มลภาวะอากาศในเมืองทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.8 ล้านรายทั่วโลก

มลภาวะอากาศในเมืองทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.8 ล้านรายทั่วโลก

มลภาวะอากาศในเมืองทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.8 ล้านรายทั่วโลก

.
งานศึกษาซึ่งใช้แบบจำลองประมาณการพบว่าประชาชนราว 86 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 2.5 พันล้านคนที่อาศัยในพื้นที่เมืองทั่วโลกเผชิญกับระดับฝุ่นละออง มลภาวะอากาศ ที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ทำให้มีผู้เสียชีวิตส่วนเพิ่ม (excess deaths) 1.8 ล้านคนในปี พ.. 2562

นอกจากนี้ ยังพบเด็กป่วยเป็นโรคหอบหืดกว่า 2 ล้านรายเนื่องจากไนโตรเจนไดออกไซด์ในปีเดียวกัน โดยผู้ป่วยดังกล่าวราว 2 ใน 3 อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง ข้อมูลชุดใหม่นี้ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Planetary Health ซึ่งรวบรวมจากงานวิจัยสองชิ้นที่เน้นย้ำความสำคัญในการยกระดับคุณภาพอากาศและลดการปล่อยมลภาวะเพื่อรักษาสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กและผู้สูงอายุ
.

มลภาวะ PM2.5 ในปี .. 2562

งานวิจัยชิ้นแรกโดย Veronica Southerland จาก George Washington University ประมาณการแนวโน้มความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) แล้วนำมาศึกษาประกอบกับอัตราการเสียชีวิตของประชาชนในเมืองใหญ่ทั่วโลก

ก่อนการศึกษาชิ้นนี้ มีการวิจัยเพียงไม่กี่ชิ้นที่หาคำตอบว่าฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการเสียชีวิตมากน้อยเพียงใด แต่งานชิ้นดังกล่าวประเมินแนวโน้มการเสียชีวิตเทียบกับฝุ่น PM2.5 ในเมือง 13,000 เมืองทั่วโลกระหว่างปี พ.. 2543 – 2562

Veronica Southerland พบว่าความเข้มข้นของ PM2.5 คิดแบบเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจะอยู่ที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเมืองทั่วโลก ตัวเลขนี้คือ 7 เท่าของค่า PM2.5 ที่เหมาะสมตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกซึ่งระบุที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ผลการศึกษาพบว่าการเสียชีวิตราว 61 คน จาก 100,000 คน ในพื้นที่เมืองอาจเกิดจากการได้รับมลภาวะฝุ่น PM2.5 อย่างไรก็ดี แต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างของระดับความเข้มข้นของ PM2.5 ค่อนข้างมาก เช่นในพื้นที่เมืองแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่ามีปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้นสูงสุดราว 27 เปอร์เซ็นต์ ตลอดกรอบเวลาการศึกษา 19 ปี

ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองทั่วโลกยังต้องเผชิญกับระดับ PM2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” Southerland กล่าวการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพจากมลภาวะทางอากาศจำเป็นต้องมีนโยบายเชิงกลยุทธ์ที่ไม่เพียงลดการปล่อยมลภาวะ แต่ยังรวมทั้งลดความเสี่ยงของกลุ่มเปราะบางไปพร้อมกัน
.

โรคหอบหืดในเด็กกับมลภาวะทางอากาศ

การศึกษาชิ้นที่สองจัดทำโดย Susan Anenberg จาก George Washington University ซึ่งวิจัยผลกระทบจากแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ต่อสุขภาพ ซึ่งอาจนับเป็นการศึกษาชิ้นแรกที่พิจารณาแนวโน้มของแก๊สดังกล่าวซึ่งเป็นมลภาวะจากการคมนาคมกับโรคหอบหืดในเด็กซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง

ในงานวิจัยชิ้นนี้ ระดับความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์คำนวณด้วยความละเอียด 1 กิโลเมตรโดยผสมข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลภาคพื้นดิน จากนั้นจึงใช้ค่าความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ที่ประมาณการได้เพื่อเทียบกับระดับการเกิดโรคหอบหืดในกรณีฐาน และคำนวณว่ามลภาวะไนโตรเจนไดออกไซด์ส่งผลอย่างไรต่อการเกิดโรคหอบหืดในเด็กโดยใช้กรอบเวลาในการศึกษา 19 ปีเช่นกัน

ผลลัพธ์ปรากฏว่าเด็กที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดราว 1.85 ล้านคนเป็นผลมาจากการได้รับแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ในปี พ.. 2562 หรือคิดเป็นราว 8.5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเด็กรายใหม่ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดในปีนั้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยราว 2 ใน 3 ยังเป็นกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ในเมือง

ในพื้นที่ซึ่งมีนโยบายจัดการคุณภาพอากาศที่มีประสิทธิภาพ ความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทางเดินหายใจของเด็กๆ” Anenberg กล่าวแม้ว่าไนโตรเจนไดออกไซด์จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ระดับไนโตรเจนไดออกไซด์ในปัจจุบันก็ยังส่งผลให้เด็กป่วยเป็นโรคหอบหืด ตอกย้ำถึงความสำคัญในการดำเนินนโยบายเพื่อลดมลภาวะทางอากาศ

 

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code

 


อ่านงานวิจัยได้ที่

ผู้เขียน

+ posts

บัณฑิตการเงินและการบัญชีที่สนใจความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม หมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน เขียน เรียนคอร์สออนไลน์ และเลี้ยงลูกชายวัยกำลังน่ารัก