เมื่อความเจริญของประเทศโลกที่หนึ่งส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาเผชิญกับหายนะจากปัญหาโลกร้อน

เมื่อความเจริญของประเทศโลกที่หนึ่งส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาเผชิญกับหายนะจากปัญหาโลกร้อน

ความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งผลให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเกิดความล้าหลังในเรื่องของเทคโนโลยีที่เป็นผลมาจากการขาดเงินทุน

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีต้นทุนมาจากการขูดรีดทรัพยากรทางธรรมชาติจากประเทศที่กำลังพัฒนาส่งผลให้ประเทศเหล่านี้มีเศรษฐกิจหลักจากการส่งออกวัตถุดิบให้แก่ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สินค้าทางเกษตรกรรม หรือ สินแร่จากการทำเหมืองที่นำไปทำแบตเตอรี่ให้กับอุตสากรรมยานยนต์ 

และการพึ่งพาสภาพภูมิอากาศที่มีความไม่แน่นอนจากภาวะโลกร้อนเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทางเกษตรกรรมในแต่ละปี 

ผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นห่วงโซ่ที่เกิดผลกระทบตามมาย้อนหลัง เช่น ธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลง 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศโลกที่หนึ่งซึ่งโดดเด่นด้วยการพัฒนาทางอุตสาหกรรมขั้นสูง นวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก การแสวงหาความรุ่งเรืองได้นำไปสู่การปฎิวัติอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดรูปแบบการใช้ชีวิตที่โดดเด่นด้วยลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism)

อย่างไรก็ตามศักยภาพที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเช่นกัน 

หากประชาคมโลกมีแนวคิดในการลดวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จากความพร้อมที่มากว่า ยกตัวอย่างเช่น ความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากาศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละประเทศมีอัตราที่เท่ากัน หากประเทศใดประเทศหนึ่งก่อมลพิษที่เกินค่าสมดุลก็ต้องจ่ายเงินชดเชยต่อมาหากเราพิจารณาจากรายได้ต่อหัวของประชากร ประเทศที่รายได้สูงมีอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำถึง 30 เท่า ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปลดปล่อยก๊าซ Co2 มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของโลก ประเทศที่กำลังพัฒนา 20 เปอร์เซ็นต์ ท้ายสุดคือกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดมีการปล่อยก๊าซน้องกว่า 1 เปอร์เซ็นต์

ในขณะที่พลเมืองของประเทศโลกที่หนึ่งอาจได้รับผลจากความสำเร็จทางเศรษฐกิจของตน แต่ประเทศกำลังพัฒนารู้สึกถึงผลสะท้อนกลับของการพัฒนาอย่างรุนแรงประเทศเหล่านี้มักขาดทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานในการรับมือกับผลกระทบด้านลบจากภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น รูปแบบสภาพอากาศและผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่แน่นอนรวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้ชุมชนต้องพลัดถิ่นและทำให้ทรัพยากรที่มีจำกัดก่อให้เกิดความตึงเครียด แออัดภายในชุมชน ความยากจนและความไม่เท่าเทียมรุนแรงขึ้นภายในสังคม

ความเชื่อมโยงระหว่างความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและความอยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมปรากฎชัดเจนขึ้นเมื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศโลกที่หนึ่งทำให้ความเปราะบาง (Vulnerability) ของประเทศที่กำลังพัฒนามีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ประเทศที่ร่ำรวยกว่าซึ่งเคยรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ในอดีตหลบเลี่ยงผลที่ตามมาจากการกระทำของพวกเขา ในขณะเดียวกัน ความรุนแรงของกาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ตกอยู่กับผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวน้อยที่สุด ความแตกต่างนี้ยังคงทำให้วงจรของความยากจนยังคงดำรงอยู่ต่อไปและขัดขวางวิถีการพัฒนาของประเทศที่กำลังดิ้นรนอยู่แล้ว

การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศโลกที่หนึ่งไม่เพียงแต่มีส่วนช่วยในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้นแต่ยังพลักดันให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในประเทศกำลังพัฒนาอีกด้วย ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบไปจนถึงการกำจัดของเสีย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการบริโภคที่เกินความจำเป็นที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนามักกลายเป็นแหล่งสกัดทรัพยากรซึ่งเป็นที่ต้องการของคนร่ำรวยส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในประเทศนั้น

ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของมาตรการที่จะช่วยให้พวกเขาปรับตัวและมีความยืดหยุ่นต่อความท้าทายที่เกิดจากภาวะโลกร้อน พวกเขาสามารถทำได้โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถทนต่อเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง การนำแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืนไปใช้ และส่งเสริมความยืดหยุ่นของชุมชน ความร่วมมือและองค์กรระหว่างประเทศสามารถสนับสนุนความพยายามเหล่านี้ได้โดยการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

อ้างอิง

ภาพประกอบ

  • Seb Zurcher and Miriam Corcuera 

ผู้เขียน

+ posts

ชายหนุ่มผู้หลงไหลในกาแฟไม่ใส่น้ำตาล รักการเดินทางไปกับสินค้าของแบรนด์ Patagonia