ตลาดค้าสัตว์ป่าหันไปใช้ช่องทางออนไลน์แทน ในช่วงที่จีนสั่งปิดเมืองระงับการแพร่เชื้อ

ตลาดค้าสัตว์ป่าหันไปใช้ช่องทางออนไลน์แทน ในช่วงที่จีนสั่งปิดเมืองระงับการแพร่เชื้อ

การเปลี่ยนไปค้าขายทางออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมากเพราะ COVID-19 สร้างแรงกดดันต่อจีนในด้านความน่าเชื่อถือของการค้าที่ถูกกฎหมาย

เชื่อกันว่าตลาดขายอาหารทะเลฮั่วนาน เป็นที่แรกที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ถูกสั่งปิดเพื่อทำการฆ่าเชื้อ ตลาดแห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการค้าสัตว์ป่าอีกด้วย 

เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นเมืองระดับที่โด่งดังในด้านการค้าขายแบบ E-commerce และการขนส่งสินค้า กำลังถูกกดดันจากรัฐบาล และนักอนุรักษ์ให้หยุดปฏิบัติงาน เพราะเชื่อว่าเป็นที่แห่งนี้เป็นทางผ่านของการค้าขายสัตว์ป่า ข้อบังคับได้ออกมาในช่วงปลายเดือนมกราคมเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งคาดว่าการระบาดน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการค้าสัตว์ป่า และการส่งออกสู่ต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันกลุ่มอนุรักษ์ก็ได้เรียกร้องให้จีนออกมาตรการอย่างจริงจัง ในการควบคุมธุรกิจการค้าสัตว์ป่าที่มีกำไรได้สูงมาก เพื่อความชัดเจน และเพิ่มความเกรงกลัวต่อการจัการกับธุรกิจที่ผิดกฎหมายนี้

ในเดือนแรกของการระงับแพลตฟอร์ม E-commerce ทำให้เกิดการสกัดกั้นผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า 140,000 รายการ เช่น ผลิตภัณฑ์จำพวกเนื้อสัตว์ไปจนถึงชิ้นส่วนสัตว์ที่ใช้ในการแพทย์แผนจีน และได้ทำการปิดบัญชีประมาณ 17,000 บัญชีที่เกี่ยวข้องกับการค้าเหล่านั้น เจ้าหน้าที่จากสภาแห่งรัฐของจีนกล่าวเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์

กระทรวงคมนาคมของประเทศได้ออกคำสั่งให้บริษัทจัดส่งสินค้าเป็นด่านแรกในการกลั่นกรอง เพื่อหยุดการขนส่งสัตว์ป่าที่ยังมีชีวิต และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าอื่น ๆ โดยบริษัทจัดส่งสินค้าต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการตรวจสอบพัสดุก่อนส่งมอบ

Photo : Andy Wong จีนได้สัญญาว่าจะปราบปรามการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และกระตุ้นให้ผู้คนไม่บริโภคสัตว์ป่าหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของ coronavirus

สัญญาที่จะจัดการกับปัญหา

ตามรายงานของ Chinese Academy of Engineering ประเทศจีนได้สัญญาที่จะแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าสัตว์ป่า ที่มีมูลค่าถึง 74,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ความเปลี่ยนแปลงในตอนนี้ปรากฎให้เห็นแค่เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการบริโภคสัตว์ป่าเท่านั้น

นี่หมายความว่าอุตสาหกรรมขนสัตว์และเครื่องหนัง รวมถึงการค้าชิ้นส่วนสัตว์ป่าที่จัดหาเพื่อการแพทย์แผนจีน สามารถดำเนินการได้ตามปกติ สิ่งนี้จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และยังก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคที่มีที่มาจากสัตว์ป่าสู่มนุษย์อย่างเช่น COVID-19 กล่าวโดยกลุ่มนักอนุรักษ์สัตว์ป่า

Zhou Jinfeng ผู้อำนวยการมูลนิธิอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของจีน กล่าวว่า “ในตอนนี้กฎหมายที่มี ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมการค้าทางออนไลน์ ถ้ารัฐบาลไม่สามารถเพิ่มระบบการจัดการการค้าสัตว์ป่าทางออนไลน์ การจะหยุดการค้าสัตว์ป่านั้นจะเป็นเรื่องที่ยากมาก และฉันหวังว่ารัฐบาลจะมีมาตรการในการจัดการกับการต้าออนไลน์ได้ในเร็ววัน”

ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มของ Zhou Jinfeng ได้ทำงานร่วมกับบริษัทค้าขายออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Alibaba, Tencent, JD.com และอื่น ๆ ในหัวข้อการรณรงค์เรื่อง “Wildlife Free E-Commerce” โดยเป้าหมายคือการตรวจคัดกรองสินค้าไม่เพียงแต่สัตว์ป่า หรือชิ้นส่วนของสัตว์ป่า แต่ยังรวมไปถึงเครื่องมือในการล่าสัตว์ต่าง ๆ เช่น อวนจับนก อุปกรณ์เปิดสียงเพื่อเรียกสัตว์ป่า กับดักสัตว์ และไฟฉายเฉพาะที่ใช้สำหรับล่าสัตว์

กลุ่มของ Zhou Jinfeng ยังได้สร้างแรงกดดดันต่อเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ในการลงโทษต่อบริษัทที่เป็นรายใหญ่ในธุรกิจการค้าสัตว์ป่า และหวังว่าเมื่อจัดการกับรายใหญ่ได้แล้ว รายเล็กจะค่อย ๆ ถอยกันไปเอง โดยเป้าหมายคือการลดการละเมิด และการเพิกเฉยต่อกฎหมายสิ่งแวดล้อม และกลุ่มของ Zhou Jinfeng ยังได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีนอีกด้วย

Grace Gabriel ผู้อำนวยการองค์กรกองทุนนานาชาติเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ของทวีปเอเชีย (IFAW) กล่าวว่า “องค์กรได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อต่อสู้กับการค้าสัตว์ป่ามานานแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ.2007 ทางองค์กรได้ทำงานร่วมกับ Alibaba และ Taobao ในการเอางาช้าง กระดูกเสือ ถุงน้ำดีหมี และนอแรด ออกจากแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้า เช่นเดียวกันกับครีบฉลาม และตัวลิ่น

การอนุญาตให้ล่า

IFAW และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และกลุ่มต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า ได้ร่วมมือกับบริษัท Alibaba และ Tencent ในปี ค.ศ.2017 เพื่อร่วมกันจัดตั้งกลุ่มต่อต้านการค้าสัตว์ป่าออนไลน์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดการค้าสัตว์ป่าออนไลน์ลง 80% ภายในสิ้นปี ค.ศ.2020

วิธีการที่ทางกลุ่มใช้คือการกดดันรัฐบาลในเรื่องการอนุญาตให้ล่าสัตว์ป่า ซึ่งทางกลุ่มได้ทำการต่อต้านที่รัฐบาลได้อนุญาตให้ซื้อขายสัตว์ป่า และส่วนได้ส่วนหนึ่งของสัตว์ป่าจำนวน 54 สายพันธุ์ ได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้านี้สายพันธุ์พวกนี้ได้ถูกสั่งห้ามซื้อขายไว้

การประกาศอนุญาติกิจกรรมเหล่านั้นทำให้เกิดช่องโหว่ที่พวกค้าสัตว์ป่าจะใช้ในการค้าขายได้ และที่สำคัญคือกฎหมายนี้ขัดแย้งกันโดยตรงกับอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ซึ่งจีนก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ลงนามยอมรับข้ออนุสัญญาฉบับนี้

Grace Gabriel กล่าวว่า “การที่จีนอนุญาติให้ทำแบบนี้ทำให้สัตว์ป่ากลายเป็นสินค้าทั่วไปที่สามารถซื้อขายได้ ผู้ค้าสัตว์ป่าจึงจับสัตว์ป่าแล้วนำมาขายตามตลาดที่ได้รับอนุญาต และสิ่งสำคัญที่ต้องทำในตอนนี้คือการปฏิรูปการค้าออนไลน์ว่าอะไรขายได้อะไรห้ามขาย”

Steve Blake หัวหน้าสำนักงานปักกิ่งของกลุ่มที่ไม่แสวงหาผลกำไร WildAid ทำงานร่วมกับ Tencent และแพลตฟอร์ม E-Commerce อื่น ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับวิธีจัดการกับการค้าสัตว์ป่า โดยปัญหาที่เกิดขึ้นตามที่บริษัทอ้างคือการเจอกับปัญหาความไม่แน่นอนของกฎหมาย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของผู้ซื้อ และผู้ขาย

สำนักข่าว Al Jazeera ได้ติดต่อทางบริษัท E-Commerce ต่าง ๆ เพื่อขอหารือเกี่ยวกับปัญหาที่พวกเขาเผชิญในการติดตาม และตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า แต่ Tencent ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น อีกทั้ง Alibaba และ JD.com ไม่ตอบสนองต่อการร้องขอ

