พบหลุมโอโซนใหญ่กว่าแอนตาร์ติกกาถึงสองเท่า! 

พบหลุมโอโซนใหญ่กว่าแอนตาร์ติกกาถึงสองเท่า! 

โลกเดือดของจริง? หลังจากมีการพบหลุมโอโซนขนาดใหญ่กว่าทวีปแอนตาร์ติกาถึงสองเท่า! ข้อมูลดาวเทียมระบุ ครั้งนี้ถือเป็นหลุมใหญ่สุดเท่าที่เคยมีมาเลย 

ดาวเทียมโคเปอร์นิคัส เซนติเนล-5พี ขององค์การอวกาศยุโรป (The European Space Agency Copernicus Sentinel-5P) ได้ทำการบันทึกภาพหลุมโอโซนดังกล่าวได้ จากการดำเนินโครงการติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป 

นักวิทยาศาสตร์เรียกหลุมดังกล่าวว่า “พื้นที่สูญเสียทางโอโซน หรือ ozone depleted area” อย่างไรก็ดี หลุมดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าทวีปแอนตาร์กติกกาถึงสองเท่า หรือประมาณ 26 ล้านตารางกิโลเมตร 

ขนาดของหลุมโอโซนจะผันผวนอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ซึ่งหลุมโอโซนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยจะใหญ่สุดในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม 

ปกติแล้วหลุมโอโซนที่เปิดขึ้นตามเวลาดังกล่าวจะเกิดจากการหมุนของโลกที่ทำให้เกิดลมพิเศษเหนือทวีปแอนตาร์กติกา และเมื่อลมหมด หลุมก็จะปิดลง 

อย่างไรก็ตาม Claus Zehner ผู้จัดการภารกิจ กล่าวว่า “นี่คือหลุมโอโซนขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นมา จากดาวเทียมตรวจวัดก๊าซในชั้นบรรยากาศตรวจพบว่าหลุมโอโซนปีนี้เริ่มต้นเร็วกว่าปกติ และมีอัตรการขยายตัค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว”

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ถึงสาเหตุของหลุมโอโซนขนาดใหญ่กว่าปกติครั้งนี้ว่าเกิดขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟตองกา ซึ่งปะทุรุนแรงมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา ในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 ถึง มกราคม ค.ศ. 2023 ที่ผ่านมา

Zehner กล่าวว่า “ในสภาวะปกติ ก๊าซที่ปล่อยออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟจะคงอยู่ต่ำกว่าชั้นบรรยากาศ แต่การปะทุของภูเขาไฟตองกาในครั้งนี้ดันส่งไอน้ำจำนวนมากไปถึงชั้นบรรยากาศ โดยน้ำมีผลกระทบอย่างมากต่อชั้นโอโซน เนื่องจากปฏิกิริยาเคมีจะเปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นความร้อนที่สามารถทำลายชั้นโอโซนได้ ยิ่งการปะทุในครั้งนี้ดันปล่อยน้ำมากกว่า 50 ล้านตันออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ หรือกล่าวได้ว่าน้ำในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นมาถึง 10% เลยทีเดียว” 

สถานการณ์เอลนีโญในปีนี้อาจมีบทบาทเล็กน้อย ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบริเวณโดยรอบขั้วโลก แต่ความเกี่ยวข้องกันดังกล่าวยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ในปัจจุบัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองส่วนนี้ต่อไป 

แล้วโอโซนมันสำคัญกับโลกเราอย่างไร? 

โอโซนเป็นก๊าซปริมาณน้อยในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในชั้นบรรยากาศทั้งสี่ของโลก มันมีหน้าที่เป็นเกราะป้องกันก๊าซที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ปกป้องมนุษย์และระบบนิเวศต่าง ๆ จากรังสียูวีที่เข้ามาในปริมาณมากเกินไป 

ปริมาณรังสียูวีที่เข้ามามากเกินไปอาจส่งผลอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ ตัวอย่างเช่น หากมนุษย์ได้รับรังสียูวีมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ดังนั้น อะไรก็ตามที่ปกป้องเราจากรังสียูวีได้ ก็ถือว่าช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งได้นั่นเอง 

ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักของหลุมโอโซนในครั้งนี้จะมาจากการปะทุของภูเขาไฟ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงต้องการให้มนุษย์ตระหนักต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของหลุมโอโซนเช่นเดียวกัน 

จากการตรวจวัดภาคพื้นดินและดาวเทียมพบว่า การใช้สารเคมีที่เรียกว่า  ‘สารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน หรือ สาร CFC’ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชั้นโอโซนถูกทำลาย

ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปี 1987 ได้เกิดการลงนามในพิธีสารมอนทรีออล เพื่อยุติการผลิตสารอันตรายเหล่านี้ นับตั้งแต่มีพิธีสารดังกล่าว หลุมโอโซนมีขนาดเล็กลงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์ชี้แจงต่อว่า โอโซนนั้นไม่ใช่สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่การที่อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นนั้น อาจส่งผลกระทบต่อหลุมโอโซนอย่างมีนัยยะสำคัญ 

แม้ว่าหลุมโอโซนในครั้งนี้จะใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบเจอมาก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ไม่จำเป็นที่เราจะต้องตื่นตระหนก เนื่องจากพื้นที่ด้านล่างหลุมโอโซนนั้นไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่ และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหลุมดังกล่าวก็จะปิดสนิทเอง ที่สำคัญหากสาร CFC ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ชั้นโอโซนทั้งหมดจะกลับมาสมบูรณ์อีกครั้งภายในปี 2050  

อ้างอิง

ผู้เขียน

+ posts

หนุ่มน้อยผู้หลงรักความไม่สมบูรณ์แบบ ออกเดินทางเพื่อเก็บภาพความงดงามของธรรมชาติ และชอบอ่านวรรณกรรมเป็นชีวิตจิตใจ