ดร.เดวิด สมิธ (J. L. David Smith Professor) นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านเสือโคร่ง เปิดเผยข้อมูลว่า ทั่วโลกอาจเหลือพื้นที่ที่สามารถรองรับการกระจายพันธุ์เสือโคร่งได้เพียง 4 แห่งเท่านั้น โดยกลุ่มป่าตะวันตก ของประเทศไทย คือ หนึ่งในพื้นที่ตรงนั้น
ดร.เดวิด สมิธ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสือโคร่ง และทำการศึกษาพฤติกรรม นิเวศวิทยา และการอนุรักษ์เสือโคร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อเนื่องมาหลายปี เปิดเผยข้อมูลต่อมูลนิธิสืบนาคะเสถียรว่า ในโลกเหลือแหล่งต้นทางประชากรเสือโคร่งตามธรรมชาติเพียง 4 แหล่งเท่านั้น
แหล่งต้นทางประชากรเสือโคร่ง คือ แหล่งประชากรเสือโคร่งที่ใหญ่พอที่จะอยู่รอดไปได้อีก 100 ปี และแหล่งต้นทางประชากรเสือโคร่งจะต้องใหญ่พอที่จะสามารถเพิ่มจำนวนประชากรและแพร่พันธุ์ไปที่อื่นด้วย ที่อินเดียก็เคยทำได้แบบนั้น และสำเร็จแล้ว โดยเอาเสือเข้าไปในที่ๆ เดียวกัน แล้วก็ขยายจำนวนประชากรมัน
นอกจากนั้น ไม่มีที่อื่นอีกแล้วในลาว กัมพูชา เวียดนามไม่สามารถเป็นแหล่งประชากรของเสือโคร่งได้ มีแค่ป่าตะวันตก ในประเทศไทย ที่เป็นไปได้ว่าประชากรนี้ จะสามารถอยู่ที่นี่ได้ถึง 100 ปี
ดังนั้น พฤติกรรมของคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคนไทยหันมาสนใจสิ่งแวดล้อม นิเวศบริการ พวกเขาก็สามารถฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งได้ แต่จำเป็นต้องมีแหล่งต้นทางของประชากรเสือโคร่งด้วย
บางคนอาจบอกว่าเขื่อนแม่วงก์เป็นเขื่อนเล็กๆ กินพื้นที่ป่าแค่ไม่กี่ร้อยเฮกเตอร์ แต่มันจะทำลายแหล่งต้นทางประชากรเสือโคร่ง มันจะทำลายอนาคตของเสือทุกที่ เช่นเดียวกับการสร้าวทางหลวงและท่อส่งน้ำมัน
แหล่งต้นทางประชากรเสือโคร่ง ในปัจจุบัน ได้แก่ รัสเซีย อินเดีย ประเทศไทย และอาจจะเป็นเนปาล หรือ Sundarban ก็อาจเป็นอีกแหล่งหนึ่ง ถึงจะเล็กแต่มีความเหมาะสม แหล่งที่ 4 อาจไม่แน่นอน แต่ที่แน่นอน คือ อินเดีย รัสเซีย และไทย
เราได้ศึกษาถึงจำนวนแม่พันธุ์เสือโคร่งในป่าตะวันตก อาจมีมากถึง 80 ตัว และนั่นถือเป็นแหล่งต้นทางประชากรที่ใหญ่เลยทีเดียว ถึงคนอาจจะมองว่าไม่มาก
คนไทยควรภูมิใจเป็นที่สุด ซึ่งคนไทยปกติภูมิใจในความเป็นไปอยู่แล้ว ถ้าทราบถึงเรื่องเสือโคร่งนี้แล้ว เขาคงจะทำอะไรบางอย่างแน่นอน
หากเราคิดถึงโครงการในอนาคตข้างหน้า เป็นไปได้ที่โครงการในอนาคตจะเริ่มจากองค์กรของไทย ไม่ใช่องค์กรสากล ในเมืองไทยมีแหล่งต้นทุนเยอะ ถ้าทางคุณได้นับทุนจากองค์กรของไทย ก็ยิ่งจะมีผลดีในการโน้มน้าวรัฐบาลไทยน่าจะปลุกความภูมิใจในรัฐบาลไทย ในตัวคนไทย