‘กระรอก’ นักปลูกป่า แท้จริงแล้วน้องแค่ ‘ขี้ลืม’

‘กระรอก’ นักปลูกป่า แท้จริงแล้วน้องแค่ ‘ขี้ลืม’

รู้หรือไม่ ในแต่ละปี ‘กระรอก’ สามารถปลูกต้นไม้ได้มากกว่าคนราว ๆ หลายล้านต้นต่อปี โดยต้นไม้เหล่านี้จะงอกออกมาจากเมล็ดพันธุ์พืชที่กระรอกเอาไปซุกซ่อนฝังดินไว้สับเสร็จจนลืมทิ้งไว้ และเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ในที่สุด

กระรอก หรือ squirrel เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุกปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae

กระรอกเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารหลักของกระรอก คือ ผลไม้ และเมล็ดพืช และกระรอกยังคงสามารถกินแมลงได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก บางครั้งก็ยังสามารถกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย

แต่สิ่งที่สำคัญของการได้รับฉายาว่า ‘กระรอกเป็นนักปลูกป่า’ นั่นคือพฤติกรรมการกินเมล็ดพืชของมันนั่นเอง

โดยปกติกระรอกจะมีพฤติกรรมการกินอาหารคือ ‘เก็บไว้กินทีหลัง’ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว กระรอกจะเก็บกักตุนอาหารให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้นจะนำไปฝัง เพื่อเก็บไว้กินทีหลัง แต่เนื่องจากอาหารที่กระรอกฝังไว้นั้นมีจำนวนเยอะมาก บางครั้งน้องจึงจำไม่ได้ว่าตัวเองฝังอาหารไว้ที่ไหนบ้าง

จากงานวิจัย พบว่ากระรอกส่วนใหญ่สามารถจดจำอาหารที่ตัวเองฝังไว้ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงมีอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่จำไม่ได้ว่าตัวเองฝังเมล็ดพืชไว้ที่ไหน

และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเป็นนักปลูกป่าตัวยงด้วยความไม่ได้ตั้งใจ แต่เพราะความขี้ลืม และต้นไม้เหล่านั้นก็เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ต่อไปในอนาคต

กระรอกจึงมีบทบาทสำคัญทางระบบนิเวศ คือ เป็นตัวกระจายเมล็ดไปทั่วผืนป่า รักษาชนิดพันธุ์ต้นไม้ใหญ่ให้คงอยู่คู่ป่าไปอีกนานแสนนาน

หมายเหตุ พฤติกรรมนี้ พบกับกระรอกที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว

อ้างอิง

ผู้เขียน

+ posts

สาวแว่นทาสแมวที่ชอบบอกเล่าเรื่องราวผ่านลายเส้น มีธรรมชาติช่วยฮีลใจ และหลงใหลในพระจันทร์เสี้ยว