การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกส่งผลกระทบในด้านลบต่อการทำประมง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกส่งผลกระทบในด้านลบต่อการทำประมง

กว่า 80 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นได้ทำให้ผลผลิตการประมงทั่วโลกลดลง และในหลาย ๆ พื้นที่ถึงกับต้องหยุดชะงักไปเลย

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ในวารสาร Science ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นต่อปลาสายพันธุ์ที่สำคัญในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมการประมงส่วนใหญ่นั้นเป็นการประมงในพื้นที่ โดยเป้าหมายของชาวประมงคือกลุ่มของปลาสายพันธุ์ในท้องถิ่นที่ของพื้นที่นั้น ๆ ที่จะสามารถจับได้ในเชิงพาณิชย์ และโดยเฉลี่ยแล้วนักวิจัยพบว่าจำนวนของปลาสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการทำการประมงทั่วโลก กำลังลดลงด้วยอัตราเร็ว 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2473

การประมงบริเวณทะเลญี่ปุ่น และทะเลเหนือ ได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุด พวกเขาเคยเผชิญกับการลดลงของจำนวณปลามากถึง 35% ถึงแม้ว่าจำนวณของปลาในบางพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากน้ำที่อุ่นขึ้น แต่นักวิจัยก็ได้ออกมาเตือนว่าสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของประชากรปลานี้อาจจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืน

Chris Free นักนิเวศวิทยาจาก University of California Santa Barbara และผู้นำการวิจัยในครั้งนี้ได้กล่าวว่า “พวกเรารู้สึกประหลาดใจถึงความรุนแรงของผลกระทบต่อประชากรของปลาในทะเล ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล”

การรับมือกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล

ในการวัดผลกระทบของภาวะโลกร้อน และการตกปลามากเกินไป เริ่มต้นโดยดูข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลังไป 80 ปี เพื่อทำการเปรียบเทียบกับการจับปลาในปัจจุบันที่ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงกว่าแต่ก่อน ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจประชากรปลา 235 ตัวอย่าง จาก 124 สายพันธุ์ กระจายไป 38 ภูมิภาคทั่วโลก

น้ำอุ่นสามารถทำให้การประมงมีขนาดเล็กลงด้วยการเพิ่มความเครียดเมตาบอลิซึมในปลาทำให้ยากต่อการสืบพันธุ์หรือหาอาหาร น้ำอุ่นยังสามารถทำให้แพลงก์ตอนสัตว์อาหารปลาที่จำเป็นลดลง ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนั้นมีผลกระทบต่อส่วนที่เหลือของห่วงโซ่อาหาร

อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงเกินไปทำให้เกิดผลเสียติอการประมง โดยการเพิ่มความเครียดต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมในปลา ทำให้ยากต่อการสืบพันธุ์ และเจริญเติบโต น้ำที่อุณหภูมิสูงยังสามารถทำให้แพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นอาหารหลักของปลาสายพันธุ์ต่าง ๆ มีจำนวนลดลง ซึ่งแน่นอนว่าในระบบห่วงโซ่อาหารผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อส่วนที่เหลือของห่วงโซ่อาหารเช่นกัน

ในทะเลเหนือ และทะเลญี่ปุ่นที่เราได้กล่าวถึงผลกระทบไปก่อนหน้านี้ นักวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูล และพบว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลในสองที่นั้นมีการเพิ่มจริง แต่ที่แย่ยิ่งกว่าคือการจับปลาที่มากเกินพอดี ทำให้การประมงในสองพื้นที่นั้นมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปกว่าเดิม

Malin Pinsky นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัย Rutgers และผู้ร่วมทำงานวิจัยในครั้งนี้ได้กล่าวว่า “การประมงจะมีประสิทธิภาพที่ลดลงถ้าอุณหภูมินั้นเพิ่มขึ้น” เขายังได้บอกอีกว่า “เมื่อ Chris Free นำตัวเลขเหล่านี้มาให้ผม ผมก็ตกตะลึงอย่างมาก เรารู้ว่าอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทำให้สัตว์นั้นย้ายถิ่นฐานไปที่ที่เหมาะสมกว่าเดิม แต่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วมันยังส่งผลกระทบต่อการผลิตประชากรรุ่นต่อ ๆ ไปอีกด้วย”

การลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน

นักประมง Will White จาก Oregon State University ซึ่งไม่ได้เป็นหนึ่งในทีมวิจัยครั้งนี้ได้กล่าวถึงข้อสรุปของงานวิจัยนี้ว่าควรเน้นในด้านการจัดการประมงให้มีประสิทธิภาพ “ในอดีตนั้นมีการจับปลาปริมาณมากนอกชายฝั่งตะวันตก(แปซิฟิก) แต่ด้วยการจัดการประมงที่ดีขึ้น ทำให้สมดุลของประชากรปลานั้นมีความยืดหยุ่นมากขึ้น” 

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึงปี พ.ศ.2559 ชายฝั่งตะวันตกได้สัมผัสกับมวลกลุ่มก้อนของน้ำอุ่นที่เรียกว่า “blob” มันทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก มันทำให้สัตว์ทะเลอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ที่เป็นอาหารหลักของปลาแซลมอนลดจำนวนลงอย่างมาก ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของประชากรปลาแซลมอนที่สูงขึ้น

“ฉันไม่แน่ใจเลยว่าจะมีวิธีไหนจะจัดการกับปัญหาของเราได้” Will White กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในมหาสมุทรอย่างเฉียบพลัน แต่อย่างไรก็ตามเขาบอกว่าการหาทางแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องถูกนำมาพิจารณาในการสร้างระบบการจัดการการประมง 

Malin Pinsky ได้เตือนว่าจำนวนที่เพิ่มขึ้นของปลาอาจไม่ได้หมายถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้นเสมอไป “ปลาก็เหมือนคน เย็นไปก็ไม่ดี ร้อนไปก็ไม่ได้ การเจริญเติบโตที่ดีควรอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม”

การเพิ่มจำนวนประชากรของสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ และยิ่งไปกว่านั้นอาจจะทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุลได้ ดังเช่นในกรณีนอกชายฝั่งของเมืองนิวอิงแลนด์ ประชากรของปลากะพงดำได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก และเจ้าปลากะพงดำมันก็ชอบกินกุ้งมังกรเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อประชากรกุ้งมังกร และยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสายพันธุ์อื่นไปอีกเรื่อย ๆ เปรียบเหมือนลูกคลื่น

การผลิตอาหารให้กับโลก

หากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรยังคงที่อยู่ในอัตราเดียวกันกับอัตราในปัจจุบัน โลกจะต้องเพิ่มการผลิตอาหารเป็นสองเท่าภายในปี พ.ศ.2593 เพื่อการเพิ่มกำลังการผลิตอาหารผู้นำของชาติต่าง ๆ ในโลกกำลังมองถึงการทำประมงเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ สำหรับคนหลายล้านคนทั่วโลก

ในปี 2559 มีการจับปลาจากทะเลเป็นปริมาณ 171 ล้านตัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 201 ล้านตัน ภายใน 10 ปีข้างหน้า

Malin Pinsky กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความมั่นคงด้านอาหารเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก” ผู้คนประมาณสามพันล้านคนทั่วโลกนั้นใช้ปลาเป็นแหล่งอาหารหลัก “ยิ่งไปกว่านั้นเรายังรู้ว่ามันมีผลกระทบในระดับท้องถิ่นเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ทำมาหากินกับการจับปลาเหล่านี้”

Malin Pinsky คิดว่าการจัดการที่ดีจะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่นการกำหนดเขตห้ามจับปลา และการสั่งห้ามจับปลาในฤดูผสมพันธุ์เพื่อเว้นช่วงให้ปลาสามารถเพิ่มประชากรที่สูญเสียไปจากการจับปลาที่มากเกินไปได้

ท้ายที่สุดนี้ Chris Free กล่าวว่าการศึกษาของเขาเน้นถึงผลกระทบในวงกว้างที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกตามมา เขายังบอกอีกว่าการประมงในบางพื้นที่ก็ยังมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อไป 

สุดท้ายนี้ Chris Free ได้กล่าวปิดท้ายว่า “พวกเราจะต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง”

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก Climate change is depleting our essential fisheries
ถอดความและเรียบเรียงโดย วณัฐพงศ์ ศิริวิภานันท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร