นิเวศบนที่ราบสูงของป่าเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังย่ำแย่ 20 ปีที่ผ่านมา พบพื้นที่ป่าหายไปมากกว่าขนาดพื้นที่ประเทศไทย
.
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของนิเวศป่าเขตร้อน ที่มีป่าบนที่ราบสูงประมาณครึ่งหนึ่งของโลก
ระบบนิเวศเหล่านี้ช่วยกักเก็บคาร์บอนฯ ได้จำนวนมหาศาล
อีกทั้งยังคงความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ต่างๆ และบางชนิดไม่สามารถพบเห็นได้จากที่ใดในโลก
แต่หลักฐานใหม่ ชี้ให้เห็นว่านิเวศสวรรค์เหล่านี้กำลังตกอยู่ในอันตราย – ร้ายแรง !
ทีมนักวิจัยนานาชาติ ได้ร่วมกันวิเคราะห์มูลดาวเทียมความละเอียดสูง ที่เผยให้เห็นความจริงว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สูญเสียป่าไปกว่า 610,000 ตร.กม. ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
หรือมากกว่าขนาดอาณาเขตประเทศไทย (513,120 ตร.กม.)
ในช่วง 10 ปีแรก ป่าที่ราบต่ำเริ่มหายไปก่อน
แต่ 10 ต่อมา รอยเว้าแหว่งเริ่มไปกระจุกอยู่บนบริเวณเขาสูง – อย่างมีนัยยะสำคัญ
ทีมวิจัยพบว่า การบุกรุกป่าเริ่มรุกคืบขึ้นที่สูงในปี 2019 ในอัตราที่รุนแรง
ทุกๆ ปี ป่าที่หายไปจะค่อยๆ ไต่ระดับไปที่ความสูงเฉลี่ยคราวละ 15 เมตร
ป่าที่หายไปอย่างเด่นชัดเกิดขึ้นบนภูเขาในลาวเหนือ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า สุมาตราฝั่งตะวันออก และกาลิมันตันในอินโดนีเซีย
ป่าที่หายไปแล้ว 610,000 ตร.กม. กำลังนำไปสู่มหันตภัยอันหลายหลาก
โดยจะเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้คนที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรป่าไม้โดยตรง และชุมชนปลายน้ำ
การล้างป่าในพื้นที่ต้นน้ำสูงชัน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดดินถล่ม และน้ำท่วมขังในพื้นที่ตอนล่าง
นอกจากนี้ ยังเพิ่มการพังทลายของดิน ทำให้แม่น้ำอุดตันจากตะกอนดิน และมลพิษทางการเกษตร จะทำลายคุณภาพแหล่งน้ำ
ตัวอย่างในปี 2018 มีผู้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุลาเวสี อินโดนีเซีย
นับผู้พลัดถิ่นได้หลายพันคน บางคนเสียชีวิตระหว่างรอการช่วยเหลือ เนื่องจากเส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด เป็นเคราะห์กรรมซ้อนทับไปอีกชั้น
หรือในความหายนะต่อมา อาจขัดขวางความสามารถของสายพันธุ์ในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ต่อเรื่องที่ใหญ่กว่า – งานวิจัยของ Southern University of Science and Technology เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ระบุว่า การทำลายป่าในเขตร้อนสามารถผลักดันอุณหภูมิให้ถึง 2 องศาเซลเซียสได้อย่างง่ายดาย
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิจัยพบว่า เราได้สูญเสียที่กักเก็บคาร์บอนฯ ไปแล้วประมาณ 424 ล้านเมตริกตันต่อปี
ซึ่งเทียบเท่ากับหนึ่งในหกของคาร์บอนฯ ทั้งหมด ที่ดูดซับโดยมหาสมุทรของโลกในแต่ละปี
คำเตือน – หากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเสียป่าเช่นนี้ต่อไป การจะจำกัดอุณภูมิโลกให้ไม่เพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษนี้ อาจเป็นสิ่งที่เรียกว่า Mission Impossible
อ้างอิง
.
บทความอ่านประกอบ
-
สถิติป่าถูกทำลายสูงขึ้น มากกว่าเดิม 12% – บราซิลครองแชมป์เสียป่าสูงสุด
-
10.3 ล้านคนพลัดถิ่น เหตุจากภัยพิบัติและสภาพอากาศสุดขั้ว
ผู้เขียน
โซเชียลมีเดียที่เขียนบันทึกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคแอนโทโปรซีน