เราสามารถทำฟาร์มฉลามเพื่อส่งออกได้หรือไม่ ? 

เราสามารถทำฟาร์มฉลามเพื่อส่งออกได้หรือไม่ ? 

ทุกปีมีฉลามมากถึง 100 ล้านตัวถูกฆ่า และมากกว่า 70% ถูกนำไปทำเป็น “ซุปหูฉลาม” หรือเมนูอื่น ๆ 

เมนูหูฉลามบ่อยครั้งมักถูกเสิร์ฟบน งานแต่ง งานรวมญาติ งานเลี้ยงธุรกิจ ฯลฯ 

หูฉลามถูกยกย่องให้เป็นอาหารชั้นสูง มีความหรูหรา ราคาแพง สามารถรักษาโรคมะเร็ง เป็นยาอายุวัฒนะ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 

แต่ข้อเท็จจริงนั้นแตกต่าง 

เพ็ชร ชินบุตร อดีตผู้อำนวยการสถาบันอาหารกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อทดสอบสารอาหารในหูฉลาม ยืนยันว่า สารอาหารในหูฉลามมีคุณค่าทางโภชนาการเท่ากับรับประทานไข่ไก่ 1 ฟอง ไม่ได้แตกต่างอะไรจากปลาทั่วไป 

แต่ความต้องการในการบริโภคกลับไม่ได้ลดลงซ้ำยังกลับมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น 

เป็นไปได้ไหม ? ที่เราจะทำฟาร์มฉลามขึ้นมาเหมือนการทำฟาร์มแซลมอนเพื่อลดการสูญเสียของฉลามในธรรมชาติ 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจนิเวศวิทยาของฉลามคร่าว ๆ กันก่อน 

ฉลามเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีการนอนที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น เพราะมันต้องว่ายน้ำตลอดเพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปทางเหงือกไม่งั้นมันก็หายใจไม่ออก 

ที่เป็นแบบนี้เพราะร่างกายของฉลามนั้นไม่มีระบบถุงลมเหมือนปลาทั่วไปที่สามารถเก็บอากาศไว้ช่วยหมุนเวียนสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเพื่อใช้ในการลอยตัว 

ดังนั้นฉลามจึงต้องว่ายน้ำอยู่เรื่อย เพื่อผลักดันให้น้ำที่มีออกซิเจนปนอยู่ไหลเข้าไปในปาก ผ่านเหงือกเพื่อกักเก็บออกซิเจนสำหรับใช้ในการหายใจและดำรงชีวิตอยู่ได้ 

ฉลามจึงเป็นต้องอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่

ฉลามสายพันธุ์ส่วนใหญ่นั้นออกลูกเพียงไม่กี่ตัวต่อปี และมีระยะเวลานานกว่าจะโตเต็มที่พร้อมสืบพันธุ์ เพราะด้วยความที่เป็นสัตว์นักล่าความสามารถในการผลิตลูกจึงต่ำเพื่อความสมดุลในธรรมชาติ ไม่ให้มีนักล่ามากจนเกินไป   

นอกจากนี้ ฉลามหลายสายพันธุ์ยังเป็นสัตว์อพยพ ซึ่งทำให้ยากต่อการเลี้ยงพวกมันในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมและฉลามมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมและอาจเป็นเรื่องยากที่จะดูแลในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม สิ่งนี้สามารถนำไปสู่อัตราการตายที่สูงในฟาร์มปลาฉลาม 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้สามารถบอกได้ว่า ในปัจจุบันการทำฟาร์มฉลามนั้นยังเป็นเรื่องที่ยากและไม่คุ้มค่าในการลงทุน เพราะต้องใช้ต้นทุนในการทำฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อรองรับฉลามและระยะเวลาที่สูงไม่มีผู้ประกอบการคนใดที่จะรอนานขนาดนั้นกว่าที่จะได้กำไรจากครีปฉลาม 

นั้นทำให้เราสามารถบอกได้ว่าเมนูครีปฉลามที่เราบริโภค ในปัจจุบันนั้นเกือบทั้งหมดนั้นล้วนมาจากการล่าในธรรมชาติแทบทั้งสิ้น 

อ้างอิง

ผู้เขียน

+ posts

เราไม่มีทางอนุรักษ์สิ่งที่เราไม่เห็นคุณค่า และเราไม่มีทางเห็นคุณค่าถ้าเราไม่รู้จักมัน