณ และองค์ความรู้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันการจัดการป่าเศรษฐกิจแบบครบวงจร
- เป้าหมายและตัวชี้วัดระยะ 20 ปี ได้แก่ 1. พื้นที่ปลูกเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 26 ล้านไร่ รายได้เฉลี่ยของผู้ปลูก ไม่น้อยกว่า 4.2 แสนบาท/คน/ปี และ 3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคป่าไม้ของประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านบาท
- การจัดการข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 1. ฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ 2. นโยบาย/กฎหมายจากภาครัฐ 3. องค์ความรู้ ความเข้าใจ และแรงจูงใจ และ 4. หน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบชัดเจน และมีการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
จากการประชุมหารือครั้งนี้มีข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ ข้อสรุปประเด็นหลักๆ คือ
สามารถสรุปข้อคิดเห็นในที่ประชุมได้เป็น 9 ประเด็นหลัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- นิยามหรือการใช้คำว่า “ป่าเศรษฐกิจ”/ “ไม้เศรษฐกิจ” โดยเฉพาะพิจารณาการใช้ Timber ซึ่งอาจมีผลต่อหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานการจัดการป่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management, SFM)
- พื้นที่เป้าหมายที่ควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษ
2.1. สวนยางพารา
1) ควรมีการทบทวน/พิจารณาหลักเกณฑ์ตามเงื่อนไข FAO (2020) หรือ FRA (2020) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของพื้นที่สวนยางพารา ได้แก่ ชนิดพันธุ์ ขนาดพื้นที่ ขนาดเรือนยอด และความสูง โดยอาจมีการปรับให้เหมาะสมกับบริบทและรูปแบบป่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อง่ายต่อการได้ยื่นขอ Certificate ตามมาตรฐาน SFM ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาคำนิยาม “ป่าเศรษฐกิจ”/ “ไม้เศรษฐกิจ” ร่วมด้วย
2) การศึกษา พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในการปลูกไม้ชนิดอื่นทดแทน/ร่วมพื้นที่สวนยางพารา
2.2. ป่าชุมชน กรมป่าไม้
1) ตาม พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ได้บังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2562 ฉะนั้นตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. 2562 จำนวนป่าชุมชนที่ต่ออายุไม่ทันหรือไม่ได้ต่ออายุป่าชุมชน จึงเหลืออยู่เพียง 11,685 ป่าชุมชน หรือประมาณ 6.73 ล้านไร่ ทั้งนี้ กรมป่าไม้มีเป้าหมายขยายพื้นที่เป็น 10 ล้านไร่ ภายในปี 2567 อย่างไรก็ตามอาจค่อนข้างยาก เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมได้รับการจัดตั้งเป็นป่าชุมชนเกือบทั้งประเทศแล้ว
2) การพิจารณาป่าชุมชน เป็น ป่าเศรษฐกิจหรือไม่ ? เนื่องจากนิยามคำว่า ป่าเศรษฐกิจ มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ timber หากแต่ พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ไม่เป็นเช่นนั้นโดยในมาตรา 50 ระบุถึงสิทธิการใช้ประโยชน์ ซึ่งใช้เนื้อไม้ได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1. เพื่อการดำรงชีพ 2. เพื่อกิจการสาธารณะประโยชน์ และ 3. บรรเทาภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกฎหมายลูกยังสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทในอนาคตได้2.3. พื้นที่ ส.ป.ก.
1) ยังขาดข้อมูลและการติดตามการใช้ประโยชน์พื้นที่ ส.ป.ก. ของเกษตรกร
2) ตามมติ ค.ร.ม. 30 มิ.ย. พ.ศ. 2541 กำหนดให้ ส.ป.ก. ส่วเสริมเกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น หรือไม้ผล ในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างน้อยร้อยละ 20 ของพื้นที่ อยู่ระหว่างติดตามข้อมูล
3) ส.ป.ก. มีโครงการส่งเสริมการทำวนเกษตรในพื้นที่ เมื่อปี พ.ศ. 25602.4. พื้นที่ปลูกไม้โตเร็ว รอบตัดฟันสั้น
กระทรวงพลังงานมีวางเป้าสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 ซึ่งจะเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นไม้โตเร็ว รอบตัดฟันสั้นจะเป็นวัตถุดิบที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นกว่า 1,000,000 ไร่ จึงต้องมีการเตรียมพร้อมแหล่งเพาะพันธุ์และพันธุ์ไม้เพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้ - เงื่อนไข มาตรฐานการจัดการ การทำไม้
3.1. พิจารณา/ทบทวนเงื่อนไขการรับรองไม้เศรษฐกิจจาก SFM ตามหลักเกณฑ์ FAO (2020) เนื่องจากพื้นที่สวนยางพาราที่เข้าเงื่อนไขมีปริมาณน้อย โดยปัจจุบันมีพื้นที่ยางพาราที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวเพียง 1.2 แสนไร่ในประเทศ อาจพิจารณาเงื่อนไขที่มีองค์ประกอบของพื้นที่ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย (ตาม 4.2.1 ข้อ 1))
3.2.มาตรฐานการทำงานมีหลายกลุ่มหลายประเภท ควรให้มีการตรวจทานข้อมูลอีกครั้ง เพื่อให้สามารถเลือกใช้หรือปรับใช้เกณฑ์ที่มีความเหมาะสมต่อประเทศไทย และทันสมัยมากยิ่งขึ้น
3.3. พิจารณามาตรฐานที่มีหลักเกณฑ์ลดข้อจำกัดต่อเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีพื้นที่การเกษตรไม่มาก - Harvesting Certificate
การให้ความสำคัญของคนตัดไม้ที่มีทักษะ ควรให้มีการรับรองทักษะดังกล่าว โดยอาจจัดการอบรมถ่ายทอดความรู้และ “ใบอนุญาต (license)” ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมการทำไม้ที่ถูกต้องเหมาะสมและได้รับการรับรองตามกฎหมาย - กำหนดเป้าหมายรับผิดชอบของแต่ละพื้นที่ และควรมีการผลักดันจากรัฐบาลหรือคณะกรรมนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดำเนินการตามเป้าหมาย และต้องมีการวางแผนในระยะยาว
- การกระตุ้นการดำเนินงานและติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
- แหล่งเพาะพันธุ์กล้าไม้ไม่เพียงพอ และพันธุกรรมไม้เศรษฐกิจที่จะส่งเสริมสนับสนุนต้องดีพอ
- แรงจูงใจในการปลูก ได้แก่
8.1. กองทุน
1) เรียนรู้จากการทำงานส่งเสริมตาม พ.ร.บ. การยางฯ 2558 เพื่อนำไปปรับใช้ในการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ
2) การมีกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการพักชำระหนี้8.2. การตลาด
การช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐและเอกชน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าความต้องการใช้ไม้ในไทยมีสูง ดังนั้นการประสานหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความต้องการใช้ไม้ เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความมั่นใจต่อผู้ปลูกว่าไม้ของตนมีตลาดรองรับอย่างแน่นอน8.3. สร้างความตระหนักการใช้ไม้ในไทยให้มากยิ่งขึ้น8.4. กฎหมายสนับสนุนการปลูก การทำไม้ - แรงไม่จูงใจในการปลูก อาจพิจารณาหยุด/ลดการสนับสนุนพืชเกษตร/ไม้ที่ต้องการลดการปลูกลง และเพิ่มงบประมาณในส่วนของกองทุนสนับสนุนไม้เศรษฐกิจให้มากยิ่งขึ้น