ถ้อยแถลงของไทยบนเวที COP27
ตั้งแต่การประชุม COP26 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ทำตามสิ่งที่เราให้คำมั่นไว้ เราไม่ได้แค่พูด แต่เราทำกันจริงๆ
ประเทศไทยมาเข้าร่วมประชุม COP27 พร้อมยุทธศาสตร์ระยะยาวในการปล่อยก๊าซเรือนกระจำต่ำ (LTLED) คือการบรรลุความเป็นกลางางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และจะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนประจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2065
รวมทั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ที่เพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2030 หากได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ
ประเทศไทยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับประเทศอื่นในโลก โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับประชาชน
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ในฐานะเจ้าภาพเอเปค เราเชื่อว่าเป้าหมายของกรุงเทพฯ ว่าด้วย BCG Model จะเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่อช่วยบูรณาการความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน การดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการของเสีย
ไม่มีใครรอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว เราได้เร่งดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน เราตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ของการผลิตทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2050 และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เพื่อการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเชิงพาณิชย์ ก่อนปี ค.ศ. 2040 เราส่งเสริมการใช้วัสดุดดแทนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมทำความเย็น นำร่องวิธีการปลูกข้าวทางเลือกแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท 55 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ประเทศ เพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ. 2037 ขณะเดียวกัน เพื่อดำเนินการตามแนทางความร่วมมือ ภายใต้ความตกลงปารีส เราได้จัดทำแนวทาง และกลไกบริหารการจัดการคาร์บอนเครดิต ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มทำความตกลงเพื่อถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส
เราเชื่อมั่นว่า เรามารวมตัวกัน ณ ที่ประชุมแห่งนี้ เพื่อทำมากกว่าแค่พูดเท่านั้น เราต้องมีการดำเนินการในทุกด้าน และเราต้องเริ่มเดี๋ยวนี้ ผมเชื่อมั่นว่าความร่วมมือกันของมนุษยชาติว่าเราจะสามารถกำหนดอนาคตของเราได้ ผมมั่นใจว่าหากเราร่วมมือกัน เราจะสามารถเอาชนะความท้าท้ายนี้ที่เราสร้างขึ้นมาเองได้ การร่วมมือร่วมใจ จะทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้
หมายเหตุ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม COP27 ที่ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน