หอยทากบกเรืองแสง International Mollusc of the Year 2024

หอยทากบกเรืองแสง International Mollusc of the Year 2024

เมื่อไม่นานมานี้ หอยเรืองแสงของไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็น International Mollusc of the Year 2024 ด้วยคะแนน 3,279 จากทั้งหมด 6,263 คะแนนเสียงทั่วโลก 

หอยทากบกเรืองแสง (The Glow Stick Snail) จัดอยู่ในชนิด Phuphania crossei สกุล Phuphania ซึ่งเป็นสกุลที่ค้นพบใหม่ของโลกเมื่อปี ค.ศ. 2007 โดยคณะนักวิจัยไทย โดยชื่อสกุลตั้งมาจากเทือกเขาภูพานที่เป็นสถานที่ค้นพบหอยสกุลนี้ชนิดแรก หอยชนิดนี้อาศัยอยู่ในระบบนิเวศป่าเขตร้อนในประเทศไทยภาคกลาง และป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่  

ลักษณะพิเศษของหอยทากบกเรืองแสงนี้ คือ มีเปลือกหนาปานกลางถึงใหญ่ มีลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองและมีรอยขีดที่เปลือก มีหัวสีเทาเข้ม แสงสีเขียวที่เรืองแสงมาจากเซลล์เปล่งแสงที่อยู่บริเวณส่วนหน้าของเท้า และแสงนั้นมาจากภายในเซลล์ของร่างกายจริง ๆ ไม่ใช่เมือกเรืองแสง 

ในอดีตหอยทากบกเรืองแสงมีเพียงหนึ่งชนิดในโลก นั้นคือ Quantula striata ซึ่งพบในประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันหอยทากบกเรืองแสงมีเพิ่มขึ้นมาอีก 5 ชนิด ประกอบด้วย P. globosa, P. carinata, P.costata และ Q.weinkauffiana ซึ่งหอยชนิดเหล่านี้สามารถพบได้ในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทย 

การเรืองแสงของหอยที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศบนบกนับได้ว่าหายากมากและนับเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ใจ โดยหอยทากบกสามารถสร้างแสงสว่างออกมาได้ด้วยตัวของมันเองโดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย (luciferin-luciferase reaction) สัตว์บางชนิดใช้แสงเพื่อประโยชน์ในการล่อเพศตรงข้าม เพื่อการสืบพันธุ์ เพื่อล่อเหยื่อให้เข้ามาใกล้จะได้จับกินเป็นอาหาร แต่ในหอยทากบกน่าจะใช้แสงเพื่อเป็นสีเตือนภัย ป้องกันไม่ให้ผู้ล่ามากิน (aposematic displays) 

การเรืองแสงของหอยที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศบนบกนับได้ว่าหายากมากและนับเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ใจ โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย ไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้นใด ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าหอยทากบกเรืองแสงนี้ สามารถควบคุมการปล่อยแสงได้ ซึ่งคาดว่าเพื่อเตือนภัย และป้องกันไม่ให้สัตว์ผู้ล่ามากิน 

การค้นพบการเรืองแสงทางชีวภาพในหอยกลมภูพานสกุล Phuphania นี้ มาจากทีมของ ศ.ดร. สมศักดิ์ ปัญหา ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพและอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นำโดย ดร. อาทิตย์ พลโยธา ร่วมกับ รศ.ดร. จิรศักดิ์ สุจริต ผศ.ดร. ปิโยรส ทองเกิด และร่วมกับทีมของ ศ.ดร. Yuichi Oba จาก Chubu University ประเทศญี่ปุ่น นำโดย Dr. Daichi Yano และ Gaku Mizuno 

อ้างอิง