วิกฤติระบบทำความเย็น ที่ทำให้โลกร้อน

วิกฤติระบบทำความเย็น ที่ทำให้โลกร้อน

ระบบทำความเย็นทั้งตู้ทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศช่วยเก็บรักษายาและวัคซีนปกป้องไม่ให้อาหารเน่าเสียระหว่างการขนส่งระยะไกลและทำให้มนุษย์มีสุขภาพดีขึ้นผลิตภาพสูงขึ้นนำไปสู่ความรุ่งเรืองเช่นปัจจุบัน

ในทศวรรษหน้า คาดว่าจะมีการใช้ระบบทำความเย็นมากขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อสภาพแวดล้อม

ระบบทำความเย็นใช้พลังงานค่อนข้างมาก และมีการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน HFCs) มากขึ้น ซึ่งสารดังกล่าวสร้างผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึงพันเท่า

จากระดับอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของชนชั้นกลางทั่วโลก คาดว่าจะมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านเครื่องในราว 10 ปีข้างหน้า และอีกหลายเท่าภายใน พ.. 2593

แค่ในภูมิภาคเอเชีย คาดยอดขายเครื่องปรับอากาศจะสูงถึง 10 ล้านยูนิตในปีนี้ เพิ่มจาก 605 ล้านยูนิตใน พ.. 2556

 

หากไม่มีการจัดการปัญหาดังกล่าว ระบบทำความเย็นจะเป็นสาเหตุของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกราวร้อยละ 20 ภายใน พ.. 2593 และสร้างแรงกดดันต่อระบบพลังงาน จำกัดการเข้าถึงพลังงาน ทำให้คนจนยังไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้

 

Dan Hamza-Goodacre ผู้จัดการโครงการสร้างประสิทธิภาพให้ระบบทำความเย็น Kigali หรือ K-CEP ให้สัมภาษณ์ K-CEP คือองค์กรระดับโลกที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ภายใต้มูลนิธิ ClimateWorks โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาทางออกให้ระบบทำความเย็นสะอาดขึ้น

เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทำความเย็นที่ดีขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ K-CEP และองค์กรภาคีจะจัดสัมนาเพื่อหาทางออกดังกล่าวในกรุงเทพฯ ในประเด็นเกี่ยวกับทางออกของระบบทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และแนวทางการขับเคลื่อนผ่านกฎหมายหรือข้อบังคับ Dan Hamza-Goodacre อธิบายสาเหตุที่ต้องเน้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า

 

ภูมิภาคนี้มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น และกำลังเปลี่ยนเป็นเมืองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการระบบทำความเย็นเพิ่มสูงขึ้น แต่เนื่องจากระบบทำความเย็นในปัจจุบันอาจยังไม่มีประสิทธิภาพ การใช้งานที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน และสร้างแรงกดดันต่อระบบจ่ายไฟฟ้า

 

ในอีกมุมหนึ่ง ผู้ใช้แรงงานในภูมิภาคก็ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบทำความเย็นได้ ซึ่งระบบดังกล่าวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพในการทำงาน สุขภาพ และการศึกษา

จากการสำรวจโดย Eco-Business ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าคนส่วนใหญ่แทบไม่รับรู้ถึงผลกระทบด้านลบจากเครื่องปรับอากาศ และไม่สามารถบอกได้ถึงความแตกต่างในแง่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่น มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ระบุว่าเขาหรือเธอรับรู้ว่าสารทำความเย็นจากเครื่องปรับอากาศอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งยังระบุว่าเครื่องปรับอากาศในพื้นที่สาธารณะอย่างห้างร้าน ออฟฟิศ หรือโรงภาพยนตร์ยังเย็นเกินไป ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ

Mark Radka ผู้อำนวยการด้านพลังงานและภูมิอากาศ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในวิทยากรในการประชุมดังกล่าว ระบุว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่จะนำเข้าเครื่องปรับอากาศจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก่อมลภาวะ และยังมีต้นทุนสูงเข้าสู่ตลาดหากไม่มีมาตรฐานหรือกฎในการกำกับดูแล การบังคับใช้มาตรฐานขั้นต่ำจำเป็นอย่างยิ่งในการเปลี่ยนสู่การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเกณฑ์ต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขายในตลาด

PHOTO Arend Veenhuizen,CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

นอกจากนี้ งานประชุมดังกล่าวยังเป็นเวทีพูดคุยในการกำหนดมาตรการลดการใช้สาร HFCs ลงราวร้อยละ 80 ถึง 85 ภายใน 30 ปีข้างหน้า หรือเรียกว่า Kigali Amendment ในพิธีสารมอนทรีออล ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.. 2562 เป็นต้นไป และคาดว่าจะช่วยลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกเท่ากับ 105 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า และหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 0.5 องศาเซลเซียสในอีก 80 ปีข้างหน้า

Dan Hamza-Goodacre ระบุว่า มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากสองเมืองใหญ่ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในการปรับปรุงระบบทำความเย็นให้มีประสิทธิภาพ คือนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และอาเมดาบัด อินเดีย ซึ่งทั้งสองเมืองได้ร่างแผนรับมือคลื่นความร้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เมืองนิวยอร์กได้มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ และพยายามเข้าถึงกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ คนยากจน และผู้ป่วยเรื้อรัง โดยมีโครงการเช่น Cool Roofs ที่ฝึกทีมช่างในการทาสีหลังคาให้เป็นสีขาวเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ และช่วยลดอุณภูมิบริเวณพื้นดิน โดยได้มีการทาสีหลังคาไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 5.2 แสนตารางเมตร

ระหว่าง พ.. 2550 ถึง 2560 ได้มีการปลูกต้นไม้กว่าหนึ่งล้านต้นในเมืองนิวยอร์กเพื่อลดสภาวะเกาะความร้อนและการปล่อยแก๊สเรือนกระจก

ส่วนเมืองอาเมดาบัดได้มีการร่างแผนรับมือความร้อน พ.. 2560 โดยแผนดังกล่าวเลือกใช้วิธีต้นทุนต่ำในการปรับหลังคาเพื่อลดอุณหภูมิ เช่น การใช้กระเบื้องเซรามิกสีขาว ซึ่งลดอุณภูมิภายในอาคารได้ถึง 3 – 7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ประเทศสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ก็ไม่ได้นิ่งดูดายกับปัญหาดังกล่าว โดยลงทุนจำนวนมากเพื่อลดการใช้พลังงานในการสร้างความร้อนหรือความเย็นในอาคาร

Dan Hamza-Goodacre ระบุว่า การออกแบบอาคาร พัดลม ร่มเงา และระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมต่างเป็นปัจจัยที่ลดผลกระทบจากระบบทำความเย็น ในขณะเดียวกัน Eco-Business ก็ระบุว่า ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศในพื้นที่สาธารณะให้เหมาะสม รวมถึงสร้างความเข้าใจและตระหนักต่อสาธารณะถึงความจำเป็นต่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก The global cooling crisis: What Southeast Asia can do about it โดย Feng Zengkun
ถอดความและเรียบเรียงโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์