มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้จัดทำเอกสาร “ร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. …. แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร” โดยได้มอบต่อ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนเนื้อหาและปรับแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยมีรายละเอียดการแก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
หรือดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ ร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. …. (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 พ.ศ. … | ร่างฉบับแก้ไข | เหตุผล |
หลักการ กำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ โดยไม่ได้สิทธิในที่ดิน | หลักการ กำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ | “การเริ่มต้นใช้ถ้อยคำในหลักการว่า “มิได้สิทธิ ในที่ดิน” จะเป็นกำรสร้ำงทัศนคติในเชิงลบตั้งแต่ เริ่มต้นของการบังคับใช้กฎหมาย ข้อเสนอแนะควร เปลี่ยนถ้อยคำเป็น “มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะอยู่อาศัยและทำกินเพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระ” หรือ “มีสิทธิถือครองโดยชอบ…” เพื่อสร้าง ทัศนคติเชิงบวก ในกำรอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมและ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ำย โดยนำถ้อยคำดังกล่าวมาจากเรื่องเสร็จที่ 536/2567 บันทึกคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย หน้า 5 คณะกรรมกำรกฤษฎีกา” |
เหตุผล เนื่องจากรัฐบาลมีแผนงานหรือนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินและได้อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติภายใต้กรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ หรือตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 ประกอบกับมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติตราพระราชกฤษฎีกาจัดทำโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติโดยมิได้สิทธิในที่ดินเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติ หน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการอยู่อาศัยหรือทำกิน การสิ้นสุดการอยู่อาศัยหรือทำกินของผู้อยู่อาศัยหรือทำกิน โดยมิได้สิทธิในที่ดิน รวมทั้งกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลการติดตาม และการประเมินผลการดำเนินโครงการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ | เหตุผล เนื่องจากรัฐบาลมีแผนงานหรือนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินและได้อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติภายใต้กรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ หรือตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 ประกอบกับมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติตราพระราชกฤษฎีกาจัดทำโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ | ตัดคำว่า |
มาตรา 4 ให้มีโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติเพื่อช่วยเหลือผู้ได้อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ โครงการนี้มีกำหนดระยะเวลายี่สิบปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานั้นมีผลใช้บังคับ | ไม่แก้ไข แต่ควรมีวิธีการประเมินในการใช้พื้นที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่เหมาะสมหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร อย่างเป็นรูปธรรม | |
มาตรา 5 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกิน เป็นการชั่วคราว โดยกำหนดเป็นโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ภายในอุทยานแห่งชาติ และกำหนดเขตพื้นที่อยู่อาศัยหรือทำกินให้ชัดเจน มิให้มีการขยายพื้นที่อีก อีกทั้งป้องกันมิให้มีการครอบครองที่ดิน บุกรุก ก่อสร้าง หรือแผ้วถางพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งกำหนดให้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) (2) (3) ให้มีการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ และอนุรักษ์ดูแลรักษาพื้นที่โดยชุมชน ทั้งนี้รัฐสามารถรักษาไว้และส่งเสริมการคืนพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ และป้องกันมิให้มีการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติโดยมิชอบโดยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ | มาตรา 5 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกิน (1) (2) (3) ให้มีการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ และอนุรักษ์ดูแลรักษาพื้นที่โดยชุมชน ทั้งนี้รัฐสามารถรักษาไว้และส่งเสริมการคืนพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ และป้องกันมิให้มีการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติโดยมิชอบโดยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ | ตัด “เป็นการชั่วคราว” ออก เนื่องจากทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นเพราะแสดงถึงความไม่มั่นคงในการดำรงชีวิตในการเข้าร่วมโครงการ และแก้ไขเป็น “คราวละ 20 ปี” |
มาตรา 8 การอยู่อาศัยหรือทำกินภายใต้โครงการนี้ให้กระทำได้ในจำนวนเนื้อที่ตามผลการสำรวจแต่ไม่เกินครอบครัวละยี่สิบไร่ และในกรณีครัวเรือนให้อยู่อาศัยหรือทำกินได้ไม่เกินสี่สิบไร่ ส่วนในกรณีที่ผลการสำรวจตามมาตรา 7 ปรากฎว่าเป็นผู้อยู่อาศัยหรือทำกินโดยบุคคลคนเดียวให้อยู่อาศัยหรือทำกินในโครงการนี้ได้ไม่เกิน…ไร่ ในกรณีที่ครอบครัวหรือครัวเรือนใดมีที่ดินเกินกว่าจำนวนที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กันพื้นที่ส่วนเกินและปิดป้ายว่าเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติห้ามบุกรุกครอบครอง | มาตรา 8 การอยู่อาศัยหรือทำกินภายใต้โครงการนี้ให้กระทำได้ในจำนวนเนื้อที่ตามผลการสำรวจ | วรรคหนึ่ง ตัดคำว่ำ “แต่ไม่เกินครอบครัวละยี่สิบไร่ และในกรณีครัวเรือนให้อยู่อาศัยหรือทำกินได้ไม่เกินสี่สิบไร่ส่วนในกรณีที่ผลการสารวจตามมาตรา 7 ปรากฎว่าเป็นผู้อยู่อาศัยหรือทำกินโดยบุคคลคนเดียวให้อยู่อาศัยหรือทำกินในโครงการนี้ได้ไม่เกิน…ไร่” ออก เพราะการกำหนดจำนวนพื้นที่เป็นรายครอบครัว/ครัวเรือน อาจไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานสำรวจ 240 วันที่แล้วเสร็จ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากในช่วงเวลาที่มีการสำรวจ 240 วัน ไม่ได้มีการกำหนดจำนวนพื้นที่รายครอบครัว/ครัวเรือน จึงทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลตามการครอบครองจริง การระบุตัวเลขครอบครัวละ 20 ไร่/ ครัวเรือนไม่เกิน 40 ไร่ ในภายหลังซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองอาจทำให้มีปัญหากับทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในพื้นที่ ที่อาจนำไปสู่การขยายความขัดแย้ง และไม่สามารถรักษาพื้นที่ป่าสมบูรณ์ไว้ได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และเพิ่มเติมข้อความดังนี้ “โดยให้มีการออกแบบบริหารจัดการพื้นที่อยู่อาศัยหรือทำกินโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในการกำหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่” เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในเรื่องสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 43 ว่า ชุมชนในการอนุรักษ์ จัดการ บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ และหมวดหน้าที่ของรัฐ ได้บัญญัติถึง “หน้าที่ของรัฐต่อชุมชน” ไว้ในมาตรา 57 และ 58 โดยระบุให้รัฐต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและชาติ รวมทั้งการอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และ ใช้หรือจัดให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้ประชาชน ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น “มีส่วนร่วม” ในการดำเนินการ” จึงควรใช้วิธีบริหารจัดการร่วมกันโดยเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย วรรคสอง ตัดออก เนื่องจากหากดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว วรรคสองไม่มีความจำเป็น |
มาตรา 11 ให้ผู้ครอบครองที่ดินสิ้นสุดการอยู่อาศัยหรือทำกินในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้สิ้นสุดลง (2) ผู้ครอบครองที่ดินไม่ประสงค์จะอยู่อาศัยหรือทำกินในที่ดินนั้นต่อไป โดยแจ้งความประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดและส่งคืนพื้นที่ (3) ในกรณีที่ผู้ครอบครองที่ดินไม่มีการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยติดต่อกันเกินหนึ่งปีโดยไม่มีเหตุอันควร (4) ผู้ครอบครองที่ดินถึงแก่ความตาย และพ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอ (5) ผู้ครอบครองที่ดินขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 9 (6) ผู้ครอบครองที่ดินต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน (7) ผู้ครอบครองที่ดินหรือสมาชิกในครอบครัว หรือครัวเรือนผู้หนึ่งผู้ใดยึดถือหรือ ครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปจากเดิม (8) ผู้ครอบครองที่ดินกระทำความผิดตามมาตรา 19 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) มาตรา 20 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ในพื้นที่นอกเขตโครงการ เว้นแต่กรณีตามมาตรา 19(2) ที่เป็นการกระทำแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดใหม่และทดแทนได้ตามฤดูกาลและมีมูลค่าร่วมกันไม่เกินสองพันบาท และกรณีตามมาตรา 21 ที่มิใช่การนำหรือปล่อยสัตว์ที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรง (9) ผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกานี้ การออกและแจ้งคำสั่ง การให้ออกจากพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อผู้ครอบครองที่ดินสิ้นสุดการอยู่อาศัยหรือทำกิน ให้ | มาตรา 11 ให้ผู้ครอบครองที่ดินสิ้นสุดการอยู่อาศัยหรือทำกินในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้สิ้นสุดลง (2) ผู้ครอบครองที่ดินไม่ประสงค์จะอยู่อาศัยหรือทำกินในที่ดินนั้นต่อไป โดยแจ้งความประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดและส่งคืนพื้นที่ (3) ในกรณีที่ผู้ครอบครองที่ดินไม่มีการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยติดต่อกันเกินหนึ่งปีโดยไม่มีเหตุอันควร (4) ผู้ครอบครองที่ดินถึงแก่ความตาย และพ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอ (5) ผู้ครอบครองที่ดินขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 9 (6) ผู้ครอบครองที่ดินต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน (7) ผู้ครอบครองที่ดินหรือสมาชิกในครอบครัว หรือครัวเรือนผู้หนึ่งผู้ใดยึดถือหรือ ครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปจากเดิม (8) ผู้ครอบครองที่ดินกระทำความผิดตามมาตรา 19 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) มาตรา 20 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ในพื้นที่นอกเขตโครงการ เว้นแต่กรณีตามมาตรา 19(2) ที่เป็นการกระทำแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดใหม่และทดแทนได้ตามฤดูกาลและมีมูลค่าร่วมกันไม่เกินสองพันบาท และกรณีตามมาตรา 21 ที่มิใช่การนำหรือปล่อยสัตว์ที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรง (9) ผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกานี้ การออกและแจ้งคำสั่ง การให้ออกจากพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อผู้ครอบครองที่ดินสิ้นสุดการอยู่อาศัยหรือทำกิน ให้ | อนุมาตรา 3 คำว่า “ไม่มีการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยติดต่อกันเกินหนึ่งปีโดยไม่มีเหตุอันควร” ไม่แก้ไขแต่อยากขอความชัดเจนเรื่องการทำไร่หมุนเวียนที่เป็นวงรอบ บางไร่มีการทิ้งพื้นที่ทำไร่เดิมมากกว่า 1 ปี หากเป็นเช่นนั้นถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรหรือไม่ในการไม่ได้ทำกินอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เดิม |
สุดท้ายนี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวจะทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำกฎหมายไปถือปฏิบัติและบังคับใช้ได้จริงและเกิดความเป็นธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในการอนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติหรือนันทนาการของประชาชน และเพื่อให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ เป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืนและสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศตามพันธกรณีที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกต่อไป