ขยะพลาสติกในมหาสมุทรกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อสัตว์ทะเลสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์

ขยะพลาสติกในมหาสมุทรกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อสัตว์ทะเลสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์

WWF หรือกองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ ที่ระบุว่า มีขยะพลาสติกลอยเกลื่อนอยู่ในมหาสมุทรทั่วทุกหนแห่ง ซึ่งถือว่าปัญหาใหญ่ ที่ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน ไม่อาจรอช้าได้อีกแล้ว

.
รายงานหัวข้อ Impacts of plastic pollution in the ocean on marine species biodiversity and ecosystems โดย WWF ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ 2,590 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ชี้ว่า 88 เปอร์เซ็นต์ ของสัตว์ทะเลที่ทำการศึกษาได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนของพลาสติกในมหาสมุทร ‘อย่างรุนแรง’ โดยขยะพลาสติกได้หลุดเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำจำนวนมาก รวมถึงสัตว์น้ำที่คนนำมาบริโภค

ขยะพลาสติกที่ยังเป็นชิ้นและที่แตกตัวเป็นไมโครพลาสติก สามารถตรวจพบได้ใน ‘แพลงก์ตอน’ ที่เล็กที่สุดไปจนถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดอย่าง ‘วาฬ’

WWF ระบุว่าสิ่งมีชีวิตอย่างน้อย 2,144 สายพันธุ์ ต้องทนทุกข์ทรมานจากมลภาวะพลาสติกในถิ่นที่อยู่อาศัย บางชนิดได้เผลอกินพลาสติกต่างอาหาร เช่น พบในนกทะเล 90 เปอร์เซ็นต์ และเต่า 52 เปอร์เซ็นต์ 

ขณะเดียวกันยังพบ ‘เกาะพลาสติก’ ขนาดมหึมาซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนพลาสติกที่ลอยน้ำได้ ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก

พลาสติกยังแตกตัวเป็นไมโครพลาสติก ลอยกระจัดกระจายและจมลงสู่ห้วงทะเลลึกในทุกแห่งหน ตั้งแต่ผิวน้ำทะเลจนถึงพื้นมหาสมุทรลึก ตั้งแต่ขั้วโลกจนถึงแนวชายฝั่งของเกาะที่ห่างไกลแผ่นดินที่สุด

บางภูมิภาค เช่น เมดิเตอร์เรเนียน จีนตะวันออก และทะเลเหลือง มีพลาสติกในระดับที่เป็นอันตรายอยู่แล้ว ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ อาจเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษมากขึ้นในอนาคต

บางแห่งต้องเผชิญชะตากรรม ‘การล่มสลายของระบบนิเวศ’ เช่น แนวปะการังและป่าชายเลน ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารทะเลทั้งหมด
.

พลาสติกที่พบในร่างกายเต่าหลังการชันสูตร l AP Photo – Kamran Jebreili

.
แม้การทำประมงจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมลพิษทางทะเล แต่ปัจจัยหลักคือความชุกของพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เนื่องจากพลาสติกมีราคาถูกลง ผู้ผลิตจึงผลิตในปริมาณมาก ก่อนจะกลายเป็นขยะในเวลาต่อมา

รายงานคาดการณ์ว่าการผลิตพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2040 ซึ่งจะทำให้ขยะพลาสติกในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่อีกสี่เท่าในอนาคต

การนำพลาสติกออกจากมหาสมุทรนั้นเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้พลาสติกเข้าสู่มหาสมุทรอีกต่อไป

ซึ่งผู้บริโภคสามารถช่วยลดมลภาวะจากพลาสติกได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม แต่รัฐบาลต้องขยับให้มากขึ้นและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้มากขึ้น

และสิ่งที่เราต้องการคือกรอบนโยบายที่ดี

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code


อ้างอิง

ผู้เขียน

Website | + posts

โซเชียลมีเดียที่เขียนบันทึกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคแอนโทโปรซีน