กำหนดการ “เทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ” ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 The 2nd Black Kites Festival 2024 

กำหนดการ “เทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ” ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 The 2nd Black Kites Festival 2024 

กำหนดการ “เทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ” ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567  The 2nd Black Kites Festival 2024  ณ สถาบันเกษตรอินทรีย์อาชีพแบบพอเพียง ต. ท่าเรือ อ. ปากพลี จ. นครนายก วันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 

เวลาสถานที่กิจกรรม
06.00–07.30 น.รอบทุ่งใหญ่นกเหยี่ยว
ตำบลท่าเรือ
ชมบรรยากาศ “นักล่า”กลางสายหมอกยามเช้า
08.00 น.จุดลงทะเบียนลงทะเบียนร่วมงานและรับของที่ระลึก
เยาวชนรับคูปองแลกอาหาร-น้ำดื่ม
09.00-09.20 น.อาคาร Aชมการแสดงจากนักเรียนโรงเรียนวัดลำบัวลอย
09.00–16.00 นอาคาร A และ Bชิม-ชอปสินค้าและอาหารสดใหม่จาก 8 หมู่บ้าน
ของต.ท่าเรือ
ชมบูธจากผู้ร่วมจัดงาน อัปเดตความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร
การอนุรักษ์ธรรรมชาติ และชมผลงานเยาวชน
09.30–10.00 น.อาคาร Aประธานในพิธีเปิดงาน“เทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ”
ครั้งที่ 2 ประจำปี2567
โดย นายณรงค์ศักดิ์ พรหมสวัสดิ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
กล่าวรายงานการจัดงาน โดย นายวิชา นรังศรี
ประธานกรรมการมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย หัวหน้าโครงการอนุรักษ์
ฟื้นฟู ฐานทรัพยากรชีวภาพให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ในลุ่มน้ำบางปะกง
ประธานในพิธีเดินชมนิทรรศการและกล่าวทักทายผู้ร่วมงาน
09.30–10.00 น.อาคาร Bลงทะเบียนเข้าร่วมแข่งขันระดับเยาวชน
– ประกวดภาพวาด
– ประกวดคลิปสั้น
– แข่งขันแฟนพันธุ์แท้ทุ่งใหญ่ฯ
10.00–16.00 นรอบทุ่งใหญ่
นกเหยี่ยว
ตำบลท่าเรือ
(ลงทะเบียนที่
เต็นท์อำนวยการลั่นทุ่ง)
นั่ง “รถอีแต๊ก” ชมบรรยากาศรอบทุ่งใหญ่ฯ โดยทีมงาน “ลั่นทุ่ง”
จุดชมนกเหยี่ยวดำ นกอินทรี นกน้ำ
จุดชมพื้นที่สำรวจสัตว์น้ำ
ชมควายน้ำในพื้นที่ทุ่งใหญ่นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ
รถออกทุก 20 นาที มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
และผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้
10.00–11.30 น.อาคาร Aเวทีเสวนา “ความมั่นคงของชุมชนท่าเรือ”
ร่วมเสวนาโดย กำนันตำบลท่าเรือ
และผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1-8
ดำเนินเสวนาโดย นายวิชา นรังศรี
ประธานกรรมการมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย
แข่งขัน “จับปลาไหล” (ลงทะเบียนร่วมแข่งขันที่หน้างาน)
แข่ง 5 รอบ รอบละ 20 นาที ผู้ร่วมแข่งขันรอบละ 10 คน
14.00–15.30 น.อาคาร Aแข่งขัน “เหลาคันเบ็ดวิบาก” (ลงทะเบียนร่วมแข่งขันที่หน้างาน)
แข่งรอบละ 15 นาที ตามกลุ่มอายุ
อายุ 60 ปี ขึ้นไป
อายุ 40–60 ปี
เยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี
17.00–18.30 น.จุดเช็คอินทุ่งใหญ่
นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ
ชมบรรยากาศ “นักล่า…กลับรังนอน…ตอนอาทิตย์อัสดง”

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2567

เวลาสถานที่กิจกรรม
06.00–07.30 น.รอบทุ่งใหญ่นกเหยี่ยว
ตำบลท่าเรือ
ชมบรรยากาศ “นักล่า”กลางสายหมอกยามเช้า
08.00 น.จุดลงทะเบียนลงทะเบียนร่วมงาน และรับของที่ระลึก
เยาวชนรับคูปองแลกอาหาร/น้ำดื่ม
09.00–16.00 นอาคาร A และ Bชิม-ชอปสินค้าและอาหารสดใหม่จาก 8 หมู่บ้าน
ของต.ท่าเรือ
ชมบูธจากผู้ร่วมจัดงาน อัปเดตความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร
การอนุรักษ์ธรรรมชาติ และชมผลงานเยาวชน
09.00–09.20 น.อาคาร Aชมวิดีทัศน์ของเยาวชนจากเทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ ครั้งที่ 1
09.20–10.30 น.อาคาร Aเสวนา“ทุ่งใหญ่ฯ ในอนาคต”
ร่วมเสวนาโดย (*อยู่ระหว่างการประสานงานผู้ร่วมเสวนา)
ผู้แทนจากสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 6 ปราจีนบุรี*
ผู้แทนจากโครงการส่งน้ำชลประทาน*
ผู้แทนจากศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี
ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญความหลากหลายทางชีวภาพ
นายวิชา นรังศรี ประธานกรรมการมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย
ดำเนินเสวนาโดย นายภาณุเดช เกิดมะลิ
ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
10.00–16.00 นรอบทุ่งใหญ่
นกเหยี่ยว
ตำบลท่าเรือ
(ลงทะเบียนที่
เต็นท์อำนวยการลั่นทุ่ง)
นั่ง “รถอีแต๊ก” ชมบรรยากาศรอบทุ่งใหญ่ฯ โดยทีมงาน “ลั่นทุ่ง”
จุดชมนกเหยี่ยวดำ นกอินทรี นกน้ำ
จุดชมพื้นที่สำรวจสัตว์น้ำ
ชมควายน้ำในพื้นที่ทุ่งใหญ่นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ
รถออกทุก 20 นาที มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
และผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้
10.30–12.30 น.อาคาร Aชมการแข่งขันทักษะความรอบรู้ของเยาวชน
“ทุ่งใหญ่ฯ Spy Wetlands”
13.00–13.30 น.อาคาร Aชมผลงานคลิปสั้นของเยาวชน
และผลการตัดสินจากคณะกรรมการผู้ฝึกสอน
13.30–15.30 น.อาคาร Aประกาศผลการตัดสินทุกรายการ
รับมอบประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล
15.30–16.00 น.อาคาร Aกล่าวปิดเทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567
โดย นายประทีป บุญเทียน กำนันตำบลท่าเรือ

สอบถามเพิ่มเติมที่
ผู้ใหญ่กอล์ฟ ศิรินภา ศิลา ผู้ใหญ่บ้านม. 6 ต.ท่าเรือ โทร. 093-932-6805
น้องอุ้ย รวินท์นิภา คงรักษา ผู้ประสานงานมูลพื้นที่ชุ่มน้ำไทย โทร. 098-225-3703

หลักการและเหตุผล

“ทุ่งใหญ่สาธารณประโยชน์ตำบลท่าเรือ” หรือที่ชาวชุมชนตำบลท่าเรือร่วมกันตั้งชื่อว่า “ทุ่งใหญ่นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ” เป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังตามฤดูกาล (Floodplain) จัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทที่ลุ่มชื้นแฉะ 1 ใน 6 ประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำที่พบในประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของพืชและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด มีความสำคัญในการเป็นฐานทุนทรัพยากรสาธารณะที่ชุมชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ง่าย และมีคุณค่าและบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งกักเก็บน้ำฝน น้ำท่า และบรรเทาน้ำท่วมให้กับพื้นที่อาศัยของชุมชน พื้นที่นาข้าว พื้นที่สวน พื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำ และแหล่งอาหารของปศุสัตว์ มากกว่า 2,500 ไร่ ของตำบลท่าเรือ

การเป็นแหล่งกักเก็บน้ำฝน น้ำท่า และรับน้ำจากคลองส่งน้ำในช่วงฤดูฝนเพื่อเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ทำให้ “ทุ่งใหญ่นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ” มีศักยภาพภาพต่อการเป็นแหล่งอาหารสำคัญของควายมากกว่า 500 ตัว เป็นแหล่งอาศัย หากิน และขยายพันธุ์ของนกและนกน้ำประจำถิ่นหลายชนิด ทั้งที่พบเห็นได้ง่ายและที่ใกล้สูญพันธุ์จากประเทศไทย เช่น นกอ้ายงั่ว Oriental Darter เหยี่ยวดำ Black Kite นกกระทุง Spot-Billed Pelican นกกาบบัว Painted Stork นกกระสาแดง Purple Heron นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา Stork-billed Kingfisher นกอีลุ้ม Watercock นกพริก Bronze-winged Jacana นกกวัก White-breasted Waterhen เป็นต้น และยังเป็นแหล่งพักอาศัยสำคัญของกลุ่ม “นกล่าเหยื่อ” หลายชนิดมากกว่า ๓,๐๐๐ ตัว ที่บินอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงเดือนกันยายนถึงมีนาคมของทุกปี โดยชนิดพันธุ์เด่นที่พบมากที่สุดคือ เหยี่ยวดำใหญ่ Black-eared Kite เหยี่ยวเพเรกริน Peregrine Falcon เหยี่ยวออสเปร Osprey เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก Eastern Marsh-Harrier นกอินทรีปีกลาย Greater Spotted Eagle นกอินทรีหัวไหล่ขาว Eastern Imperial Eagle นกอินทรีทุ่งหญ้าเสต็ป Steppe Eagle และอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย Himalayan Griffon

แหล่งน้ำสาธารณะและพื้นที่นาข้าวของชุมชนรอบทุ่งใหญ่สาธารณประโยชน์ตำบลท่าเรือยังเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของนกและสัตว์น้ำหลากหลายชนิดที่เป็นดัชนีวัดความสมดุลของระบบนิเวศ และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของชุมชนในการประกอบอาชีพทำการประมง เช่น การเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของ “ปลาซิวสมพงษ์ Trigonostigma somphongsi” ที่พบเพียงพื้นที่เดียวของประเทศไทย และการเป็นแหล่งอาศัยของ “ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ Betta splendens” ที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ระดับชาติและในระดับโลก รวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำอื่นๆที่สำคัญต่ออาชีพประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำของชุมชน เช่น ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาสลิด ปลากระดี่ ปลาสลาด ปลาสร้อย ปลาไส้ตัน และปลาอื่นๆอีกหลายชนิด

การจัดกิจกรรม “เทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ” เกิดจากชุมชนและผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ของตน จึงเป็นการเริ่มต้นที่ควรค่าแก่การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจถึงเหตุผลด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำและทรัพยากรชีวภาพแก่เยาวชนและชุมชนในตำบลท่าเรือ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการอนุรักษ์ ดูแล ปกป้อง และรักษาพื้นที่ทุ่งใหญ่สาธารณประโยชน์ตำบลท่าเรือให้คงมีศักยภาพการรองรับทรัพยากรน้ำและทรัพยากรชีวภาพต่างๆให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์

  • เพื่อประชาสัมพันธ์ความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ “ทุ่งใหญ่นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดนครนายก
  • เพื่อสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากพื้นที่ “ทุ่งใหญ่นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ”
  • เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลท่าเรือให้เป็นที่รู้จักแก่สังคมวงกว้าง
  • เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมนอกพื้นที่แก่เยาวชนที่มีสถานศึกษาใกล้เคียงกับพื้นที่ “ทุ่งใหญ่นกเหยี่ยวตำบลท่าเรือ

องค์กรร่วมจัดงาน “เทศกาลต้อนรับเหยี่ยวอพยพ” ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 อำเภอปากพลี กำนันตำบลท่าเรือ และผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1-8 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ โรงเรียนวัดลำบัวลอย โรงเรียนวัดเกาะกา โรงเรียนวัดโพธิ์ปากพลี โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม สำนักงานชลประทานที่ 9 กรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 6 กรมทรัพยากรน้ำ ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี กรมการข้าว ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปราจีนบุรี กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก กรมประมง สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดนครนายก สำนักงานเกษตรอำเภอปากพลี สภาเกษตรกรจังหวัดนครนายก ชมรมอนุรักษ์นกเหยี่ยวปากพลี ทีมงานลั่นทุ่ง มูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร หน่วยวิจัยนกนักล่าและเวชศาสตร์อนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กลุ่มใบไม้ บริษัท ดอคเฟรม จำกัด บริษัท คุมิ (ประเทศไทย) จำกัด องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กองทุนหุ้นส่วนระบบนิเวศที่สำคัญ (CEPF)