ถอนอีเอชไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา เครือข่ายยุติชุมนุม

ถอนอีเอชไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา เครือข่ายยุติชุมนุม

เครือข่ายค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ยุติการชุมนุม หลัง รมว.พลังงาน ลงนามเอ็มโอยูถอนอีเอชไอเอและทำรายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ใหม่

หลังจากครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเล กระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดินทางมาชุมนุมที่หน้าสนักงานสหประชาชาติต่อเนื่องมานานกว่าสัปดาห์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 20 กุมภาพันธ์ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ได้เดินทางมาเจรจากับเครือข่ายฯ​พร้อมด้วยตัวแทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ในการเจรจานี้ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เนื้อหาของบันทึกข้อตกลงมีสาระสำคัญอยู่ 4 ประการ ประกอบด้วย 1.ให้ กฟผ. ถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ออกจากสำนักงานนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันลงนาม

2.ให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA)เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่และอำเภอเทพาจังหวัดสงขลามีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 9 เดือน โดยต้องมีนักวิชาการที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย หากผลออกมาว่าพื้นที่ไม่เหมาะสมทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ. จะต้องยุติสร้า.โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่

3.หากผลรายงานออกมาว่าเหมาะสมต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในขั้นตอนการทำ EHIA จะต้องจัดทำโดยคนกลางที่ยอมรับร่วมกัน และ

4.ให้คดีระหว่างเครือข่ายผู้ชุมนุม กับ กฟผ. เลิกแล้วต่อกัน

 

เนื้อหาบันทึกข้อตกลง

วันที่ 20 กุมภาพันธ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลังงานและ
เครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเล กระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เพื่อยุติความขัดแย้งของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่จังหวัดกระบี่และอำเภอเทพา และสร้างความเป็นธรรมในกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภสพรวมถึงการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพขอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ (ฉบับใหม่) ออกจากสำนักงานนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันลงนามและให้ กฟผ. ส่งหนังสือแจ้งรับการขอถอนรายงานไปยังเครือข่ายทราบ

2. ให้กระทราวงพลังงานดำเนินการให้มีการจัดทำรายงานกระประเมินผลกระทบเชิงยุทธสาสตร์ (SEA) เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่และอำเภอเทพา จ.สงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม้ โดยจะต้องจัดทำด้วยนักวิชาการที่มีความเป็นกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน หากการศึกษาชี้ชัดว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เหมาะสม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะต้องยุติการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่ โดยให้การจัดทำรายงาน SEA ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 9 เดือน นับตั้งแต่วันลงนาม และกระทรวงพลังงานจะต้องออกคำสั่งกระทรวงให้ผลการจัดทำรายงานเชิงยุทธศาสตร์มีผลผูกพันการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพา โดยการออกคำสั่งการจัดทำรายงานและสาระของการผูกพันที่รายงานมีต่อการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่จะต้องดำเนินการภายใน 7 วัน หลังการลงนาม

3. หากผลการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) บ่งชี้ว่าพื้นที่มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในขั้นตอนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) จะต้องจัดทำโดยคนกลางที่ยอมรับร่วมกัน

4. ให้คดีความระหว่าง กฟผ. และเครือข่ายเลิกแล้วต่อกัน

 

ยกคำร้องชุมนุมหน้ายูเอ็นไม่ขัดรธน.

สำหรับในส่วนที่พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ยื่นคำร้องขอศาลพิจารณา ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ เพื่อสั่งให้ผู้ชุมนุมคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ – เทพา ยกเลิกการชุมชน

ศาลมีคำสั่งว่า เมื่อพิจารณาแล้วการชุมนุมสาธารณะบริเวณ ถ.ราชดำเนิน ใกล้สำนักงานสหประชาชาติ มิได้เป็นการขัดขวางเจ้าหน้าที่ดูแลการชุมนุมสาธารณะ แม้ประชาชนอาจจะได้รับความไม่สะดวกบ้าง แต่ไม่ได้เดือดร้อนเกินที่พึงคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามเหตุอันควร อีกทั้งผู้จัดการชุมนุมดูแลการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงให้ยกคำร้อง

 


เรียบเรียง ฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร