การตัดไม้ทำลายป่า การทำเหมือง ไฟป่า เหล่านี้คือภัยคุกคามที่กำลังกัดกินผืนป่าแอมะซอนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ผลจากการกระทำ – ทำให้ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาผืนป่าแอมะซอนในเขตประเทศบราซิล กลายเป็นแหล่งปล่อยคาร์บอนมากกว่าที่เก็บกักได้
หักล้างความเชื่อเก่าที่บอกว่าแอมะซอนเป็นปอดของโลกไปโดยสิ้นเชิง
แต่ในงานวิจัยใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่มาล่าสุด ได้ขยายภาพความหายนะที่มากกว่านั้น
นักวิจัยพบว่า ป่าแอมะซอนกำลังสูญเสียพืชและสัตว์มากกว่า 10,000 สายพันธุ์ – ที่อาจจะนำไปสู่สถานะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้
การทำลายล้างอย่างต่อเนื่องที่เกิดจากการแทรกแซงของมนุษย์ ทำให้พืชเฉพาะถิ่นมากกว่า 8,000 ชนิดและสัตว์ 2,300 ตัวมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์
และมีความเป็นไปได้ว่า 35% ของสิ่งมีชีวิตในผืนป่าแห่งนี้อาจสูญพันธุ์จากหน้าที่ไปแล้ว
รายงานใหม่นี้จัดทำโดย Science Panel for the Amazon (SPA) โดยรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากนักวิทยาศาสตร์ 200 คนจากทั่วโลก
เป็นการประเมินที่ละเอียดที่สุดเกี่ยวกับสภาพแอมะซอนในปัจจุบัน
รายงานระบุว่า การทำลายล้างแอมะซอน “อาจทำให้ป่าแห่งนี้ไม่เหลืออะไรเลยภายในเวลาไม่ถึงทศวรรษ”
ภายใต้หมายเหตุว่า หากไม่ฟื้นฟูดูแล และปล่อยปะปัญหาให้ดำเนินต่อไป
ในบราซิล การตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ประธานาธิบฌาอีร์ โบลโซนาโร เข้ารับตำแหน่งในปี 2019
ในปี 2020 บราซิลเสียพื้นที่ป่าไป 1.7 ล้านเฮกตาร์
โบลโซนาโร อนุญาตให้มีการทำเหมืองและเกษตรกรรมในพื้นที่คุ้มครองของแอมะซอน
และลดทอนอำนาจงานบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้อ่อนแอลง
ส่งผลให้เกิดการทำลายล้างเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านโคลอมเบียเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีรายงานว่าการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับปี 2020
โดยเกือบ 64% เกิดขึ้นแอมะซอน
คุกคามและระรานกันอย่างต่อเนื่อง
ในวันที่ป่าแห่งนี้ยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดินและพืชพรรณในแอมะซอนมีคาร์บอนประมาณ 2 แสนล้านตัน มากกว่าการปล่อยคาร์บอนฯ ประจำปีของโลกถึงห้าเท่า
ทว่าการทำลายล้างได้ลบความสามารถของป่าฝนในการทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนฯ ไปหมดเสียแล้ว
อ้างอิง
ผู้เขียน
โซเชียลมีเดียที่เขียนบันทึกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคแอนโทโปรซีน