นักอนุรักษ์และสัตวแพทย์เตือนว่า ‘ขยะพลาสติก’ ในหลุมฝังกลบแบบเปิดในภาคตะวันออกของประเทศศรีลังกา กำลังคุกคามชีวิตของช้างในภูมิภาคนี้
.
ตามรายงานล่าสุดพบว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีช้างตายเพิ่มอีก 2 ตัว เพราะกินขยะพลาสติกเข้าไปต่างอาหาร
ในการสืบค้นข้อมูลย้อนหลังยังพบอีกว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีช้างตายเพราะสาเหตุเดียวกันนี้สูงถึง 20 ตัวด้วยกัน
จากการชันสูตรช้างที่ตายแล้ว สามารถอธิบายได้ว่าพวกเขากลืนขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น โพลีเอทิลีน กระดาษห่ออาหาร และถุงพลาสติกชนิดต่างๆ เข้าไปเป็นจำนวนมาก
แต่ไม่พบพืชหรืออาหารอื่นๆ ที่ช้างควรกินตามปกติ
พื้นที่หมู่บ้านปัลลักคาดู อำเภออัมปารา ที่อยู่ห่างจากกรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของประเทศประมาณ 210 กิโลเมตร ถือเป็นจุดทิ้งขยะแหล่งใหญ่
ทว่าพื้นที่ตรงนี้ก็อยู่ไม่ห่างจากถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างมากนัก
เหตุที่ช้างเข้ามาหากินบริเวณจุดทิ้งขยะ เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างกำลังค่อยๆ เสื่อมโทรมลง
ปัจจุบัน พื้นที่ป่าไม้ของศรีลังกาเหลืออยู่เพียง 17% ของพื้นที่ประเทศ
สาเหตุที่ทำให้ผืนป่าถูกทำลายเกิดจากการทุจริตของนักการเมือง ที่ขายผืนป่าธรรมชาติให้กับนักธุรกิจนำไปสร้างรายได้โดยอ้างเหตุผลของความเจริญรุ่งเรือง
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่ดินเพื่อการทำเหมือง
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การระบาดของโควิด-19 ทำให้รายได้ของประเทศที่เคยมีจากการท่องเที่ยวลดลง รัฐบาลจึงมีแผนเปลี่ยนป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยชูประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารของคนในชาติมาเป็นข้ออ้าง
จากสภาพที่เป็นอยู่ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หากจะมีช้างหนีออกมาหากินนอกป่า เที่ยวขโมยกินผลหมากรากไม้ที่คนปลูก ก่อนเลยเถิดมาถึงการคุ้ยเขี่ยหาอาหารในจุดทิ้งขยะ
เมื่อพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายเข้าไปตกค้างอยู่ในกระเพาะ และสะสมเป็นจำนวนมากเข้า จะก่อให้เกิดอาการติดเชื้อจากสารพิษในพลาสติก รวมถึงอาการขาดน้ำและขาดสารอาหาร
พลาสติกที่อุดตันจะทำให้พวกมันไม่รู้สึกหิว และเมื่อไม่อยากกินอะไร สุดท้ายช้างทั้งหลายจะสิ้นเรี่ยวไร้แรง และสามารถพยุงน้ำหนักตัวที่มากเอาไว้ได้ไหว
ก่อนหน้านี้ในปี 2017 รัฐบาลประกาศว่าจัดการกับกองขยะที่อยู่ใกล้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อป้องกันไม่ให้ช้างบริโภคขยะพลาสติก
นอกจากนี้ ยังมีแผนสร้างรั้วไฟฟ้ารอบพื้นที่เพื่อกันสัตว์ต่างๆ แต่ก็ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่
รั้วบางแห่งที่สร้างไว้ก็ไม่ได้รับการดูแล จนเสื่อมโทรมและใช้การไม่ได้ในที่สุด
นอกจากบริเวณหมู่บ้านปัลลักคาดู ยังมีจุดทิ้งขยะ 54 แห่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ และมีช้างประมาณ 300 ตัว สัญจรไปมาใกล้กับแหล่งทิ้งขยะเหล่านั้น
สถานที่จัดการขยะในหมู่บ้านปัลลักคาดู ก่อตั้งขึ้นในปี 2008 โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป ขยะที่เก็บจากหมู่บ้านใกล้เคียง 9 แห่งถูกทิ้งที่นั่น แต่ไม่ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงขาดการจัดการที่ดี
ในปี 2014 รั้วไฟฟ้าที่ป้องกันไซต์ถูกฟ้าผ่า และเจ้าหน้าที่ไม่เคยซ่อมแซมเลย ทำให้ช้างสามารถเข้าไปและควานหาอาหารในกองขยะได้
ช้างเป็นที่เคารพนับถือในศรีลังกา แต่ก็ใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน ตัวเลขของพวกเขาลดลงจากประมาณ 14,000 ตัวในศตวรรษที่ 19 แต่ตามการสำรวจสำมะโนช้างครั้งแรกของประเทศในปี 2011 พบว่า ลดลงมาเหลือประมาณ 6,000 ตัว
อ้างอิง
-
Elephants dying from eating plastic waste in Sri Lankan dump
-
A Disastrous 2021 and Conservation Challenges in 2022
-
ภาพประกอบ Achala Pussalla l AP
ผู้เขียน
โซเชียลมีเดียที่เขียนบันทึกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคแอนโทโปรซีน