จากประกาศ พระราชกฤษฎีกา เล่มที่ 141 ตอนที่ 58 ก วันที่ 24 กันยายน 2567 และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
กำหนดให้เพิ่มสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ในบัญชีสัตว์ป่าสงวนท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ลำดับที่ 15 เปลี่ยนสถานะจากสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าสงวน
กำหนดให้เพิ่มสัตว์ป่าจำพวกนก นกชนหิน (Rhinoplax vigil) ในบัญชีสัตว์ป่าสงวนท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ลำดับที่ 4 เปลี่ยนสถานะจากสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าสงวน
ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีสัตว์ป่าสงวนทั้งสิ้น 21 ชนิด ได้แก่ สมเสร็จ เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน พะยูน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียนพันธุ์ไทย แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา วาฬบรูดา วาฬโอมูระ เต่ามะเฟือง ปลาฉลามวาฬ วาฬสีน้ำเงิน และนกชนหิน
ตามพระราชกฤษฎีกา ระบุว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤฎีกา ฉบับนี้ คือ เนื่องขากปัจจุบัน วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) และนกชนหิน (Rhinoplax vigil) ในสภาพธรรมชาติมีเหลืออยู่จำนวนน้อยมาก และถูกคุกคามสูงจากการล่าเพื่อนำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภคหรือประโยชน์อื่น จนถูกขึ้นบัญชีสถานภาไให้เป็นชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ทั้งในระดับโลกและในประเทศไทย
ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองทางกฎหมายให้เข้มงวดขึ้น และเป็นการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับนานาชาติ ประกอบประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convertion in International Trade in Endangered Speedes of Wild Fauna and Flora (CITES)) จึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าอย่างเหมาะสม สมควรกำหนดให้ วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) และนกชนหิน (Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 จึงตำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
อ้างอิง