นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศเตือนว่าหากยัง ‘ตัดไม้ทำลายป่า’ ต่อไปจะนำไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น และจะทำให้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรงมากยิ่งขึ้น
.
แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นที่ทราบอยู่แล้วก็ตาม การวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ใน Frontier in Forests and Global Change ได้ตรวจสอบแล้วว่า การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบอื่นๆ อย่างไรได้บ้าง
นักวิจัยศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางชีวฟิสิกส์ที่เกิดขึ้นเมื่อป่าถูกทำลาย ปัจจัยเหล่านี้ รวมถึงอัลเบโด (การสะท้อนแสงอาทิตย์), รูปแบบของลม, การกระจายความร้อนในพื้นที่, องค์ประกอบของเมฆ และวัฏจักรของน้ำ สิ่งเหล่านี้ที่พวกเขาค้นพบไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน
นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อไม่มีต้นไม้สูงในป่า การสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์จะทำได้น้อยลง ทำให้พื้นผิวซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์และมนุษย์มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น
“ลองนึกภาพพื้นผิวโลกที่เรียบ ลมแค่พัดผ่าน และความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็ส่องลงมาตรงๆ แต่ด้วยทรงพุ่มและพื้นผิวของโลกเป็นเหมือนกับบรอกโคลี ลมเหล่านั้นจะสะท้อนกลับไปมาและความร้อนก็กระจายไป” ศาสตราจารย์ เดโบราห์ ลอว์เรนซ์ หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย อธิบาย
ผู้เขียน หลุยส์ เวอร์โชต นักวิทยาศาสตร์หลักของ Alliance of Bioversity International – CIAT ชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญที่ต้นไม้มีบทบาทในวัฏจักรอุทกวิทยา
ป่าไม้มีความสำคัญต่อวัฏจักรอุทกวิทยาในทางภูมิภาคเช่นกัน เมื่อคุณตัดไม้ทำลายป่า เท่ากับว่าคุณถอดปั๊มที่ถ่ายเทน้ำจากพื้นผิวสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณลมฝน
นักวิจัยยังได้ศึกษาบทบาทของต้นไม้ที่มีผลในการก่อตัวของเมฆ ต้นไม้และพืชชนิดอื่นๆ ปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายทางชีวภาพ (BVOCs) สารประกอบเหล่านี้ทำให้เกิดละอองน้ำที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นในอากาศ ซึ่งจะทำให้เกิดเมฆที่สว่างขึ้น เมฆที่สว่างขึ้นช่วยสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กลับเข้าสู่อวกาศได้มากขึ้น
ด้วยจำนวนป่าที่น้อยลงและ BVOCs ที่น้อยลงด้วย ส่งผลให้ความเย็นของเมฆจึงลดลง นำไปสู่สภาพแวดล้อมที่ร้อนขึ้นบนพื้นผิว นักวิจัยหวังว่าการค้นพบนี้จะส่งผลต่อกฎหมายในการลดการตัดไม้ทำลายป่า
เวอร์โชต กล่าวว่า “เรากำลังช่วยอธิบายให้รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายทราบว่ามีข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจในการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและการมีป่าไม้ในภูมิภาคเหล่านี้ทำให้เกิดความปลอดภัยทางเศรษฐกิจ เพราะเราไม่ได้มองแค่ในมุมมองของปล่อยก๊าซคาร์บอน”
ศาสตราจารย์ลอว์เรนซ์ กล่าวว่า “หากเรามองหาผลประโยชน์จากสภาพอากาศโดยรวม ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เราควรทำงานอย่างหนักเพื่อปลูกและบำรุงรักษาป่าในเขตร้อน และมองหาการจัดการป่าที่อยู่นอกเขตร้อนอย่างยั่งยืน”
.