แบคทีเรียขนาดจิ๋วในวัวอาจเป็นคำตอบในของปัญหาขยะพลาสติก

แบคทีเรียขนาดจิ๋วในวัวอาจเป็นคำตอบในของปัญหาขยะพลาสติก

ฝูงวัวอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับสภาพภูมิอากาศ แต่การศึกษาชิ้นล่าสุดเปิดเผยว่าพวกมันอาจเป็นตัวแปรสำคัญในการแก้ไขปัญหามลภาวะพลาสติก
.

ในแต่ละปีการทำฟาร์มปศุสัตว์ปล่อยแก๊สเรือนกระจกเป็นสัดส่วนมหาศาลของโลก วัวทั้งเรอและผายลมแก๊สมีเธนหนักหลายตัน แต่สัตว์เหล่านี้อาจเป็นพันธมิตรที่หลายคนคาดไม่ถึงว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก งานวิจัยล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศออสเตรียพบว่าแบคทีเรียขนาดจิ๋วที่พบในท้องวัวสามารถย่อยสลายพลาสติกบางชนิดได้

Doris Ribitsch จาก University of Natural Resources and Life Sciences กรุงเวียนนากล่าวว่าเศษโมเลกุลที่ย่อยสลายไม่หมดจะสามารถนำไปผลิตเป็นพลาสติกรีไซเคิลได้เราเชื้อมั่นอย่างยิ่งว่าสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วเหล่านี้จะนับเป็นโอกาสครั้งใหญ่และยังไม่ทำลายทรัพยากรไปจนหมดซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสร้างวงจรพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้

ปริมาณพลาสติกที่มนุษย์ใช้และทิ้งในแต่ละปีเพิ่มขึ้นในระดับที่น่ากังวล ในปี พ.. 2562 เฉพาะในสหภาพยุโรปมีพลาสติกปริมาณกว่า 26 ล้านตันสะสมอยู่ในที่ฝังกลบและปนเปื้อนในแหล่งน้ำ อ้างอิงจากงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Bioengineering and Biotechnology.

พลาสติกคือพอลิเมอร์ โมเลกุลสายยาวที่เชื่อมกันเหมือนกับลูกปัด ขณะที่พลาสติกสังเคราะห์สามารถอยู่ทนทานได้เนิ่นนานนับศตวรรษและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่พอลิเมอร์ตามธรรมชาติ เช่น เซลลูโลส โปรตีน 

นับเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่แบคทีเรียบางชนิดกลับสามารถย่อยสลายพลาสติกสังเคราะห์ นักวิจัยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาต่างพยายามอย่างหนักเพื่อใช้ศักยภาพของสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียนหรือเชื้อราเพื่อย่อยทำลายพลาสติก ในปี พ.. 2559 นักวิจัยทีมหนึ่งพบแบคทีเรียกินพลาสติกในโคลนใกล้กับโรงงานรีไซเคิลพลาสติกของประเทศญี่ปุ่น ส่วนทีมอื่นๆ ก็พบสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่กินพลาสติกเป็นอาหารตามพื้นที่ทิ้งขยะและพื้นที่ขุดเจาะน้ำมัน Carbios บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสได้พยายามสังเคราะห์เอนไซม์ของแบคทีเรียซึ่งแรกเริ่มเดิมพบมากในซากใบไม้ แต่กลับมีความสามารถในการย่อยสลายขวดน้ำพลาสติกได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

Ribitsch และทีมวิจัยของเธอตัดสินใจสำรวจส่วนประกอบของกระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (Rumen) ซึ่งเป็นกระเพาะอันดับแรกของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว เนื่องจากแบคทีเรียขนาดจิ๋วในรูเมนจะย่อยพืชที่วัวกินเข้าไปก่อนที่จะส่งต่อให้กับระบบอื่นเพื่อทำการย่อยและดูดซึมสารอาหาร แต่ยังไม่มีงานวิจัยมากนักที่เน้นศึกษาสิ่งมีชีวิตหรือเอนไซม์ของพวกมันในการทำหน้าที่ย่อยพอลิเมอร์

ทีมวิจัยได้ของเหลวในรูเมนจากโรงฆ่าสัตว์ในท้องถิ่นซึ่งปกติแล้วของเหลวเหล่านี้จะถูกนำไปทิ้งทำลาย พวกเธอเลี้ยงแบคทีเรียเหล่านี้ด้วยพลาสติกสามประเภท หนึ่งคือ PET  (ย่อมาจาก polyethylene terephthalate) ซึ่งมักใช้ในเสื้อผ้าและบรรจุภัณฑ์ สองคือ PBAT (ย่อมาจาก polybutylene adipate-co-terephthalate) คือพลาสติกย่อยสลายได้ตามธรรมชาติซึ่งจะใช้สำหรับทำถึงพลาสติกย่อยสลายได้ และสามคือ PEF (ย่อมาจาก polyethylene furanoate) พอลิเมอร์อีกหนึ่งประเภทที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยทำการทดสอบพลาสติกทั้งสามชนิดทั้งในรูปแบบฟิล์มและผง ของเหลวที่เก็บมานั้นย่อยสลายพลาสติกทั้งสามประเภทโดยเฉพาะรูปแบบผงซึ่งจะย่อยได้รวดเร็วกว่าแบบฟิล์ม

ในรูเมนจะมีสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วหลายพันชนิด ทั้งแบคทีเรีย เห็ดรา และอาร์เคีย ก้าวต่อไปของทีมวิจัยคือการศึกษาเพื่อระบุให้ได้ว่าสิ่งมีชีวิตตัวใดที่ทำหน้าที่สำคัญในการย่อยสลายพลาสติก หลังจากนั้นจึงสามารถศึกษาเอนไซม์และนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นโรงงานรีไซเคิลพลาสติกเชิงพาณิชย์

อ้างอิงจากงานวิจัย Quartinello F et al. Together Is Better: The Rumen Microbial Community as Biological Toolbox for Degradation of Synthetic Polyesters. Front. Bioeng. Biotechnol. 2021.

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก Microbes in cow stomachs can decompose plastic

ผู้เขียน

+ posts

บัณฑิตการเงินและการบัญชีที่สนใจความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม หมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน เขียน เรียนคอร์สออนไลน์ และเลี้ยงลูกชายวัยกำลังน่ารัก