การลดก๊าซมีเทนสามารถช่วยน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกในฤดูร้อนได้

การลดก๊าซมีเทนสามารถช่วยน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกในฤดูร้อนได้

จากงานวิจัยฉบับใหม่ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Research Letters ระบุว่า ทันทีที่มีการลดการปล่อยก๊าซมีเทนสามารถช่วยรักษาน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกช่วงฤดูร้อนได้

.
การวิจัยก่อนหน้านี้ได้คาดการณ์ว่าในช่วงฤดูร้อนน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกอาจหายไปในช่วงกลางศตวรรษหากปัญหาวิกฤตโลกร้อนไม่ถูกแก้ไขอย่างเร่งด่วน ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้มีการโต้เถียงกันว่าการลดการปล่อยก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์อย่างจริงจังสามารถช่วยรักษาน้ำแข็งไว้ได้จนถึงปี 2100 หรือมากกว่านั้นด้วยซ้ำ

การรักษาน้ำแข็งของทะเลอาร์กติกในช่วงฤดูร้อนมีความสำคัญไม่เพียงเพราะว่ามันเป็นส่วนสำคัญของชุมชนและระบบนิเวศในอาร์กติกเท่านั้น แต่เพราะการละลายของน้ำแข็งในทะเลสามารถทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อย่างรวดเร็ว การสูญเสียแสงสะท้อนจากทะเลน้ำแข็งทำให้ผิวน้ำทะเลมีสีเข้มมากขึ้น การดูดซับแสงอาทิตย์ที่มากขึ้นและมากขึ้น จะเร่งภาวะโลกร้อนและจะทำให้น้ำแข็งละลายมากขึ้น

ก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากคาร์บอนไดออกไซด์ มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ตามที่นักวิจัยได้กล่าวไว้ว่า ในอีกสองทศวรรษข้างก๊าซมีเทนที่ปล่อยออกมาในวันนี้อาจวัดความร้อนได้มากกว่า 80 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณเท่ากัน

“การลดการปล่อยก๊าซมีเทนในปัจจุบันถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยลดการเกิดภาวะโลกร้อน” ดร.เทียนยี่ ซุน หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว “การตัดก๊าซมีเทนอย่างรวดเร็วลงพร้อมๆ กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของเรา สำหรับการรักษาน้ำแข็งของทะเลอาร์กติกในฤดูร้อนภายในช่วงชีวิตของเรา และสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต เราต้องทำทั้งสองอย่าง นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่มูลนิธิป้องกันสิ่งแวดล้อม กล่าว

ตามที่ ดร.เทียนยี่ ซุน และเพื่อนร่วมทีมวิจัยของเธอได้กล่าวไว้ หากพวกเราสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้สำเร็จในภายในปี 2050 และบังคับให้ลดการใช้ก๊าซมีเทนด้วยวิธีการแก้ปัญหาในปัจจุบันนี้ โอกาสในการรักษาน้ำแข็งในทะเลอาร์กติดในช่วงฤดูร้อนจะเพิ่มขึ้นจากเก็บ 0% เป็นมากกว่า 80%

การปกป้องน้ำแข็งนี้มีความสำคัญต่อการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งที่อยู่อาศัยของเหล่าวอลรัส หมีขั้วโลก และสัตว์ป่าอื่นๆ ในแถบอาร์กติก และเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวพื้นเมืองในแถบอาร์กติกที่ต้องอาศัยการล่าสัตว์และการตกปลาเพื่อการยังชีพ ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยยับยั้งการรุกรานทางน้ำที่เกิดจากการเปิดกว้างของเส้นทางน้ำอาร์กติก

แหล่งกำเนิดก๊าซมีเทนที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ การเลี้ยงโค อุปกรณ์รั่วที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำมันและก๊าซ การแปรรูปและการขนส่ง การสลายตัวของสารอินทรีย์ในหลุมฝังกลบ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการลดก๊าซมีเทนที่เหมาะสมที่ควรจะใช้ที่โรงงานน้ำมันและก๊าซของโลกด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมนี้สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้กว่า 75%

นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการตรวจจับก๊าซมีเทน เช่น การพัฒนาดาวเทียมตรวจจับก๊าซมีเทน จะช่วยให้ค้นหาและแก้ไขการรั่วไหลของก๊าซมีเทนที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code


เรื่อง : ปีกาญจนา สินวราวิวัฒน์
เรียบเรียงจาก : Reducing methane could save Arctic summer sea ice
ภาพ : steve_is_on_holiday/E+/Getty Images