Blake กล่าวว่า “รัฐบาลจำเป็นต้องชี้แจงว่าสายพันธุ์ใดที่เป็นสายพันธุ์ต้องห้าม และปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้มีการบังคับใช้ที่ดีขึ้น มันอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการเปลี่ยนจากระบบที่มีความสับสน และล้าสมัยไปเป็นระบบที่มีการกำกับดูแล และการบังคับใช้ที่เข้มงวด และแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน”

Photo : Alex Plavevski ตลาดทั่วประเทศจีนรวมถึงตลาดนี้ในกวางโจวถูกปิดตัวลงเพื่อลดการแพร่กระจายของ Coronavirus ตลาดอาหารทะเลกวางโจวเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับสัตว์ป่าแปลก ๆ เช่น จระเข้

สิ่งที่เกิดขึ้นในอู่ฮั่น

ตัวลิ่น ค้างคาว และสัตว์ป่าอื่น ๆ ที่มีความสามารถจะเป็นพาหะของไวรัสในตระกูล Coronavirus ได้ถูกเพ่งเล็งว่าจะเป็นพาหะนำเชื้อ COVID-19 ในครั้งนี้ แต่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนหรือหน่วยงานด้านสุขภาพอื่น ๆ ในประเทศ ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่สามารถระบุพาหะที่แน่นอนได้

โฆษกขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้บอกว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบการระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่ตลาดขายอาหารทะเลฮั่วนาน ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นแหล่งในการจำหน่ายเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค และเป็นสถานที่ที่คาดกันว่าเป็นที่แรกที่เชื้อ COVID-19 แพร่จากสัตว์สู่มนุษย์

ตลาดถูกปิดไปในเดือนมกราคม แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่ามีกาจัดการอย่างไรกับสัตว์ และเนื้อสัตว์ที่ถูกวางขาย และก็ยังไม่ทราบอีกด้วยว่าทางการได้มีการตรวจสอบการแพร่กระจายของเชื้ออย่างเหมาะสมก่อนการปิดตลาดหรือไม่

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563 สำนักข่าว Al Jazeera ได้ถูกปฏิเสธจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ถึงคำร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องแหล่งที่มาของสัตว์ และเนื้อสัตว์ที่วางขายในตลาด 

Richard Thomas โฆษกขององค์กร TRAFFIC (องค์กรเครือข่ายการสำรวจตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า) ได้บอกว่า “ช่องโหว่กฎหมายการค้าสัตว์ป่าไม่ใช่ประเด็นหลักในการทำให้เกิดการระบาด แต่เป็นกรรมวิธี และคุณภาพของกระบวนการที่เป็นสาเหตุหลักไม่ใช่แค่ COVID-19 แต่รวมถึงการระบาดของโรคบางโรคในอดีตด้วย เช่น โรคซาร์ส และอีโบลา”

Richard Thomas ยังได้กล่าวอีกว่า “รัฐบาลทั่วโลกกำลังเจอกับปัญหาที่ยากต่อการตัดสินใจ หากรัฐพยายามห้ามการค้าขายสัตว์ป่า ตลาดการค้าสัตว์ป่าก็จะกลายไปเป็นตลาดมืดมุดลงใต้ดินอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งสภาพที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโอกาศการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เรากำลังทำกันอยู่ก็เหมือนกับแค่รอเวลาให้โรคที่แพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนอันใหม่เกิดระบาดขึ้นในอนาคต ในทางกลับกันกฎหมายควรควบคุม และตรวจสอบการค้าเหล่านี้อย่างละเอียด และเข้มงวด เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแบบที่เรากำลังเจออยู่ในตอนนี้”

การค้าที่ได้รับการตรวจสอบ และควบคุมไม่ว่าในระดับใดก็ตาม จะปลอดภัยกว่าการค้าแบบตลาดมืดใต้ดินอย่างผิดกฎหมาย

มันเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจว่าจะเดินทางไหน และไม่ว่าจะเป็นทางไหนก็จำเป็นต้องใช้งบประมาณที่มากขึ้นสำหรับการควบคุม และตรวจสอบ รวมไปถึงงบประมาณด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ไม่เพียงแต่ในกระบวนการค้าขายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงในระหว่างกระบวนการผลิตทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นการผสมพันธุ์สัตว์ไปจนถึงการขนส่ง และการกระจายสู่ผู้บริโภค

“ผลดีการระบาดครั้งนี้ คือผู้คนจะรับรู้ว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องการอนุรักษ์อีกต่อไป” – Grace Gabriel

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก Illegal wildlife trade goes online as China shuts down markets
ถอดความและเรียบเรียงโดย วณัฐพงศ์ ศิริวิภานันท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร