ปอยาบเลื้อย พรรณไม้ชนิดใหม่ พบแห่งเดียวที่ จ.ตาก ประเทศไทย

ปอยาบเลื้อย พรรณไม้ชนิดใหม่ พบแห่งเดียวที่ จ.ตาก ประเทศไทย

ปอยาบเลื้อย พรรณไม้ชนิดใหม่ พบแห่งเดียวที่ จ.ตาก ประเทศไทย

.
การค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ๆ ของโลกยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย

ล่าสุดวันที่ 31 มกราคม สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เผยข้อมูลว่า นักวิชาการป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่จังหวัดตาก 

พรรณไม้ชนิดใหม่ ชนิดใหม่นี้ ถูกเรียกว่าปอยาบเลื้อย 

พบแห่งเดียวในไทย และพบที่ไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ผู้ค้นพบคือ นายเสริมพงศ์ นวลงาม นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง 

ตามรายงานเปิดเผยว่า จากการสำรวจพบพรรณไม้เลื้อย สกุล ปอยาบ (Grewia) วงศ์ชบา (Malvaceae) แต่ไม่ทราบชนิด จากป่าในท้องที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2021 

และได้ส่งตัวอย่างไปให้ศาสตราจารย์ ดร.ประนอม จันทรโณทัย อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น ช่วยระบุชนิดให้ 

ปรากฏว่าพรรณไม้เลื้อยดังกล่าวไม่ตรงกับชนิดใดที่เคยพบมาก่อน

ต่อมาจึงได้ร่วมกันตีพิมพ์ประกาศให้เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ลงในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 50(1) .. 2022 ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Grewia thailandica Chantar. & Nualngam คำระบุชนิด “thailandica” 

ซึ่งตั้งตามสถานที่ที่พบพรรณไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรก คือ ประเทศไทย 

ใช้ชื่อพื้นเมืองว่าปอยาบเลื้อยตั้งตามลักษณะวิสัยที่เป็นไม้เลื้อยชนิดเดียวในสกุลนี้ที่พบในประเทศไทย

สำหรับปอยาบเลื้อย เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic species) พบเพียงแห่งเดียวในโลก ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 

ขึ้นในป่าดิบ ที่ระดับความสูงประมาณ 690 เมตร ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม เป็นผลเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน
.

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code


อ้างอิง

ผู้เขียน

Website | + posts

โซเชียลมีเดียที่เขียนบันทึกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคแอนโทโปรซีน