จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้การประชุม COP26 ระหว่างผู้นําโลกที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ต้องเลื่อนออกไปจนถึงเดือน พ.ย. 2564
โดยสถาบัน European Policy Centre (EPC) ในกรุงบรัสเซลส์ จัดเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “The road to Glasgow and COP26: Time to accelerate global efforts to tackle climate change” โดยหัวข้อสําคัญของการประชุมครั้งนี้ คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด ที่มีเรื่องโลกร้อน และกรอบเวลาที่ประเทศต่างๆ ที่ต้องเร่งดําเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ตามเงื่อนไขของความตกลงปารีส
ในปี 2563 ที่ผ่านมามีสัญญาณเชิงบวกจากผู้นําจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึง EU แต่ยังมีความท้าทายในการนําไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งต้องมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการของแต่ละประเทศ (Nationally Determined Contribution : NDCs) ว่าจะเพียงพอหรือไม่ในภาพรวมที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศา ในขณะที่ต้องจับตาท่าทีของสหรัฐฯ รัสเซีย ออสเตรเลีย และบราซิล
ส่วนประเทศไทยได้จัดงานแถลงความสำเร็จผลการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมาย NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Action) และเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมาย NDCs เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา
นาย Jacob Werksman (DG Clima) กล่าวว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนของอียูแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย
(1) ระดับประเทศ ประเทศสมาชิก EU ตั้งเป้าว่าจะลดก๊าซเรือนกระจก จากเดิมร้อยละ 40 เป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 55 ภายในปี 2573
(2) ระดับทวิภาคี เรียกร้องให้สหรัฐฯกลับเข้ามาเพิ่มบทบาทด้านการลดก๊าซของประเทศให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ส่วนประเทศกําลังพัฒนาควรมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านกองทุนในการปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี 2568
(3) ระดับสากล EU ต้องการผลักดันการกําหนดบรรทัดฐานสากลในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการติดตามความก้าวหน้า ในการดําเนินงานตาม NDCs ตลอดจนการจัดทําบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
นอกจากนี้ทางกลุ่ม Carbon Market Watch กล่าวว่า ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาโลกร้อนคือการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศและไม่เห็นด้วยกับกลไกการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศ
เช่น กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ที่อนุญาตให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถนําปริมาณก๊าซที่ลดได้จากโครงการในประเทศกําลังพัฒนา ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตมาคํานวณ เสมือนว่าได้ดําเนินการลดในประเทศของตนเองเพื่อบรรลุ NDC เนื่องจากมีความเสี่ยงว่าอาจมีการนับซ้ำ
photo rafapress l shutter stock