รายงานสถานการณ์ป่าไม้ทั่วประเทศในปี 2564 มีประมาณ 102.21 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.59 ของประเทศ โดยภาคเหนือมีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ 64.66% รองลงมาเป็นภาคตะวันตก 59.05% ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนน้อยที่สุดอยู่ที่ 14.98% รองลงมาคือภาคกลาง 21.51% พบว่าพื้นที่ป่าลดลงจากปี 2563 ประมาณ 140,000 ไร่ คิดเป็น 0.05%
ส่วนกรุงเทพฯ มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 4,018 ไร่ คิดเป็นสัดส่วน 0.41% ของพื้นที่ทั้งหมด และมีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะและสวนหย่อม รวมกันมากกว่า 7,610 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 22,100 ไร่ อัตราพื้นที่สีเขียวต่อประชากรเฉลี่ย 6.21 ตารางเมตร/คน
อาจจะฟังดูเยอะ แต่ในจำนวนนี้ก็ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในกรุงเทพฯ ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ ว่าเมืองควรมีพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9 ตารางเมตร/คน
พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวแม้จะมีความสำคัญต่างกัน แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกชีวิตยังต้องพึ่งพาธรรมชาติ และซึ่งไว้ความหลากหลายทางด้านระบบนิเวศนี้ต่อไป
แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดเป้าหมายพื้นที่สีเขียวทุกประเภทไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของพื้นที่ประเทศ โดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่สีเขียว พื้นที่ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 35 พื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละ 15 และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบท ร้อยละ 5
เรามีพื้นที่ป่าอยู่ที่ร้อยละ 31.59 ของพื้นที่ประเทศ แล้วมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทไม่น้อยกว่าร้อยละ 55?
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะองค์กรด้านการอนุรักษ์ ได้มองเห็นถึงความท้าทาย และโอกาสในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวร้อยละ 55 ภายในปี 2580 ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงได้จัด กิจกรรม “Urban forest กรุงเทพฯ จะเขียวกว่านี้ได้อีกมั้ย?” เพื่อเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนคติรวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการผลักดันให้เกิดแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ และขยายไปยังเมืองอื่น ๆ
ผ่านรูปแบบกิจจกรรมต่าง ๆ เช่น การสำรวจนิเวศป่าในเมือง รับฟังเวทีเสวนา Talk และดนตรีในสวน รวมไปถึงชมนิทรรศการภาพถ่าย “nature ’n barrier” และร่วมกิจกรรมสกรีนเสื้อด้วยมือ โดยการนำเสื้อผ้าที่มีอยู่แล้วมาสกรีนเป็นเสื้อลายใหม่
สำหรับงาน Urban forest กรุงเทพฯ จะเขียวกว่านี้ได้อีกมั้ย? จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 30 ก.ค. 65 ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพฯ)
กำหนดการช่วงเช้า
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09.00-11.00 กิจกรรมสำรวจนิเวศป่าในเมือง Nature walk โดย Nature Plearn
กำหนดการช่วงบ่าย
15.30-16.00 ลงทะเบียน
16.00-17.00 เวทีเสวนา กรุงเทพฯ จะเขียวกว่านี้ได้อีกมั้ย?
17.00-19.00 Talk “ป่า” และ “ชีวิต” นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
19.00-20.00 ดนตรีในสวน (Folk song) โดย เขียนไข และวานิช
หมายเหตุ: กิจกรรมสกรีนเสื้อด้วยมือ กิจกรรม Revive me จะเปิดให้เข้าร่วมตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. และนิทรรศการภาพถ่าย “nature ’n barrier” จะเปิดให้เข้าร่วมตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น.
เวลา 17.00-19.00 น. พบกับ Talk “ป่า” และ “ชีวิต” นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
นำโดย คุณวัชรบูล ลี้สุวรรณ นักแสดง รองเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) คุณอรยา สูตะบุตร กลุ่มบิ๊กทรีและเครือข่ายต้นไม้ในเมือง คุณเกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ อาจารย์พิเศษคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เวลา 19.00-20.00 น. พบกับวงดนตรีเขียนไขและวานิช
ท่านที่ไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานได้ สามารถติดตาม Facebook Live: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ขอขอบคุณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด
บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด
บริษัท สุขภัณฑ์ ไฮโดร (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)