หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งส่งผลกระทบมากขึ้นต่อสัตว์ทะเล

หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งส่งผลกระทบมากขึ้นต่อสัตว์ทะเล

หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งส่งผลกระทบมากขึ้นต่อสัตว์ทะเล

.
จะเห็นได้ว่าช่วงหลังมานี้ มีการทิ้งหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งตามแอ่งน้ำอย่างเกลื่อนกลาด ทำให้นักวิจัยทั่วโลกเริ่มหันมาให้สนใจศึกษาเรื่องหน้ากากอนามัย และ สารในหน้ากากอนามัยนั้นจะส่งผลต่อมีชีวิตในทะเลอย่างไร อย่างที่ทราบกันว่า โพลิโพรพิลีน คือพลาสติกประเภทนึงที่ถูกพบในหน้ากากอนามัย มีส่งผลอันตรายต่อสัตว์น้ำ

นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวได้สังเกต และเปรียบเทียบพฤติกรรมของสัตว์เปลือกแข็งขนาดเล็ก 3 ชนิด คือ หอยแมลงภู่ หอยทากทะเล และโคพีพอด (สัตว์ทะเลจำพวกแพลงก์ตอนสัตว์ที่มีเปลือกหุ้ม) ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหน้ากากกับสภาพแวดล้อมทั่วไป

เมื่อใส่สัตว์ทดลองลงไปในสภาพแวดล้อมจำลองที่มีหินล้อมรอบคล้ายแอ่งน้ำพร้อมกับเศษหน้ากากอนามัย นักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นว่า หอยแมลงภู่มีแนวโน้มมารวมตัวกันมากขึ้นถึง 40% โดยพฤติกรรมนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อพวกมันเผชิญกับภัยคุกคามซึ่งพฤติกรรมนี้ใช้วัดความเครียดในสัตว์สายพันธุ์นี้ด้วย ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าหอยแมลงภู่จะใช้ ออสฟราเดียม (อวัยวะรับรู้ความรู้สึก) ตรวจจับสารเคมีที่ออกมาจากหน้ากากอนามัย และทำการรวมตัวกันตามพฤติกรรมดังกล่าว

หอยทากทะเลก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ถึงแม้พวกมันจะไม่ได้หลีกเลี่ยงหน้ากากอนามัย หรือเศษหน้ากากก็ตาม แต่พวกมันจะแสดงความเครียดเมื่อต้องเคลื่อนตัวผ่าน หรือเมื่อต้องคลานข้ามไปมาบนหน้ากากอนามัย นอกจากนี้สารเคมีในหน้ากากอนามัยเหมือนจะทำให้พวกมันเชื่องช้ามากขึ้น ซึ่งหมายความว่ามันอาจจะถูกคุกคามได้มากขึ้น

จากการศึกษานี้พบว่าสารในหน้ากากอนามัยส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ของโคพีพอด (แพลงก์ตอนสัตว์ที่มีเปลือกหุ้ม) เช่นกัน โคพีพอดตัวผู้จะหาฟีโรโมนของโคพีพอดตัวเมียได้ยากขึ้น ซึ่งหมายความว่า พวกมันจะจับคู่กับโคพีพอดตัวเมียได้น้อยลง

การค้นพบสิ่งนี้อาจจะมีความสำคัญมากขึ้น สายพันธุ์ที่ถูกนำมาสังเกตุพฤติกรรมในงานวิจัยนี้เป็นสายพันธุ์ที่สำคัญในระบบนิเวศซึ่งหมายความว่าสายพันธุ์อื่นในระบบนิเวศต้องพึ่งพาพวกมันอย่างมาก การลดลงของจำนวนสายพันธุ์หลักอาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงของสายพันธุ์อื่นๆในระบบนิเวศ รวมส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างมนุษย์อีกด้วย

“เราจะเห็นหน้ากากมากขึ้นในแอ่งน้ำ” Laurent Seuront นักนิเวศวิทยาทางทะเลจาก French Center National de la Recherche Scientifique กล่าว “สิ่งนี้จะทำลายห่วงโซ่อาหารและมันขึ้นอยู่กับพวกเรา”

งานวิจัยชิ้นนี้จะถูกนำเสนอโดย Seuront ในการประชุม Ocean Sciences 2022 ซึ่งจะจัดขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการประชุมนี้จะเป็นการรวบรวมนักวิจัยจาก America Geophysical Union, Association for the Science of Oceanography และ The Oceanography Society

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code


เรื่อง : ปีกาญจนา สินวราวิวัฒน์
เรียบเรียงจาก : Disposable masks are increasingly impacting marine animals
ภาพ : OceansAsia / Facebook