นักข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกถูกคุกคามเพราะการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น

นักข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกถูกคุกคามเพราะการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น

งานวิจัยล่าสุดของ Earth Journalism Network (EJN) เปิดเผยข้อมูลว่าผู้สื่อข่าวด้านปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 ใน 10 ราย เคยถูกคุกคามจากการทำหน้าที่รายงานข่าวสาร และมีผู้สื่อข่าวร้อยละ 11 ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง 

ข้อมูลนี้เกิดจากการเก็บข้อมูลสํารวจนักข่าวและบรรณาธิการมากกว่า 740 คนจาก 102 ประเทศทั่วโลก โดยพบว่า 39 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สื่อข่าวที่ถูกคุกคาม ‘บางครั้ง’ หรือ ‘บ่อยครั้ง’ โดยตกเป็นเป้าหมายของผู้คนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย อย่างเช่นการตัดไม้และการทำเหมือง ในขณะเดียวกันมีผู้สื่อข่าวร้อยละ 30 ถูกคุกคามด้วยการดําเนินการทางกฎหมาย สะท้อนถึงแนวโน้มที่บริษัทและรัฐบาลหันมาใช้ระบบตุลาการปิดเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารเพิ่มมากขึ้น 

การสํารวจทั่วโลกซึ่งจัดทำโดย Internews, EJN และ Deakin University เป็นการตรวจสอบครั้งแรกเกี่ยวกับความท้าทายที่นักข่าวต้องเผชิญซึ่งครอบคลุมประเด็นที่เร่งด่วนที่สุด  

โดยในรายงาน Covering the Planet ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักข่าว 74 คนจาก 31 ประเทศเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการในการทํางานเพื่อให้รายงานข่าวสารได้ดีขึ้น จากรายงานสภาพอากาศที่รุนแรง มลพิษจากพลาสติก การขาดแคลนน้ำ และการทำเหมือง เนื่องจากภาวะโลกร้อนและความโลภขององค์กรที่ไม่ได้รับการตรวจสอบผลักดันโลกเข้าสู่ขีดจำกัดเกินกว่าจะรับไหว 

เมื่อกว่าทศวรรษที่แล้ว คนส่วนใหญ่กล่าวว่าเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมมีความโดดเด่นมากกว่าเรื่องอื่นๆ แต่อัตราการรายงานข่าวของวิกฤตสภาพภูมิอากาศยังไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของปัญหา 

อุณหภูมิที่ทำลายสถิติ พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง และไฟป่าที่กําลังทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลกอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยชุมชนที่มีรายได้น้อย ชนพื้นเมือง และคนผิวสีมีความเสี่ยงต่อผลกระทบต่อสภาพอากาศมากที่สุด ตลอดจนภัยพิบัติที่เริ่มช้า เช่นระดับนน้ำทะเลที่สูงขึ้น ธารน้ำแข็งละลาย การทําให้มหาสมุทรเป็นกรด และการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ยังผลักดันการอพยพ ความหิวโหย และภัยพิบัติด้านสุขภาพ 

แม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะเป็นเรื่องใหญ่ แต่นักข่าวกว่า 39 เปอร์เซ็นต์ ที่งานวิจัยได้สำรวจตัดสินใจ‘เซ็นเซอร์ตัวเอง’ เพราะส่วนใหญ่กลัวผลกระทบที่อาจเกิดตามมาจาก ‘ผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย’ หรือรัฐบาล และไม่ใช่เพียงแค่บางส่วน แต่นักข่าวกับบรรณาธิการยังรู้สึกว่าพวกเขาถุกบังคับให้งดเว้นการเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญไปยังผู้รับข่าวสาร มี 62 เปอร์เซ็นต์ รายงานข้อความในด้านที่ไม่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากมนุษย์ หรือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ด้วยความเชื่อที่เข้าใจผิดว่าสิ่งนี้จำเป็นสำหรับความสมดุล 

“รายงาน ‘Covering the Planet’ ทําให้เกิดความท้าทายที่หลากหลายสําหรับนักข่าวทั่วโลก แต่งานนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนและมีความสําคัญ” Dr Gabi Mocatta หัวหน้านักวิจัยจาก Deakin University กล่าว “การศึกษานี้เป็นครั้งแรกที่นําเสนอข้อมูลเชิงลึกระดับโลกอย่างแท้จริงเกี่ยวกับการรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม…. ข้อมูลเชิงลึกที่ว่ามีความสําคัญเพื่อสนับสนุนและขยายงานของนักข่าวที่บอกเล่าเรื่องราวที่สําคัญที่สุดในยุคของเรา” 

การสํารวจยังพบความต้องการทรัพยากรเป็นจำนวนมากสําหรับข่าวสารที่ครอบคลุมสิ่งแวดล้อมและวิกฤตสภาพภูมิอากาศ กว่า 76 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสํารวจกล่าวว่า ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นทำให้การรายงานข่าวสารยังขาดมิติต่างๆ ที่ครบคลุมรายละเอียดทั้งหมด โดยระบุว่าต้องการเงินทุนเพิ่มเติมสําหรับการรายงานข่าวในเชิงลึก การฝึกอบรมแบบตัวต่อตัว การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญด้านวิชามากขึ้นเป็นหนึ่งในลําดับความสําคัญสูงสุดของพวกเขา 

หลายคนพึ่งพาเงินทุนจากแหล่งที่ไม่แสวงกาผลกำไรที่มักจะเชื่อมโยงกับหัวข้อเฉพาะ แต่นักข่าวต้องการอิสระในการทำข่าวด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในท้องถิ่นมากที่สุด 

James Fahn กรรมการบริหารของเครือข่ายวารสารศาสตร์โลกกล่าวว่า “นักข่าวที่สํารวจมีความแน่วแน่ในการอุทิศตนเพื่อรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลเสียต่อทั้งผู้คนและโลกใบนี้ แต่พวกเขาต้องการการสนับสนุนมากกว่านี้” 

ไม่ใช่แค่นักข่าวด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกคุกคามเท่านั้น มีนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิที่ดินทั่วโลกถูกสังหารไม่ต่ำกว่า 1,910 นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา 

เรียบเรียงจาก Nearly half of journalists covering climate crisis globally received threats for their work 

ผู้เขียน

+ posts

ชายหนุ่มผู้หลงไหลในกาแฟไม่ใส่น้ำตาล รักการเดินทางไปกับสินค้าของแบรนด์ Patagonia