ปูมดแดง อาจารย์ซุกรี ปูชนิดใหม่ของโลก พบที่จ.พัทลุง

ปูมดแดง อาจารย์ซุกรี ปูชนิดใหม่ของโลก พบที่จ.พัทลุง

ปูมดแดง อาจารย์ซุกรี – ในปีนี้ มีการค้นพบสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เกิดขึ้นในประเทศไทยอีกแล้ว

โดยแฟนเพจเฟซบุ๊กคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ได้โพสต์แจ้งว่า มีการค้นพบปูชนิดใหม่ของโลกปู

พร้อมแสดงความยินดีแก่ คุณพัน ยี่สิ้น บุคลากรสาขาวิชาวิทยาการเกษตรและประมง และคุณเรืองฤทธิ์ พรหมดำ ผู้ค้นพบ

ปูตัวนี้มีชื่อภาษาไทยว่า ‘ปูมดแดง อาจารย์ซุกรี’ (Phricotelphusa sukreei

มีลักษณะกระดองสีแดง ขายาว พบอยู่บนต้นไม้เตี้ยๆ บริเวณเทือกเขาสูงทางภาคใต้ตอนล่างที่มีความชื้นสูง 

พบได้บริเวณพื้นที่เทือกเขาในจังหวัดพัทลุง หรือเทือกเขาสูงทางภาคใต้ของไทย

ลักษณะของปูชนิดใหม่จะมีขาเดินยาวมาก ชอบอาศัยอยู่ตามโพรงต้นไม้เตี้ยๆ และมีลักษณะคล้ายปูน้ำจืดแถบจังหวัดนครศรีธรรมราชหากมองอย่างผิวเผิน 

แต่สามารถแยกแยะได้ง่ายด้วยสีสันแดงสดใส ลักษณะกระดองของตัวปู และอวัยวะสืบพันธุ์

การค้นพบนี้ เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา (เผยแพร่ทางเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Lee Kong Chian – พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ประเทศสิงคโปร์ )

สำหรับชื่อของ เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม อดีตคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีส่วนสนับสนุนทีมงานตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ปูมดแดง อาจารย์ซุกรี
Phricotelphusa sukreei

อนึ่ง ปู ถูกจัดว่าเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มสัตว์ขาข้อเช่นเดียวกันกับแมลง 

แต่มีลักษณะเด่นคือขาเป็นข้อปล้องและมีจำนวนขามากถึง 10 ขาด้วยกัน โดยขาคู่แรกเปลี่ยนไปเป็นก้ามหนีบ 

ปูยังเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมายาวนานรวมยุคเดียวกันกับไดโนเสาร์ นับตั้งแต่สมัยจูราสซิก ก่อนจะทวีพันธุ์เพิ่มขึ้นต่อมาในสมัยครีเคเชียส 

ปัจจุบันคาดว่ามีสายพันธุ์ปูอยู่บนโลกมากกว่า 1 ล้านชนิด (เฉพาะที่มีการค้นพบแล้ว)

ในระบบนิเวศ ปูมีบทบาทที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารหลายระดับ 

นับตั้งแต่ผู้ย่อยสลาย จากพวกที่กินซากพืชและซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยหรืออินทรียสารในดิน เช่น ปูแสม ปูก้ามดาบ ไปจนถึงผู้ล่า เช่น ปูทะเล ปูม้า จากพวกที่กินปูขนาดเล็กและหอยชนิดต่างๆ รวมทั้งยังเป็นอาหารให้แก่สัตว์อื่น 

นอกจากนี้ ปูยังเป็นผู้ให้บริการทางระบบนิเวศ  จากกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขุดรูหรือการกินอาหารของปูชนิดต่างๆ เช่น ช่วยเร่งการหมุนเวียนของธาตุอาหารให้กลับคืนสู่ดิน


อ้างอิง

ผู้เขียน

Website | + posts

โซเชียลมีเดียที่เขียนบันทึกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคแอนโทโปรซีน