อุตสาหกรรมปศุสัตว์อาจสูญเสียเงินนับพันล้านจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น

อุตสาหกรรมปศุสัตว์อาจสูญเสียเงินนับพันล้านจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น

การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet Planetary Health พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะก่อให้เกิดภัยคุกคามทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคที่มีรายได้ต่ำในประเทศยากจน เพราะความเครียดจากความร้อนที่เพิ่มขึ้นในปศุสัตว์ที่เกิดจากภาวะโลกร้อน

.
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างมากอาจส่งผลต่อน้ำหนักมวลรวมของผลผลิต ไม่ว่าจะเป็น น้ำนม, ความอุดมสมบูรณ์ และสุขภาพของสัตว์

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าภายในปลายศตวรรษที่ 21 เกษตรกรเหล่านี้อาจต้องสูญเสียรายได้ 15 ถึง 40 ล้านดอลลาร์ ต่อปี

นักวิจัยกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางมีความต้องการเพิ่มขึ้น บวกกับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เป็นไปในทางเดียวกัน ถ้าหากปศุสัตว์ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ร้อนขึ้นและเพิ่มผลผลิต ด้วยการการลงทุนและการปรับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงระบบระบายอากาศและความเย็น หรือการเปลี่ยนไปใช้สายพันธุ์โคที่ทนต่อความร้อนมากขึ้น เป็นสิ่งที่เหมาะสม

“เกษตรกรที่ขาดแคลนทรัพยากรในประเทศที่มีรายได้ต่ำต้องพึ่งพาการทำปศุสัตว์เพื่อดำรงชีวิต” ฟิลิป ธอร์นตัน หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยปศุสัตว์นานาชาติ (ILRI) อธิบายว่า “การปรับตัวในประเทศเหล่านี้มีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้น”

ธอร์นตันและเพื่อนร่วมงานประเมินว่าในสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียผลผลิตปศุสัตว์เนื่องจากความเครียดจากความร้อนจะอยู่ที่ 39.94 พันล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 9.8 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าการผลิตเนื้อสัตว์และนมจากโคในปี 2005 ตามปีที่นักวิจัยใช้เป็นฐานเปรียบเทียบ

แต่แม้จะทำงานกับสถานการณ์ที่มีการปล่อยมลพิษต่ำอย่างไรก็ตาม การสูญเสียก็คาดว่าจะสูงถึง 14.9 พันล้านดอลลาร์ต่อปีหรือ 3.7 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าปี 2005

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 21 คาดว่าผลิตภัณฑ์นมและเนื้อวัวในสหรัฐอเมริกาจะลดลง 6.8% ในขณะที่อินเดียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ของโลกอาจสูญเสียการเลี้ยงโคนมมากกว่า 45% เนื่องจากความเครียดจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น

ตามที่นักวิจัยอาวุโส มาริโอ เอร์เรโร ศาสตราจารย์ด้านระบบอาหารที่ยั่งยืนที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลกล่าวว่า “เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียจำนวนมหาศาลดังกล่าว มีความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างการปรับตัวที่เท่าเทียมกัน ที่สามารถเข้าถึงภาคส่วนที่เปราะบางที่สุดของสังคมโลกได้”

“ความยั่งยืนไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น มนุษย์เองก็เป็นองค์ประกอบประกอบพื้นฐานของความยั่งยืนเช่นกัน เราจำเป็นต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นั่นเป็นความจริงเพียงอย่างเดียว” ศาสตราจารย์เอร์เรโร สรุป
.

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code

.


เรื่อง : ปีกาญจนา สินวราวิวัฒน์
เรียบเรียงจาก : The cattle industry could lose billions due to heat stress
ภาพ : Jo-Anne McArthur via unsplash.com